สายตาแบบไหน ควรทำ ICL ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม

 สายตาแบบไหน ควรทำ ICL ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม

ICL คือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมซึ่งทำจากวัสดุCollamer เพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้น ยาว และเอียง เป็นหนึ่งในทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ไม่สามารถรักษาด้วยการทำเลสิก(Lasik)ได้ 

ผู้ที่ประสบปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงส่งผลให้มองภาพต่างๆ ไม่ชัดเจน ในการแก้ปัญหาเบื้องต้นของคนที่มีปัญหาทางสายตาคือการสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) เพื่อที่จะมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น แต่ในบางครั้งการสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อาจไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็มีทางเลือกในการรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาทางสายตา ทั้งการทำเลสิก (Lasik) การทำ PRK  (Photorefractive Keratectomy)

 และนอกจากนี้ยังมีการรักษารูปแบบใหม่ที่เรียกว่าการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสายตาโดยไม่ต้องทำลายเนื้อเยื่อกระจกตา ไม่ส่งผลกระทบต่อดวงตา และเลนส์เสริมนี้ยังเข้ากับเลนส์สายตาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL คืออะไร

​การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL หรือ Implantable Collamer Lens เป็นการรักษาอาการผิดปกติทางสายตาทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงได้เช่นเดียวกับเลสิค (Lasik) แต่จะแตกต่างคือ ICL เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่เลนส์ที่ทำมาจากวัสดุ Collamer ซึ่งเป็น Co-Polymer ของคอลลาเจนบริสุทธิ์ มีลักษณะคล้ายคอนแทคเลนส์(Contact Lens) บางใส มีความยืดหยุ่นสูง โดยจะใส่เข้าไปที่ด้านหลังม่านตาด้านหน้าเลนส์ตาธรรมชาติ ซึ่งเลนส์เสริมดังกล่าวจะถูกทำให้มีค่าสายตาตามที่แพทย์ผู้รักษาคำนวณเอาไว้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเลนส์เสริมนี้ทำการปรับค่าการหักเหของแสงให้ตกกระทบที่จอประสาทตาอย่างถูกต้อง ส่งผลให้มองได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทำการใส่เลนส์เสริมเข้าไปในดวงตาแล้วจะสามารถรักษาอาการทางสายตาได้ จุดเด่นคือไม่ทำให้ตาแห้งเหมือนการรักษาด้วยวิธีอื่น ไม่ทำให้กระจกตาบางลงผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธี ICL (Implantable Collamer Lens) นั้นเกิดขึ้นได้น้อย ซึ่งจะแตกต่างกับการทำเลสิก (Lasik) ข้อเสียคือไม่สามารถทำกับผู้ที่มีกระจกตาบางได้ แต่ ICL นั้นทำได้

ประโยชน์ของเลนส์เสริม ICL

-เป็นการแก้ไขปัญหาทางสายตาที่ได้ผลดีเพราะทำให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนในการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว-ไม่เกิดอาการตาแห้งเพราะการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมนั้นจะไม่มีการผ่าตัดหรือเลเซอร์ที่กระจกตา ทำให้ไม่กระทบกับกระจกตาที่ส่งผลให้มีอาการตาแห้งแบบการรักษาด้วยวิธีอื่น-ไม่ต้องปรับค่าความโค้งกระจกตาทำให้ไม่สูญเสียเนื้อเยื่อกระจกตาเพราะการใส่เลนส์เสริมเป็นการรักษาด้วยการนำเลนส์ใส่เข้าไปที่ดวงตาโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกระจกตาแต่อย่างใด-เข้าได้กับเลนส์ตาธรรมชาติโดยเลนส์เสริมนั้นผลิตมาจากCollamerซึ่งเข้ากับร่างกายได้ดีและไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตา-สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นสายตายาวและสายตาเอียงที่มีค่าผิดปกติมากได้ผลดีเนื่องจากการใส่เลนส์เสริมนั้นสามารถปรับค่าสายตาได้มากตามความเหมาะสมของแต่ละคน-ผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการเลสิก(Lasik)หรือใช้เลเซอร์ในการรักษาโดยอาจมีสาเหตุมาจากกระจกตาบางมีภาวะตาแห้งสามารถใช้วิธีผ่าตัดใส่เลนส์เสริมICL(Implantable Collamer Lens)ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดดังกล่าว-เลนส์เสริมสามารถช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต(UV)ได้ช่วยในการถนอมดวงตาได้ดีช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคต้อกระจกได้-เลนส์เสริมสามารถถอดออกได้ในอนาคตหากค่าสายตาเปลี่ยนก็ทำการประเมินค่าสายตาใหม่แล้วเปลี่ยนเลนส์เสริมใหม่ที่เหมาะสมได้

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสายตาแบบไหน

-ผู้ที่มีค่าสายตาสั้นมากยาวมากหรือเอียงมากซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการทำเลสิกหรือPRK  (Photorefractive Keratectomy)ได้-ผู้ที่มีกระจกตาบางหรือตาแห้งมากจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการเลสิก(Lasik)ได้-ผู้ที่ไม่ต้องการรักษาความผิดปกติทางสายตาด้วยวิธีการทำเลสิก(Lasik)แบบต่างๆ เพราะกลัวผลกระทบกับกระจกตาที่อาจบางลงและกลัวภาวะตาแห้งหลังจากการรักษา

​โดยผู้ที่จะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมนั้นจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และต้องมีค่าสายตาคงที่ รวมถึงต้องไม่มีอาการของโรคทางตา เช่นต้อหิน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องไม่เป็นผู้ที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัดตามาก่อน และต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์เพราะจะมีผลต่อค่าสายตาที่ไม่คงที่จากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับการตรวจประเมินโดยจักษุแพทย์ก่อนว่าดวงตามีลักษณะที่เหมาะสมสำหรับการใส่เลนส์เสริมหรือไม่

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง​

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

ในขั้นตอนนี้ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องเข้ารับการวัดค่าสายตาจากจักษุแพทย์ เพื่อคำนวณค่าสายตาที่เหมาะสมในการใส่เลนส์เสริม ตรวจวัดการขยายของม่านตาโดยแพทย์จะประเมินความสมบูรณ์ของดวงตาและอธิยายให้ผู้เข้ารับการรักษาทราบถึงรายละเอียดของการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเลนส์เสริม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ขั้นตอนการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

-จักษุแพทย์จะทำการหยอดยาชาเพื่อไม่ให้มีอาการเจ็บขณะที่ทำการผ่าตัดและใช้ยาขยายม่านตารวมไปถึงจะใส่ที่ถ่างตาเพื่อไม่ให้ผู้เข้ารับการรักษากระพริบตาในขณะผ่าตัด-ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องนอนราบและจ้องไปที่ดวงไฟจุดเดียว-แพทย์จะทำการผ่าตัดโดยจะกรีดกระจกตาที่อยู่ระหว่างตาดำและตาขาวเป็นช่องเล็กๆขนาดประมาณ2.5มิลลิเมตรจากนั้นจะนำเลนส์ที่ได้ทำการวัดค่าแล้วใส่เข้าไปที่ดวงตาตรงบริเวณด้านหลังม่านตาที่อยู่หน้าเลนส์ตาธรรมชาติ-แพทย์จะนำเครื่องมือถ่างออกซึ่งการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมนั้นใช้เวลาการผ่าตัดเพียง20 - 30นาทีเท่านั้นไม่ต้องมีการเย็บแผลเพราะแผลเล็กมากและสามารถสมานได้เอง-ผู้เข้ารับการรักษาจะอยู่ดูอาการประมาณ1 - 2ชั่วโมงหากไม่พบอาการผิดปกติสามารถกลับบ้านได้ทันทีและมาพบแพทย์ตามนัดหมายในภายหลัง

​การเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมICL ผู้เข้ารับการรักษาต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ส่งผลต่อการมองเห็นที่ชัดเจนของผู้ที่รับการรักษา

วิธีดูแลและข้อควรระวังหลังจากการรักษาด้วย ICL

-ควรสวมแว่นกรองแสงเมื่อต้องออกไปข้างนอกหรือไปในสถานที่ที่มีแสงมากส่วนตอนกลางคืนควรสวมที่ครอบตาปิดตาเอาไว้เพื่อป้องกันการสัมผัสที่ดวงตาอย่างน้อยเป็นเวลา1สัปดาห์-ใช้ยาหยอดตาตามแพทย์สั่งเพื่อลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อ-ระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าตาอย่างน้อย1 - 2สัปดาห์โดยสามารถล้างหน้าได้ตามปกติเพียงแค่ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าตา-พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวมากเช่นการออกกำลังกายการยกของหนักการวิ่งควรรอให้แผลหายสนิทก่อน-หยอดน้ำตาเทียมหากมีอาการระคายเคืองดวงตา-ไม่ควรนอนตะแคงให้นอนหงายอย่างน้อยจนกว่าแผลจะหาย

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากรักษาด้วย ICL

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมICL (Implantable Collamer Lens) คือ อาการคันตาระคายเคืองตา แสบตา น้ำตาไหลมาก รวมไปถึงอาจมีอาการตาแดง ตาไม่สู้แสง ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเอง

​แต่อาการที่ควรระวังคือเรื่องของความดันลูกตาสูงเพราะเมื่อใส่เลนส์เข้าไปในดวงตาบางคนอาจมีอาการความดันในลูกตาสูง แม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก โดยแพทย์จะให้ยาลดความดันลูกตาสำหรับผู้ที่มีอาการ และต้องระวังการติดเชื้อจึงไม่ควรใช้มือสัมผัสดวงตาหรือขยี้ตาโดยเด็ดขาด

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นการรักษาสายตาผิดปกติที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมองเห็น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการทำเลสิก (Lasik) เพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียงแบบถาวรได้ รวมถึงผู้ที่ไม่ต้องการทำเลสิก (Lasik) เพราะกังวลว่ากระจกตาจะบางลง มีภาวะตาแห้ง เพราะ การทำเลสิก ข้อเสีย คือ เกิดภาวะตาแห้งหลังการรักษา ก็สามารถรักษาด้วยวิธีการการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการนี้สามารถแก้ไขนำเลนส์ออกหรือเปลี่ยนเลนส์ใหม่เมื่อมีค่าสายตาที่เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนเพื่อประกอบการตัดสินใจเพราะดวงตาคือสิ่งสำคัญสำหรับเรา

 ทำความรู้จักกับภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ พร้อมวิธีการรักษา
 การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิก Femto Lasik
 ทำไมเด็กถึงตาเข หรือตาส่อนมากกว่าผู้ใหญ่
 การใส่แว่นไม่ต่อเนื่อง ทำให้สายตาแย่ลงจริงไหม
 จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นต้อหินเฉียบพลัน
 รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?
 กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) กี่วันหาย ใช้ยาอะไร
 Femto Lasik เลสิกไร้ใบมีด นวัตกรรมแก้ไขปัญหาสายตา
 ตาไม่สู้แสง แสบตาตลอดเวลาโดนลม อาการเริ่มต้นต้อลม
 ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK