รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?

 รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?

PRK เป็นการทำเลสิก (Lasik) ที่เหมาะกับผู้มีกระจกตาบางและคนไข้บางกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้เทคนิคนี้โดยเฉพาะ มีความต่างจากเฟมโตเลสิก (Femto Lasik)  และ ReLEx SMILE ในหลายด้านแต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่แพ้กัน

PRK เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการทำเลสิก (Lasik) ด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งค่อนข้างเฉพาะเจาะจงสำหรับคนไข้บางกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วยเทคนิคนี้ เช่น ทหาร ตำรวจ นักบิน ตลอดจนผู้ที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับโครงสร้างหรือส่วนประกอบของดวงตาที่เป็นอุปสรรคต่อการทำเลสิก (Lasik)วิธีอื่น เช่น ผู้ที่มีภาวะกระจกตาบางและไม่สามารถใช้เทคนิคในการแยกชั้นกระจกตาได้ PRK จะเป็นทางเลือกสำหรับคนไข้กลุ่มนี้ได้ดีที่สุด

หลักการรักษาสายตาแบบ PRK 

PRK เป็นชื่อย่อของคำว่า Photorefractive Keratectomy ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ผลลัพธ์ในการมองเห็นชัดเจนอย่างถาวรและมีผลข้างเคียงน้อยมาก โดยหลักการสำคัญของ PRK คือการแก้ไขกระจกตาชั้นนอกสุดหรือชั้นที่เป็นเยื่อหุ้มกระจกตาด้วยการใช้สารละลายเพื่อสลายเยื่อนั้นออกไป จากนั้นจึงปรับแต่งผิวส่วนบนของกระจกตาด้วยเลเซอร์ เพื่อให้ได้ค่าสายตาตามที่แพทย์ได้ทำการคำนวณไว้ในขั้นตอนของการตรวจสายตาครั้งแรกก่อนการรักษา หลังจากที่ปรับแต่งผิวกระจกตาแล้วแพทย์จะทำการใส่คอนแทคเลนส์ให้กับคนไข้ คอนแทคเลนส์นี้จะใส่ไว้นานประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างช่วงเวลานี้ร่างกายจะมีการสร้างเยื่อหุ้มกระจกตาขึ้นมาใหม่ รอให้แผลหายแล้วจึงเอาคอนแทนเลนส์ออก 

การรักษาแบบ PRK ต่างกับเลสิกแบบอื่นอย่างไร

PRK กับ LASIK

หากจะเปรียบเทียบกันระหว่าง  PRK vs LASIK จะเห็นความแตกต่างกันคือการทำ PRK มีความเสี่ยงน้อยกว่าในระยะยาว แต่ถ้าเป็นการทำเลสิก (Lasik) จะมีความเสี่ยงมากกว่า PRK ไม่มีแผลเพราะไม่มีการกรีด แต่เป็นการใช้สารละลายลอกผิวกระจกตาออกและอาศัยการฟื้นฟูผิวกระจกตาใหม่ อาจใช้เวลานานในการสมานผิวกระจกตา แต่มีผลข้างเคียงน้อย ในขณะที่เลสิก (Lasik) มีแผลหลังจากทำ ถึงแม้ว่าจะหายเร็วแต่ผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นได้มากกว่า ในเรื่องของค่าใช้จ่าย PRK ราคา ถูกกว่าทำเลสิกวิธีอื่น ส่วนข้อดีของการทำเลสิกคือไม่ต้องสลายเยื่อหุ้มกระจกตา สามารถแก้ปัญหาค่าสายตาที่สูงมาก ๆ ได้ ไม่ว่าจะสั้นมาก ยาวมาก หรือเอียงมาก หลังจากการทำเลสิกการเห็นภาพชัดจะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่เร็วกว่าการทำ PRK

PRK กับ ReLEx SMILE

ReLEx SMILE คือ การผ่าตัดวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ใบมีดกรีดผิวกระจกตา มีความทันสมัยกว่า PRK และมีความแม่นยำสูงในการผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติ ข้อได้เปรียบของ ReLEx SMILE ที่เหนือกว่าก็คือไม่ต้องสลายผิวกระจกตาแบบ PRK คนไข้จึงไม่เจ็บมากและลดระยะเวลาในการพักฟื้นให้น้อยลง เพราะใช้เลเซอร์แผลที่เกิดจะเป็นเพียงแผลขนาดเล็ก 

PRK กับ Femto Lasik

ในส่วนของเฟมโตเลสิก (Femto Lasik)  นั้นเป็นวิธีการใช้แสงเลเซอร์ในทุกขั้นตอนการรักษา เริ่มจากกรีดผิวกระจกตา เปิดฝากระจกตาชั้นบนสุด แล้วปรับโครงสร้างเนื้อเยื่อตาชั้นกลางให้ได้ค่าสายตาที่ต้องการ ตามด้วยการปิดกระจกตากลับเข้าที่ เป็นวิธีที่ใช้แก้ไขสายตาที่มีค่าผิดปกติสูงได้มากกว่า PRK โดยเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) จะใช้ได้กับผู้ที่มีค่าสายตาสั้นมากสุดถึง -1,000 สายตาเอียง -600 ขณะที่ PRK ใช้ได้กับผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติในระดับปานกลาง ไม่เกิน -600

PRK ทางเลือกสำหรับคนกระจกตาบาง

กระจกตาปกติความหนาจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ถ้าน้อยกว่านี้ถือว่ากระจกตาบาง ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิก ดังนั้นจึงควรให้จักษุแพทย์เป็นผู้ตรวจและประเมินสภาพตาก่อนเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี นั่นคือ PRK และการใส่เลนส์เสริม ICL ไม่สามารถทำเลสิกวิธีอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น ReLEx SMILE หรือเฟมโตเลสิก (Femto Lasik)  เพราะทั้งสองวิธีหลังนี้จะทำให้กระจกตาบางลงไปอีกและยังเสี่ยงต่อภาวะกระจกตาผิดปกติอื่น ๆ เช่น กระจกตาย้วย กระจกตาขุ่นได้

ผลข้างเคียงจากการทำ PRK 

ผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งอาการผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นมีดังนี้

-อาการที่มักเกิดขึ้นได้ในช่วง 2 - 3 วันหลังจากทำ PRK คืออาการเคืองตาและน้ำตาไหลออกมามาก แต่ไม่ใช่อาการผิดปกติที่ร้ายแรง-การมองในเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟเป็นสีรุ้ง มีหลายแฉก หรืออาการเห็นแสงกระจาย แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น มีคนไข้เพียงน้อยรายมาก ๆ ที่มีอาการนี้อย่างถาวร-อาการตาแห้ง จะเป็นในช่วงแรก แต่หลังจาก 3 - 6 เดือนไปแล้วอาการจะดีขึ้น-กระจกตาเป็นฝ้า เกิดจากการถูกรังสียูวีมากหรือถูกแสงแดดจัด โดยเฉพาะในช่วงหลังจากผ่าตัดใหม่ ๆ

นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังคือหลังจากทำ PRK ผิวตาจะเป็นแผลถลอกอยู่ประมาณ 3 - 5 วัน แต่แผลนี้จะสามารถสมานตัวเองได้เมื่อเซลล์เยื่อบุผิวกระจกตาใหม่มีการเติบโตขึ้น เซลล์นั้นจะทำให้แผลปิดได้และหายเป็นปกติ แต่ในช่วงระหว่างที่เซลล์ยังโตไม่เต็มที่คนไข้จะต้องใช้ความระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติ ซึ่งได้แก่ผู้ที่รับประทานยา Isotreinoin และ Amiodarone hydrochloride ผู้ที่มีโรคต่าง ๆ  เกี่ยวกับผิวตาและโรคที่สุ่มเสี่ยงต่อการยิงเลเซอร์ซึ่งอาจส่งผลให้อาการของโรคแย่ลง

การเตรียมตัวก่อนทำ PRK 

เมื่อเราทราบแล้วว่า PRK คืออะไร เหมาะกับการรักษากรณีไหน และหากเทียบ PRK vs LASIK แล้วพบว่าคุณเป็นผู้หนึ่งที่เหมาะกับการทำ PRK จริงๆ ก็สามารถตัดสินใจรักษาด้วยวิธีนี้ได้ และหลังจากการตัดสินใจทำเลสิก วิธีนี้ควรเตรียมตัวให้พร้อม ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดมีดังนี้

-งดใส่คอนแทคเลนส์ 7-14 วันก่อนวันผ่าตัด ขึ้นอยู่กับชนิดของคอนแทคเลนส์ ถ้าเป็นชนิดนิ่มให้งดใส่อย่างน้อย7วัน ชนิดแข็งงดใส่อย่างน้อย14วัน-ลดการใช้สายตา ให้สายตาได้พักก่อนการผ่าตัดเพราะการใช้สายตามากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะตาแห้ง-งดการแต่งหน้า โดยเฉพาะการใช้อายแชโดว์และอายไลเนอร์เขียนขอบตา-งดการใช้น้ำหอมและการใช้เจลแต่งผมที่มีกลิ่น เพราะจะมีผลต่อการทำงานของเลเซอร์-ล้างหน้าให้สะอาด สระผมให้เรียบร้อยก่อนวันผ่าตัด 1 วัน-งดการดื่มชาและกาแฟก่อนการผ่าตัด ส่วนอาหารหลักสามารถรับประทานได้ตามปกติ-หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีน้ำมูก เป็นหวัด มีไข้ ตาแดง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการผ่าตัด-การแต่งกายแนะนำให้ใส่เสื้อมีกระดุมหน้า หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อสวมหัว และอย่าลืมนำแว่นกันแดดติดตัวไว้สำหรับใช้หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว

วิธีปฏิบัติในการดูแลสายตาหลังทำ PRK

หลังผ่าตัดจะน้อยลงและสายตาจะเป็นปกติได้เร็วขึ้นถ้าคนไข้ดูแลดวงตาของตนเองเป็นอย่างดี รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งวิธีปฏิบัติในการดูแลสายตาหลังทำ PRK ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

  • หยอดยาและหยอดน้ำตาเทียมอยู่เสมอ เพื่อหล่อเลี้ยงดวงตาให้ชุ่มชื้น ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
  • รับประทานวิตามินบำรุง เช่น วิตามินซี จะช่วยให้แผลหายเร็วและลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงขึ้นที่กระจกตา เช่น กระจกตาเป็นฝ้า
  • ในช่วงระยะแรกไม่ควรออกนอกอาคารที่มีแสงแดดแรงหรือหากจำเป็นควรสวมแว่นกันแดดและสวมหมวกป้องกันรังสียูวีไว้เสมอ การเผชิญแสงแดดจัดอาจทำให้กระจกตาเป็นฝ้าได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้สายตามาก ให้พักสายตาบ่อย ๆ ลดการใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ดูแลรักษาดวงตาให้สะอาดอยู่เสมอ ระมัดระวังเรื่องฝุ่นละออง เหงื่อไหลเข้าตา เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อซึ่งอาจส่งผลให้กระจกตาเป็นแผลอักเสบ
  • งดการรับประทานอาหารที่ต้องอยู่หน้าเตาร้อน ๆ มีควันมาก ๆ เช่น อาหารปิ้งย่าง
  • งดออกกำลังกายประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หลังจากผ่าตัดเสร็จ

การทำ PRK แลกกับผลลัพธ์ที่ดีมีการมองเห็นที่ชัดขึ้นอย่างถาวรถือว่าคุ้มค่า สำหรับผู้ที่สนใจการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีนี้ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านดวงตาที่พร้อมรักษาโรคตาโดยทีมจักษุแพทย์ มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับคำปรึกษาและการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับทุกปัญหา

 สังเกตอาการวุ้นในตาเสื่อม ทำไมมองเห็นจุดดำและหยากไย่ลอยไปมา
 มองเห็นหยากไย่ ลอยไปลอยมา รักษาอย่างไร อันตรายหรือไม่?
 ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? อยู่ได้กี่ปี
 ภาวะสายตาเลือนราง VS ตาบอด ปล่อยไว้ไม่ได้
 How To สวมคอนแทคเลนส์สายตาให้ปลอดภัย เคล็ดลับที่ต้องรู้ก่อนใส่คอนแทคเลนส์
 ICL หรือ Implantable Collamer Lens ทางเลือกใหม่การรักษาสายตาผิดปกติ
 ภาวะถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (Posterior capsule opacity/After cataract)
 นักทัศนมาตร (Optometrist) คือใคร ทำไมต้องตัดแว่นกับนักทัศนมาตร
 เช็กด่วน! อาการแบบไหนบ่งบอกว่าคุณได้เวลาตัดแว่น
 วุ้นตาเสื่อมมีโอกาสตาบอดไหม

Copyright © 2024 All Rights Reserved.