ศูนย์โรคตาทั่วไป
อะไรคือกระจกตารูปกรวย (Keratoconus) สาเหตุคืออะไร มีวิธีการรักษาอย่างไร
โรคกระจกตารูปกรวยทำให้กระจกตาของคุณบางลงและค่อย ๆ นูนออกมาเป็นรูปกรวย อาการดังกล่าวจะทำให้การมองเห็นผิดเพี้ยนและบิดเบี้ยว
โดยปกติกระจกตาของคนเราจะมีลักษณะใส รูปทรงโค้งเหมือนโดม แต่ในบางครั้งอาจพบภาวะผิดปกติของกระจกตาที่บางลง ส่งผลให้โครงสร้างไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับแรงดันของลูกตา ทำให้นูนออกมาด้านหน้าเหมือนกรวย ภาวะที่กระจกตาผิดปกตินี้เรียกว่าภาวะกระจกตารูปกรวย หรือกระจกตาโก่ง (Keratoconus)
กระจกตารูปกรวยคืออะไร
กระจกตารูปกรวย (Keratoconus) เป็นความผิดปกติของเส้นใยโปรตีนเล็ก ๆ ในดวงตาที่ช่วยยึดกระจกตาให้อยู่กับที่ เกิดอ่อนตัวลงและสูญเสียความแข็งแรงจนไม่สามารถคงรูปร่างไว้ได้ ส่งผลให้กระจกตานูนขึ้นมีลักษณะคล้ายกรวย ด้วยรูปร่างที่เหมือนกรวยนี้ทำให้แสงที่เข้าตาเกิดการหักเหทำให้การมองเห็นผิดเพี้ยน
สาเหตุของการเกิดกระจกตารูปกรวย
มีด้วยกันหลายสาเหตุ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยต่อไปนี้
1.ปัจจัยทางพันธุกรรม2.ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม3.ปัจจัยทางด้านกายภาพ ผลพวงมาจากการขยี้ตาที่รุนแรงหรือมีการขยี้ตาอยู่เป็นประจำ4.ปัจจัยจากการที่ผู้ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งมีอัตราการเป็นกระจกตารูปกรวยสูงกว่าปัจจัยอื่น ๆ5.ปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วยเอง ที่มีความผิดปกติในโครงสร้างคอลลาเจนของเนื้อเยื่อกระจกตา ทำให้กระจกตาอ่อนแอและบางลงได้
วิธีการตรวจเช็กอาการกระจกตารูปกรวย
โดยส่วนใหญ่ภาวะความผิดปกติของกระจกตาจะแสดงออกเมื่อผู้ป่วยอายุเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งการทดสอบเพื่อเช็กอาการของกระจกตารูปกรวย ได้แก่
- การวัดค่าสายตา
- การตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์
- การวัดความโค้งของกระจกตา
- การถ่ายภาพพื้นผิวกระจกตา
ลักษณะอาการของกระจกตารูปกรวย
- ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่ผิดเพี้ยน
- มีการมองเห็นภาพเบลอหรือผิดเพี้ยน-ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ โดยมากมักมีลักษณะสั้นหรือเอียงมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตา
ในกระจกตารูปกรวยที่เป็นมาก กระจกตาอาจบางจนปริออก ส่งผลให้เกิดกระจกตาบวมน้ำเฉียบพลัน และแผลเป็นบนกระจกตาได้ หากไม่รีบรักษาจะทำให้มีปัญหาการมองเห็นในระยะยาว
วิธีการรักษากระจกตารูปกรวย
การรักษากระจกตารูปกรวยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่และอาการจะดำเนินไปเร็วแค่ไหน โดยทั่วไปมีวิธีในการรักษากระจกตารูปกรวยด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่
1.การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด
เป็นการรักษาโดยมุ่งหมายเพื่อให้ค่าสายตากลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด ได้แก่
- EyeglassesOrSoftContactLenses แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ชนิดนุ่มสามารถแก้ไขการมองเห็นภาพเบลอหรือผิดเพี้ยนในช่วงเริ่มต้นของอาการกระจกตารูปกรวยได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องเปลี่ยนค่าสายตาของแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์อยู่บ่อยครั้งเนื่องจากรูปร่างของกระจกตาที่เปลี่ยนไป
- HardContactLenses คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งมักใช้เป็นขั้นตอนการรักษาถัดจากเลนส์อ่อนนุ่ม ซึ่งมีความก้าวหน้าในการรักษามากขึ้น ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น เลนส์ประเภทนี้สามารถสวมใส่ให้พอดีกับกระจกตาได้
- PiggybackLenses เป็นเลนส์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกรณีใส่เลนส์แข็งแล้วรู้สึกไม่สบายตา โดยให้สวมคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งทับบนเลนส์นุ่ม
- HybridLenses เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ โดยขอบของเลนส์จะนุ่ม ส่วนด้านในเลนส์จะแข็ง ใส่แล้วสบายตา มองเห็นได้ชัดขึ้น-ScleralLenses คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งกึ่งนิ่ม ออกแบบมาให้มีขนาดเลนส์ใหญ่กว่าตาดำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาค่าสายตามาก แต่เลนส์มีราคาสูง
2.การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงที่กำลังเผชิญอยู่ ได้แก่
- Corneal Collagen Cross-Linking เป็นการฉายแสงยูวีที่กระจกตา เพื่อช่วยชะลอการดำเนินโรคไม่ให้เป็นมากขึ้น
- IntrastromalCornealRingSegments (ICRS) เหมาะสำหรับการรักษาอาการกระจกตารูปกรวยในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการผ่าตัดใส่วงแหวนขนาดเล็กเข้าไปในกระจกตาเพื่อช่วยให้กระจกตาแบนลงส่งผลให้การมองเห็นดีขึ้นและใส่คอนแทคเลนส์ได้พอดี
- CornealTransplant การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา หากมีรอยแผลที่กระจกตาหรือกระจกบางมาก ซึ่งการปลูกถ่ายกระจกตาจะทำก็ต่อเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้แล้ว
การดูแลตนเองหลังเข้ารับการรักษา
- เข้ารับการตรวจตามนัดผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์ที่ทำการรักษาตามนัดเพื่อติดตามอาการและประสิทธิภาพของการรักษา
- เพื่อสุขอนามัยที่ดี ในการใช้คอนแทคเลนส์ ควรล้างทำความสะอาดมือทุกครั้งทั้งก่อนใส่และหลังใส่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำ
- ควรสวมแว่นตานิรภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่จะทำให้สภาพตาแย่ลง
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตา โดยเฉพาะหากมีอาการแพ้หรือระคายเคือง
- ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
การป้องกันการเกิดกระจกตารูปกรวย
- สำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระจกตารูปกรวย การขอคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับพันธุกรรมจะช่วยให้ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเป็นโรคได้
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรง ๆ
- ป้องกันดวงตาจากแสงแดด แสงฟ้าจากคอมพิวเตอร์ ด้วยแว่นกันแดดและฟิล์มกรองแสง หรือลดการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ
- รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา
- เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาความผิดปกติของสายตา
โรคกระจกตารูปกรวยเป็นความผิดปกติของกระจกตาที่ทำให้มีลักษณะกระจกตารูปกรวย ส่งผลให้การมองเห็นผิดเพี้ยน การตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ผ่านการตรวจตาเป็นประจำและการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัด สามารถช่วยในการรักษาได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตานูนเป็นรูปกรวยและต้องการรักษากับจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษา
บริษัท โรงพยาบาลตากรุงเทพ จำกัด
อาคารเดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม 540 ชั้น7 ห้อง703
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1033002-869-8899
Copyright © 2024 All Rights Reserved.