ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? อยู่ได้กี่ปี

 ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? อยู่ได้กี่ปี

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL จะไม่รู้สึกเจ็บ เนื่องจากมีการหยอดและฉีดยาชา อีกทั้งบาดแผลเล็กเพียง 3 มิลลิเมตร ซึ่งเลนส์เสริม ICL เป็นเลนส์ถาวรและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

หากถามคนที่กำลังวางแผนรักษาค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติ เพราะเบื่อการใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ต้องนึกถึงการทำเลสิก (Lasik) เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ถาวร อีกทั้งยังมีให้เลือกหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น PRK (Photorefractive Keratectomy) เลสิกใบมีด (ไมโครเครราโตม เลสิก) (Microkeratome Lasik) เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) และ ReLEx SMILE (Refractive Lenticule Extraction – Small Incision Lenticule Extraction) ซึ่งแต่ละแบบราคาก็แตกต่างกัน 

อย่างไรก็ตามยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถรักษาค่าสายตาได้เช่นกันคือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมICL (Implantable Collamer Lens) ส่วนเทคนิคนี้คืออะไร? จะเจ็บเหมือนการผ่าตัดทั่วไปไหม? แล้วเลนส์เสริม ICL อยู่ได้กี่ปี? และ ต้องเปลี่ยนตอนไหน? วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL คืออะไร? เหมาะกับใคร?

เทคนิค Implantable Collamer Lens หรือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เป็นวิธีการรักษาค่าสายตา 1 ข้าง หรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน ด้วยการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมเข้าไปยังหลังม่านตาและหน้าเลนส์ตา เพื่อปรับค่าสายตา ซึ่งเลนส์เสริมที่ใช้ในเทคนิคนี้เป็นเลนส์พิเศษที่ทำมาจากพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า Collamer มีส่วนผสมของ Collagen และ Co-polymer จึงมีลักษณะนิ่ม ใส ยืดหยุ่นได้ดี และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งยังต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) 

สำหรับคุณสมบัติของเลนส์เสริมพิเศษ คือ สะท้อนแสงผ่านน้อย ช่วยกรองแสงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)และเป็นเลนส์ที่ออกแบบเฉพาะบุคคลจากข้อมูลค่าสายตาของผู้เข้ารับการรักษาเอง เพราะฉะนั้นหลังผ่าตัดนอกจากปรับค่าสายตาทำให้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้นแล้ว ยังช่วยลดการมองเห็นแสงกระจายรอบดวงไฟและปกป้องดวงตาจากแสงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ไปพร้อมๆกัน 

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมเหมาะกับคนที่มีค่าสายตาสั้นและเอียงมาก โดยสามารถรักษาสายตาสั้นตั้งแต่ -3.00 D ถึง -20.00 D ส่วนสายตาเอียงอยู่ระหว่าง -1.00 D ถึง -4.00 D มีอายุระหว่าง 20 – 45 ปี และค่าสายตาคงที่ แต่หากมีอายุเกิน 45 ปี จำเป็นต้องปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อน นอกจากนั้นยังเป็นเทคนิคเหมาะกับคนที่มีภาวะกระจกตาบางด้วย

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

เนื่องจากการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) มีคำว่าผ่าตัด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะเข้าใจว่าอาจรู้สึกเจ็บเหมือนการศัลยกรรมอื่นๆ แต่ในความจริงแล้วการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL ไม่เจ็บเลยสักนิด จะมีเพียงความรู้สึกหน่วงๆ เล็กน้อยที่ดวงตา เพราะในขั้นตอนการดำเนินการรักษา จักษุแพทย์จะหยอดยาชาไปที่ดวงตา ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกับจักษุแพทย์ได้ตามปกติ อีกทั้งยังใช้เวลาผ่าตัดสั้นเพียง 30 นาที และไม่ต้องเย็บปิดบาดแผล 

สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL มีดังนี้

●จักษุแพทย์หยอดยาขยายม่านตาให้กับผู้เข้ารับการรักษาที่อยู่ในท่านอนราบและห้ามเอียงศีรษะ จากนั้นหยอดยาชาและฉีดยาชาที่ตาขาว●เมื่อผู้เข้ารับการรักษารู้สึกชาแล้ว จักษุแพทย์ผ่าตัดเปิดแผลในจุดที่กำหนดไว้ประมาณ 3 มิลลิเมตร ใส่ของเหลวและวางเลนส์เสริม ICL เข้าไปในบริเวณหลังม่านตาและด้านหน้าเลนส์แก้วตา รอให้เลนส์เสริมแผ่ออก●ผู้เข้ารับการผ่าตัดพักรอดูอาการประมาณ 2 ชั่วโมง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนและเลนส์เสริมเข้ากับดวงตาได้ดี จักษุแพทย์จะอนุญาตให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดกลับบ้านได้ แต่ต้องเดินทางกลับมาติดตามผลการใส่เลนส์เสริมในวันถัดไป

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

ถึงการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) จะเป็นการผ่าตัดที่ไม่เจ็บ ใช้เวลาผ่าตัดน้อย และพักฟื้นไม่นาน แต่อย่างไรนั้นต้องเข้ารับการตรวจตาเช่นเดียวกับทำเลสิก (Lasik) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของกระจกตา ความโค้งของกระจกตา ความลึกของช่องม่านตา และโรคตา หากไม่พบว่าเป็นโรคตา อย่างต้อหิน ต้อกระจก หรือมีบาดแผลที่กระจกตา จักษุแพทย์จะวัดค่าสายตาสำหรับเลนส์เสริมเฉพาะบุคคล ซึ่งในส่วนของข้อปฏิบัติอื่นๆ มีดังนี้

●ให้งดรับประทานยาประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบเลือด แต่ถ้าไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษาจักษุแพทย์ก่อน●ควรงดการใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens)เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์●ในวันผ่าตัดให้อาบน้ำและสระผมให้สะอาด แต่ไม่ควรแต่งหน้า ติดขนตาปลอม รวมถึงทาเล็บ เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL โดยป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ไม่ว่าการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่หากดูแลตัวเองหลังรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจะช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้

●ควรหยอดยาลดการอักเสบ ยาฆ่าเชื้อ และรับประทานยาตามที่จักษุแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด●ควรนอนในท่านอนหงายตรง หลีกเลี่ยงการนอนตะแคง●ควรใส่แว่นดำกรองแสงในเวลากลางวันและสวมใส่ฝาครอบตาประมาณ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด●ไม่ควรให้ดวงตาโดนน้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ รวมถึงต้องระมัดระวังไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าตาและห้ามขยี้ตาอย่างเด็ดขาด●ไม่ควรออกแดด ออกกำลังกายหนัก หรือยกของหนักจนกว่าแผลผ่าตัดจะหาย

ข้อดีของการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

หากใครที่กำลังลังเลว่าจะเลือกรักษาค่าสายตาด้วยการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL ดีหรือไม่ เนื่องด้วยการเลสิกตา ราคาถูกกว่า แต่นอกจากเลนส์เสริม ICL จะเป็นเลนส์พิเศษที่ออกแบบเฉพาะบุคคลช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นและปกป้องดวงตาจากแสงยูวีแล้ว หากพิจารณาการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) ยังมีข้อดีอีกมากมายดังต่อไปนี้

●ผลข้างเคียงน้อย หายเร็ว ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา

เพราะการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) ไม่มีการแยกชั้นกระจกตาหรือปรับเปลี่ยนรูปร่างกระจกตา ไม่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อกระจกตา รวมทั้งบาดแผลผ่าตัดเล็กเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น ทำให้แผลผ่าตัดหายเร็ว เพียงไม่กี่ชั่วโมงสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงน้อย และไม่รู้สึกระคายเคืองตาในอนาคต

●ลดโอกาสเกิดภาวะตาแห้ง

การ ทำเลสิก ข้อเสีย อาจทำให้เกิดภาวะตาแห้งในอนาคต แต่การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL จะไม่มีขั้นตอนใดที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทของผิวกระจกตา จึงไม่ส่งผลกระทบกับกระบวนการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงลูกตายังคงทำงานได้ตามปกติ 

●เหมาะสำหรับคนที่สายตาสั้นหรือเอียงมาก รวมถึงคนที่มีปัญหากระจกตาบาง

แม้ว่าเลสิกจะมีหลายเทคนิคให้เลือก แต่จะมีข้อกำหนดเรื่องค่าสายตา หากมีค่าสายตาสั้นหรือเอียงสูง รวมถึงมีภาวะกระจกตาบาง การ เลเซอร์ตา ผลข้างเคียงที่ตามมาอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจนตามต้องการ ดังนั้นการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL จึงเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ค่าสายตาสูงและกระจกตาบาง 

ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL อยู่ได้กี่ปี? ต้องเปลี่ยนตอนไหน?

สำหรับคนที่เป็นกังวลว่าหากในอนาคตเลนส์เสื่อมแล้วจะทำอย่างไร อายุเลนส์เท่าไหร่? หรือควรต้องเปลี่ยนตอนไหน? บอกเลยว่าไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องนี้เลย เพราะเลนส์เสริม ICL เป็นเลนส์ถาวรที่มีความแข็งแรงทนทานและอยู่ในลูกตาได้ตลอด โดยไม่ทำปฏิกิริยาและพังผืดที่ดวงตา แต่หากต้องการนำเลนส์เสริม ICL ออกก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันด้วยวิธีการที่คล้ายกับตอนใส่ ซึ่งสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ต้องการนำเลนส์เสริม ICL ออกมักมาจากต้องผ่าตัดลอกต้อกระจกเมื่ออายุมากขึ้นจึงต้องนำเลนส์เสริม ICL ออกด้วย หรือหลังผ่าตัดใส่เลนส์เสริมแล้วมีภาวะความดันตาสูง และไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาควบคุมความดัน จักษุแพทย์จะพิจารณานำเลนส์เสริม ICL ออก เพื่อให้ความดันลูกตากลับเป็นปกติ

สำหรับข้อมูล เกี่ยวกับการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL ที่นำมาฝาก ซึ่งคิดว่าหลายคนคงได้คำตอบแล้วว่าการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมนอกจากจะไม่เจ็บแล้ว ยังเป็นเลนส์แบบถาวรที่อยู่คู่กับดวงตาสวยได้ตลอดชีวิต แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL หรือเลสิก (Lasik) ดี แนะนำให้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดใส่เลนส์ ICL และทำเลสิก ข้อเสีย - ข้อดี ขั้นตอนการดำเนินการ การเตรียมตัวก่อนรักษา การดูแลตัวเองหลังรักษา ผลข้างเคียง และราคา รับประกันว่าเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเองได้อย่างแน่นอน

 อายุเท่าไหร่เสี่ยงเป็นต้อหินมุมปิด
 มัดรวมแหล่งอาหารเสริมบำรุงสายตา บอกลาปัญหาสุขภาพสายตาและการมองเห็น
 ต้อหินมุมปิดรักษาอย่างไรให้หายขาด ใช้เวลานานไหม
 ทำไมทำเลสิกแล้วตาแห้ง น้ำตาเทียมช่วยได้อย่างไร?
 ICL หรือ Implantable Collamer Lens ทางเลือกใหม่การรักษาสายตาผิดปกติ
 ใครเสี่ยงเป็นวุ้นในตาเสื่อมบ้าง พร้อมแนะนำแนวทางการป้องกันและรักษาให้ถูกวิธี
 ประโยชน์ของน้ำตาเทียม ทำไมผู้สูงอายุควรใช้
 ใครบ้างเสี่ยงเป็นต้อลม เป็นแล้วหายได้หรือไม่
 ความแตกต่างของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและหนังตาตก
 เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene) ดียังไง ช่วยแก้สายตาพร่ามัว บำรุงสายตาจริงไหม

Copyright © 2024 All Rights Reserved.