ศูนย์โรคตาทั่วไป

รู้ก่อนสาย แผลกระจกตา คืออะไร

ศูนย์โรคตาทั่วไป รู้ก่อนสาย แผลกระจกตา คืออะไร

เรียนรู้เกี่ยวกับแผลกระจกตา การรักษาและวิธีป้องกัน เพื่อปกป้องดวงตาของคุณก่อนจะสาย พร้อมวิธีรักษาดวงตาที่ดี เพื่อป้องกันการบาดเจ็บทางตาอย่างมีประสิทธิภาพ​

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรู้ด้วยการมองเห็น ช่วยให้เราเรียนรู้ ทำงานและเพลิดเพลินไปกับชีวิตประจำวัน การมีสายตาที่ดีไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อการรับรู้ แต่ยังมีผลต่อการรักษาสมดุล ร่างกาย บุคลิกภาพและการสื่อสารกับผู้อื่นอีกด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคนควรถนอมและป้องกันดวงตาจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะนำพาไปสู่การเกิดแผลในดวงตา ตาอักเสบ รวมถึงแนวทางในการรักษาและป้องกันเพื่อมิให้เกิดแผลกระจกตา

แผลกระจกตาคืออะไร

แผลกระจกตาคือการบาดเจ็บหรือการอักเสบของกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่ใสและอยู่ด้านหน้าของดวงตาครอบคลุมม่านตา กระจกตาทำหน้าที่เหมือนกระจกหน้าต่างรับแสงเข้าสู่ดวงตา กระจกตาที่ใสช่วยให้แสงผ่านได้ดี เราจึงมองเห็นได้ชัดเจน ดังนั้นการบาดเจ็บที่กระจกตาจึงส่งผลกระทบต่อการมองเห็นอย่างมาก การเกิดแผลกระจกตาสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บจากของมีคม การอักเสบ การติดเชื้อ การสัมผัสกับสารเคมี หรือโรคบางชนิด หากแผลที่เกิดขึ้นไม่ลึกหรือขนาดไม่ใหญ่อาจหายได้เองในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าเป็นแผลลึก มีขนาดใหญ่หรือเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนอาจทำให้กระจกตาขุ่นมัว ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง 

สาเหตุของการเกิดแผลกระจกตา

-บาดแผลทางกายภาพ-การบาดเจ็บจากวัตถุแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ทราย เศษโลหะ หรือแก้ว-รอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญจากเล็บ แปรงแต่งหน้า หรือกิ่งไม้-การบาดเจ็บรุนแรงจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา-การสัมผัสสารเคมี-การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด สารเคมีอุตสาหกรรม หรือผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ที่ไปทำลายกระจกตา

การติดเชื้อ

-ตาอักเสบ การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา สามารถทำให้เกิดแผลกระจกตาได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

-ภาวะแทรกซ้อนหลังหัตถการใดๆที่ตา เช่น LASIK หรือการผ่าตัดต้อกระจก ต้อเนื้อ เป็นต้น

การใช้คอนแทคเลนส์

-การใช้คอนแทคเลนส์ไม่ถูกต้อง เช่น การใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป หรือไม่ถูกสุขลักษณะ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกระจกตา

โรคประจำตัว

ภาวะการณ์เกิดแผลบนกระจกตาสามารถเกิดจากโรคประจำตัวบางประเภท ที่นำไปสู่การเกิดแผลกระจกตาได้ เช่น

-โรคตาแห้ง เมื่อน้ำตาลดลง หรือการกระจายตัวของน้ำตาไม่ดี หากไม่ได้รับการดูแลรักษา จะเสี่ยงต่อการถลอกของดวงตาได้ง่าย-โรคภูมิแพ้ บางรายหากมีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา เคืองตา ขยี้ตาแรงๆหรือบ่อยๆอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ได้-โรคเบาหวาน อาจทำให้การรับความรู้สึกของกระจกตาลดลง ความถี่ในการกระพริบตาลดลง  และเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บของกระจกตามากขึ้นได้

ผลกระทบของการเกิดแผลกระจกตา

ผลกระทบของแผลกระจกตาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงและตำแหน่งของแผล อาการทั่วไป ได้แก่

-มีอาการปวดตา อาจรุนแรงและเจ็บจนลืมตาไม่ขึ้น ขึ้นอยู่กับขนาดและความลึกของแผลที่เป็น-กระจกตาจะบวม เป็นฝ้า มีน้ำตาไหลออกมามาก-ตาไม่สู้แสง เมื่อตาสัมผัสกับแสงจะเกิดความเจ็บปวด ไม่สบายตา ลืมตาไม่ขึ้น-การมองเห็นพร่ามัว-หากเป็นมากอาจมีหนองในช่องม่านตาได้-ในกรณีที่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม แผลกระจกตาอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นถาวรได้

การรักษาแผลกระจกตา

การรักษาแผลกระจกตาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของแผล การรักษาอาจรวมถึง

1)การดูแลด้วยตัวเอง-หากมีสิ่งสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือปริมาณมากทันที-หลีกเลี่ยงการขยี้ตาซึ่งอาจทำให้บาดแผลเป็นมากขึ้นหรืออาการแย่ลงได้2)การรักษาทางการแพทย์

หากพบว่าล้างตาด้วยน้ำสะอาดแล้ว ยังมีอาการระคายเคืองตา ตาแดง หรือมีขี้ตา  ให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยอาการของแผลที่เกิดขึ้นว่ามาจากสาเหตุใดก่อนที่จะจ่ายยารักษาให้กับผู้ป่วย โดยแบ่งลักษณะการรักษาออกเป็นดังนี้

●การใช้ยา1.การใช้ยาก็จะแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกัน1.1การใช้ยาปฏิชีวนะ▪ยาหยอดตา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบยาน้ำหรือเจล▪การใช้ยาแบบกิน▪การฉีดยาใต้เยื่อบุตาหรือให้ทางหลอดเลือดดำ1.2ยาหยอดขยายม่านตาเพื่อลดโอกาสเกิดพังผืดในตา1.3ยาลดความดันลูกตา1.4วิตามินบำรุงดวงตา1.5ยาระงับอาการปวด●การผ่าตัด

การผ่าตัดมักเป็นวิธีการสุดท้ายหากพบว่าการหยอดตาหรือการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่สามารถรักษาหรือควบคุมอาการบาดเจ็บจากแผลกระจกตาได้ นั่นหมายถึงแผลมีการลุกลามและติดเชื้อ ส่งผลให้กระจกตาทะลุหรือได้รับความเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ จนจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

อาการแทรกซ้อนและข้อควรระวัง

แผลกระจกตา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจากแพทย์อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น 

-การติดเชื้อที่ลุกลาม ไปยังส่วนอื่น ๆ ของดวงตา เช่น ภายในลูกตาได้-แผลกระจกตาที่มีความลึกและไม่สามารถหายเองได้ อาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ ซึ่งสามารถทำให้การมองเห็นพร่ามัว-การเกิดแผลซ้ำ บางสถานการณ์หรือเหตุการณ์เดิมที่เคยทำให้เกิดแผลกระจกตา ก็สามารถทำให้เกิดแผลซ้ำในตำแหน่งเดิมได้-ในกรณีที่รุนแรง แผลกระจกตา เพียงน้อยนิดอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นถาวรได้

ข้อควรระวัง

-ในการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสะเก็ดหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา ควรใช้แว่นตานิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายที่มีผลกระทบกับดวงตา เช่น การเจียเหล็ก การตัดหญ้า-สำหรับท่านใดที่ใช้คอนแทคเลนส์ ควรล้างมือตัวเอง ล้างคอนแทคเเลนส์ และกล่องเก็บคอนแทคเลนส์ให้สะอาดก่อนการใส่ทุกครั้ง-หลีกเลี่ยงการขยี้ตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสงสัยว่ามีสิ่งแปลกปลอมในตา ให้ใช้วิธีการลืมตาในน้ำสะอาด หรือล้างตา โดยเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นให้รินน้ำสะอาดไหลผ่านตาข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมให้มากที่สุด-หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ทันที

การดูแลตัวเองไม่ให้เป็นแผลกระจกตา

การป้องกันดวงตา

-ควรสวมแว่นตานิรภัยระหว่างทำงานก่อสร้าง หรือกิจกรรมใด ๆ ที่อาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่ดวงตา เช่น การตัดเหล็ก การเชื่อมเหล็ก การตัดกิ่งไม้ เป็นต้น-หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละออง หรือพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา

การดูแลคอนแทคเลนส์ที่ใช้งานอย่างเหมาะสม

-ปฏิบัติตามแนวทางทั้งหมดในการทำความสะอาดและการสวมคอนแทคเลนส์ เปลี่ยนเลนส์ตามคำแนะนำ ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกันกับคนอื่น ไม่สวมใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือหมดอายุ

ระมัดระวังการใช้สารเคมีหรือน้ำยาทำความสะอาด

-ควรใช้แว่นตานิรภัยเมื่อจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับสารเคมีหรือน้ำยาทำความสะอาดอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างสูง เพื่อป้องกันน้ำยาและสารเคมีกระเด็นเข้าตาและให้มั่นใจว่าระหว่างทำงานมีการระบายอากาศที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงไอระเหยเข้าตา

เข้ารับการตรวจตาเป็นประจำ

-การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาเป็นประจำสามารถช่วยตรวจหาและป้องกันปัญหาแผลกระจกตาก่อนที่จะกลายเป็นเรื่องร้ายแรงได้

หลีกเลี่ยงการขยี้ตา

-ไม่ว่าจะมีสิ่งสกปรก ฝุ่น ผงเข้าตาหรือไม่ ห้ามขยี้ตาเป็นอันขาด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ

ไม่ซื้อ ยาหยอดตา หรือ เจลทาตาเอง

หากพบว่าตัวเองมีการระคายเคือง ไม่ควรซื้อ น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตามารักษาเอง ควรได้รับการวินิจฉัย การรักษา และจ่ายยาจากแพทย์เท่านั้น 

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

หากรู้สึกว่ามีการระคายเคืองของดวงตา เจ็บตา ล้างตาด้วยน้ำสะอาดก็ไม่หาย ตาพร่ามัว มองไม่ชัด มีขี้ตาหรือมีอาการปวดอย่างรุนแรง ให้รีบไปพบจักษุแพทย์ในทันที เพื่อเข้ารับการรักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรืออาการอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อดวงตามากขึ้น

อาการแผลกระจกตา เป็นอาการที่มีสิ่งแปลกปลอมไปสัมผัสหรือเสียดสีกระจกตาและทำให้เกิดการระคายเคือง จนอาจนำไปสู่การอักเสบของดวงตา กระจกตาฉีกขาด เป็นแผล หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะนำไปสู่การติดเชื้อ ลุกลาม จนถึงขั้นทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้ ดังนั้น เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุ ผลกระทบและการรักษาแผลกระจกตา พร้อมการป้องกันที่ดี  เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี


Copyright © 2024 All Rights Reserved.