ศูนย์เลสิก
LASIK (การผ่าตัดแก้ไขสายตาโดยการเปิดฝากระจกตาด้วยใบมีด)
การทำเลสิก (Lasik) ช่วยรักษาความผิดปกติทางสายตา ทั้งสายตาสั้น ยาว และเอียง การทำเลสิกมีหลายแบบ ทั้งเลสิคแบบใช้ใบมีด, ReLEx SMILE, เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) , PRK ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสายตาที่ได้ผลถาวร
ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว รวมไปถึงสายตาเอียง เป็นปัญหาที่พบได้ในคนทั่วไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ในการแก้ปัญหาสายตาที่ง่ายที่สุดคือการสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
แต่การแก้ปัญหาสายตาที่ได้ผลถาวรนั่นคือการทำเลสิก (Lasik) เป็นวิธีการที่จะทำให้สายตากลับมาเป็นปกติได้ แต่การทำ นั้นคืออะไร และมีวิธีการทำอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ทำความรู้จักกับการทำเลสิก (LASIK) คืออะไร
การทำเลสิก (Lasik) คือการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของสายตาโดยการเปิดฝากระจกตา ไม่ว่าจะด้วยเครื่องไมโครเครราโตม (Microkeratome) หรือการใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) ไม่ว่าจะเป็นอาการสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยจะใช้วิธีการผ่าตัดแยกชั้นกระจกตาออกมา แล้วปรับค่าความโค้งของกระจกตาให้มีความเหมาะสมตามการคำนวณค่าสายตาจากจักษุแพทย์ เพื่อให้แสงสะท้อนวัตถุที่เข้าสู่ดวงตาของเรามีการหักเหของแสงที่แม่นยำตกกระทบบริเวณจุดโฟกัสพอดี จากนั้นทำการปิดฝากระจกตากลับเข้าไป ซึ่งจะทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยวิธีเลสิก (Lasik) นั้นมีความแม่นยำสูง อาการผลข้างเคียงต่ำ ทำให้มีความปลอดภัยมาก
ปัญหาสายตาแบบใดที่สามารถทำ LASIK ได้บ้าง
การทำเลสิก (Lasik) นั้นช่วยแก้ปัญหาทางสายตาได้แบบถาวร ทั้งสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง โดยมีลักษณะการรักษาสายตาแต่ละแบบดังนี้
- สายตาสั้น เป็นอาการที่เกิดจากกระจกตามีความโค้งมากเกินไปหรือกระบอกตายาวเกินไปจนส่งผลให้เกิดการหักเหของแสงที่มาก ทำให้จุดรวมแสงกระทบก่อนที่จะถึงจอประสาทตา ผู้มีสายตาสั้นจะมีอาการมองวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน มีความเบลอ ส่งผลให้กะระยะวัตถุที่อยู่ไกลไม่ได้
- สายตายาวเป็นอาการที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาไม่พอดี ทำให้เมื่อแสงสะท้อนเข้าสู่ตาจะมีความหักเหน้อยและทำให้จุดรวมแสงตกกระทบที่หลังจอรับภาพ ส่งผลให้มองภาพที่อยู่ใกล้ไม่ชัด
- สายตาเอียงเป็นอาการที่เกิดจากรูปร่างของกระจกตามีความโค้งผิดปกติ ทำให้เมื่อแสงสะท้อนเข้าสู่ตา จุดรวมแสงจะมีจุดโฟกัส 2 จุด คนที่มีอาการสายตาเอียงจึงมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นภาพซ้อน มองเห็นเป็นเงา รวมไปถึงมองวัตถุที่อยู่ระยะไกลไม่ชัดอีกด้วย
ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาสายตาทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการ ทำเลสิก (Lasik) เพื่อรักษาความผิดปกติทางสายตาได้
การทำเลสิกมีกี่แบบ
การรักษาสายตาผิดปกติด้วย LASIK นั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้
- เลสิคแบบใช้ใบมีดไมโครเครราโตม เลสิก (Microkeratome Lasik)เป็นการผ่าตัดด้วยการใช้ใบมีดแยกชั้นกระจกตาออกมาแล้วทำการยิงเลเซอร์เพื่อปรับชั้นกระจกตาให้มีค่าตามที่จักษุแพทย์คำนวณไว้ โดยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงและมีความปลอดภัยมาก เมื่อทำการปรับค่าสายตาแล้วแพทย์จะทำการใส่กระจกตากลับคืน วิธีนี้ใช้ระยะเวลาในการรักษาเพียง 15 - 20 นาทีเท่านั้น และพักฟื้นไม่นาน โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติไม่สูงมาก ดวงตาไม่แห้งและกระจกตาไม่บาง
- เลสิคแบบเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) เป็นวิธีการเลสิกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยจะเป็นการรักษาด้วยการใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) เพื่อเปิดฝากระจกตา แล้วจึงปรับความโค้งของกระจกตาให้มีค่าที่เหมาะสม โดยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงกว่าการทำเลสิกแบบอื่นๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงค่อนข้างมาก
- ReLEx SMILEเป็นการทำผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบไร้ใบมีด ย่อมาจากคำว่า Refractive Lenticule Extraction กับ Small Incision Lenticule Extraction ซึ่งเป็นการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงโดยการใช้เลเซอร์ซึ่งมีความแม่นยำสูงในการรักษา ทำให้ไม่ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณรอบดวงตา แผลมีขนาดเล็กมากและหายได้อย่างรวดเร็ว โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติไม่น้อยหรือมากเกินไป รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง
- PRK (Photorefractive Keratectomy)เป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ไม่มีการแยกชั้นกระจกตาเหมือนการทำเลสิกแต่จะใช้วิธีลอกผิวกระจกตาชั้นนอกออกแล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser)ปรับค่าความโค้งของกระจกตาให้กลับมามองเห็นเป็นปกติ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติเล็กน้อย รวมไปถึงผู้ที่มีข้อจำกัดในการทำเลสิคแบบอื่นๆ เช่น นักกีฬา นักบินหรือในผู้ที่ต้องทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระทั่งสูง
จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเหมาะกับการทำ
ในการทำเลสิก (Lasik) นั้นแพทย์จะวิเคราะห์ความเหมาะสมเป็นรายบุคคล ซึ่งต้องมีลักษณะดังนี้
- มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากจะมีค่าสายตาที่คงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อย การรักษาจึงจะได้ผลดี
- ผู้ที่ต้องการรักษาอาการผิดปกติทางสายตาแบบถาวร ไม่ต้องการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือผู้ประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะกับการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ (Contact Lens)
- ผู้ที่มีค่าสายตาคงที่ หรือมีความเปลี่ยนแปลงน้อยในระยะเวลา 1 ปี ก่อนการรักษาด้วยเลสิก
- ผู้ที่ไม่มีปัญหากระจกตาบางหรือโรคที่เกี่ยวกับสายตาอื่นๆ เช่น โรคกระจกตาโก่งโรคต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม จอตาฉีกขาดหลุดลอกโรคเบาหวาน โรค SLE
- ผู้ที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนมีความไม่คงที่อาจส่งผลให้ค่าสายตาคลาดเคลื่อนไปกว่าความเป็นจริง ซึ่งมีผลต่อการทำเลสิก
การทำ LASIK มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
โดยการทำเลสิกนั้นผู้เข้ารับการรักษาต้องมีการเตรียมตัวก่อนรักษาดังนี้
- ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 1 สัปดาห์-ไม่ควรใช้เครื่องสำอางแต่งบริเวณรอบดวงตาก่อนผ่าตัด
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนวันผ่าตัด
- หากมีอาการผิดปกติที่ดวงตา เช่น ตาแห้ง เจ็บตา ตาเป็นแผล ควรแจ้งจักษุแพทย์ก่อน เพราะอาจส่งผลต่อการรักษาได้
โดยขั้นตอนการ ทำเลสิก (Lasik) นั้นแบ่งได้ 2 ขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 เปิดฝากระจกตาด้วยใบมีด (Microkeratome) โดยเป็นวิธีแบบดั้งเดิมที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหรือเปิดฝากระจกตาด้วยเลเซอร์ (Femtosecond Laser) ที่ให้ความแม่นยำสูง
- ขั้นตอนที่ 2 ยิงเลเซอร์โดยใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้มีค่าที่เหมาะสม ซึ่งมีความแม่นยำและใช้เวลาไม่นานจากนั้นแพทย์จะปิดฝากระจกตากลับสู่ที่เดิม
วิธีการดูแลตัวเองและผลข้างเคียงหลังจากการทำเลสิค
เมื่อเข้ารับการทำเลสิก (Lasik) ด้วยการ เลเซอร์ตา ผลข้างเคียง อาจจะเกิดขึ้นได้หลังการรักษา เช่น
- มีอาการตาแห้ง ระคายเคืองตาบ่อยครั้งหลักการรักษา แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
- มีปัญหาการมองเห็นในภาวะที่มีแสงน้อย-ดวงตามีความไวต่อแสง
- มีอาการตาพร่า การมองเห็นไม่คงที่ มองเห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง
- มีอาการตาแดงหรือมีจุดเลือดออกที่ตาขาว
- น้ำตาไหล
โดยการอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-4 สัปดาห์ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
การดูแลตัวเองหลังการทำเลสิก (Lasik) มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
- สวมที่ครอบตาหลังการรักษา เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือป้องกันการขยี้ตาเมื่อเกิดอาการระคายเคือง
- หากมีอาการระคายเคือง น้ำตาไหล ให้ซับน้ำตาเบา ๆ ไม่ควรขยี้ตาหรือเปิดฝาครอบตาออก
- เมื่อมีอาการปวดตาให้รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทา
- งดการทำกิจกรรมที่กระทบกระเทือนและระวังอย่าให้เหงื่อหรือน้ำเข้าตา
- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อตรวจอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังการทำเลสิก (Lasik)โดยการเลเซอร์ตา ผลข้างเคียงอาจจะทำให้แสบตา ปวดตา ระคายเคืองตา การไปพบแพทย์ตามนัดจะช่วยให้รักษาได้ทันหากมีอาการผิดปกติ
- ใช้ยาหยอดตาตามแพทย์สั่ง
- สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้เมื่อมีอาการตาแห้ง ซึ่งน้ำตาเทียมนั้นมีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลข้างเคียง
ในการทำเลสิก (Lasik) นั้นเป็นการรักษาความผิดปกติทางสายตา ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย และให้ผลการรักษาที่ถาวร ทำให้ไม่ต้องสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อีกต่อไป ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันมีความสะดวกมากขึ้น บุคลิกภาพดีขึ้น ดังนั้นการทำเลสิก (Lasik) ถือว่าตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาสายตาได้เป็นอย่างดี
บริษัท โรงพยาบาลตากรุงเทพ จำกัด
อาคารเดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม 540 ชั้น7 ห้อง703
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1033002-869-8899
Copyright © 2024 All Rights Reserved.