ศูนย์เลสิก

PRK (Photorefractive Keratectomy) ผ่าตัดแก้ไขสายตาเทคนิคปรับแต่งความโค้งที่กระจกตาโดยตรง

ศูนย์เลสิก PRK (Photorefractive Keratectomy) ผ่าตัดแก้ไขสายตาเทคนิคปรับแต่งความโค้งที่กระจกตาโดยตรง

PRK คือ การผ่าตัดรักษาตาด้วยเลเซอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาสามารถกลับมามองเห็นได้ชัดโดยไม่ต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อีกต่อไป

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์เพราะช่วยในการมองเห็น เมื่อดวงตาเริ่มมีปัญหาแว่นสายตาและคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อาจไม่เพียงพอ ในกรณีนี้จะต้องพึ่งวิธีการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมนั่นก็คือ PRK (Photorefractive Keratectomy) 

PRK คืออะไร

PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ วิธีการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือแม้แต่สายตาเอียง โดยเทคนิค PRK นี้เป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ วิธีการรักษาจะใช้การปรับแต่งความโค้งของกระจกตาโดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหน้าสุดของดวงตา การผ่าตัดนี้จะช่วยให้แสงตกกระทบที่จอประสาทตาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น โดยจะมีข้อจำกัดในการทำน้อยกว่าการทำเลสิก (Lasik)  วิธีการรักษาสายตาด้วยวิธี PRK ส่วนใหญ่นิยมทำในอาชีพนักบิน ตำรวจ และทหาร เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจนโดยไม่ต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์

ควรเข้ารับการรักษา PRK เมื่อใด

สำหรับผู้มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) รวมถึงผู้ที่ต้องการความคล่องตัวสูง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพทหาร ตำรวจ นักบิน หรือนักกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็ว เช่น นักฟุตบอล นักกรีฑา ควรพิจารณาเข้ารับการผ่าตัด PRK นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากระจกตาบางเกินไปสำหรับการทำเลสิก (Lasik) ก็สามารถเลือกใช้วิธี PRK ได้

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้ารับการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (PRK)

●   การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

จักษุแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด อาทิ วัดสายตา วัดการมองเห็น วัดความดันลูกตา วัดค่าความโค้งของกระจกตา รวมถึงการวัดความหนาของกระจกตาและการประเมินสภาพของสายตา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องการเข้ารับการรักษามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดด้วยวิธี PRK โดยก่อนเข้ารับการผ่าตัดควรงดใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens)อย่างน้อย 7 วัน เพื่อเป็นการคืนสภาพให้กับกระจกตาและไม่ให้คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) กดทับกระจกตา สำหรับใครที่สวมแว่นสายตาสามารถใช้งานได้ปกติ และควรเตรียมตัวลางานอย่างน้อย 5 – 7 วัน นับตั้งแต่หลังการผ่าตัดด้วยวิธี PRK

ในวันผ่าตัดควรมีญาติหรือเพื่อนมาด้วย เพราะหลังการผ่าตัดจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดประมาณ 4 -  6 ชั่วโมง จึงไม่ควรมาผ่าตัดด้วยตัวคนเดียว งดแต่งหน้า ทำผม ทาเจล ใส่น้ำหอม เพราะจะต้องระวังไม่ให้น้ำหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตาหลังการผ่าตัด เลเซอร์ตา ผลข้างเคียง หลังการรักษาและควรเตรียมแว่นกันแดดมาด้วย

●   กระบวนการผ่าตัด

จักษุแพทย์จะทำการหยอดยาชาให้กับผู้เข้ารับการผ่าตัด เมื่อยาชาออกฤทธิ์จักษุแพทย์จะทำความสะอาดเยื่อบุตา โดยใช้แอลกอฮอล์หยอดลงบนกระจกตาเพื่อลอกผิวชั้นบนสุดของกระจกตา หรือใช้เครื่องเลเซอร์ในการลบชั้นผิวบางๆ ของกระจกตาออกเพื่อให้สามารถเข้าถึงชั้นลึกของกระจกตาได้ จากนั้นจะทำการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ โดยจะใส่ไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์จากนั้นค่อยนำออก ไม่ต้องทำการเย็บแผลผ่าตัดเนื่องจากปล่อยให้เกิดการสร้างเยื่อหุ้มกระจกตาใหม่ กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาทีต่อตา 1 ข้าง 

●   การดูแลหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัดแพทย์จะทำการปิดตาด้วยที่ครอบตา ไม่ควรถอดแม้จะมีน้ำตาไหลหรือเกิดการระคายเคืองตา โดยจะถอดได้ในวันถัดไปเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน และควรสวมแว่นกันแดดไว้เสมอ สำหรับช่วงเวลากลางคืนยังคงต้องใส่ที่ครอบตาไว้เช่นเดิม 

ข้อควรระวัง 

●   อย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ห้ามขยี้ตา หรือหากต้องการสัมผัสดวงตาให้สัมผัสน้อยที่สุด และที่สำคัญควรล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสตา ในกรณีที่ผู้ป่วยคันตาแนะนำให้ใช้ปลายนิ้วแตะที่หัวตาหรือหางตาเบา ๆ เท่านั้น 

●   ควรทำความสะอาดตาในทุกๆ เช้าด้วยน้ำเกลือ โดยการเช็ดบริเวณหัวตาไปยังหางตา

●   งดสระผม ล้างหน้า 7 วันหลังผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าตา

●   พักผ่อนให้เพียงพอ

●   ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดควรงดใช้สายตาในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ 

●   ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ หรืออย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง แต่ควรทิ้งระยะเวลาห่างจากการหยอดยาที่แพทย์จ่ายให้ 5 นาที 

●   ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด PRK จะใช้เวลาประมาณ 1 - 3 สัปดาห์ การผ่าตัดด้วย เลเซอร์ตา ผลข้างเคียง อาจจะรู้สึกระคายเคืองหรือมีน้ำตาไหล เนื่องจากกระจกตาต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู อย่างไรก็ตามการมองเห็นจะเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงนี้ แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดและแนะนำวิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการหยอดตาด้วยยาที่แพทย์แนะนำควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด PRK อาจใช้เวลานานกว่าการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์แบบอื่น เช่น ทำเลสิก (Lasik)  

รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการฟื้นตัวและสิ่งที่ผู้รับการผ่าตัดควรทราบมีดังนี้

1. ช่วงเวลาหลังการผ่าตัดระยะแรก

- วันแรกหลังผ่าตัดผู้รับการผ่าตัดจะรู้สึกปวดแสบ ระคายเคืองในตา มีน้ำตาไหล หรือตาสู้แสงไม่ได้ แพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงแนะนำให้สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสง UV

-  แพทย์จะให้ใส่ฝาครอบปิดตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนในช่วงเวลาฟื้นตัวแรกๆ

2. สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด

-  ผู้รับการผ่าตัดจะยังคงรู้สึกระคายเคืองหรือมีน้ำตาไหลเป็นระยะๆ

-   การมองเห็นจะยังไม่ชัดเจนเต็มที่ มองเห็นภาพเบลอหรือซ้อน การมองเห็นจะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้

3.        สองถึงสามสัปดาห์หลังผ่าตัด

-  การมองเห็นจะเริ่มคงที่และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

-  การหยอดตาด้วยยาหยอดตาที่แพทย์สั่งยังคงต้องใช้อย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำ

4.  หนึ่งถึงสามเดือนหลังผ่าตัด

-   แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่ากระจกตาฟื้นตัวได้ดีและการมองเห็นดีขึ้นตามที่คาดหวัง

-  กระจกตาจะฟื้นตัวเต็มที่ในช่วงเวลานี้และการมองเห็นจะคงที่

อะไรคือความเสี่ยงในการผ่าตัด PRK

แม้ว่าการผ่าตัด PRK จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ควรทราบ เช่น

●   การติดเชื้อ แม้จะพบได้น้อยแต่การติดเชื้อยังคงเป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง เพราะหากติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจทำให้ถึงขั้นปลูกถ่ายกระจกตาใหม่ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

●   การเกิดฝ้าบนกระจกตา บางกรณีจะเกิดฝ้าที่กระจกตาหลังผ่าตัด โดยเฉพาะในกรณีที่มีการแก้ไขค่าสายตามาก หรือถูกแสงแดดจัดหลังการผ่าตัด

●   การมองเห็นไม่ชัดเจนชั่วคราว เป็นที่แน่นอนว่าในช่วงของการฟื้นตัวผู้รับการรักษาด้วยวิธี PRK จะมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีภาพซ้อน จำเป็นที่จะต้องให้ดวงตาได้ปรับสภาพกับกระจกตา

●   บางคนจะมีปัญหาการเห็นแสงสะท้อนหรือแสงฟุ้งในที่มืด เป็นอาการที่รบกวนการมองเห็นในที่มืด ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากที่ดวงตาปรับสภาพการมองเห็นจนกลับมาเป็นปกติหรือใช้วิธีการสวมแว่นตาและยาหยอดตา

●   ภาวะตาแห้ง สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการใช้น้ำตาเทียมหยอดตาได้ตามความเหมาะสม

●   ความดันภายในตาสูงขึ้น ความดันนี้เกิดจากยาที่ผู้ป่วยได้รับหลังการผ่าตัดแล้ว ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการปรับยา

การมองเห็นจะเป็นอย่างไรหลังการผ่าตัด

ผลลัพธ์ระยะยาวของการผ่าตัดรักษาสายตาด้วยวิธี PRK

●   ผู้รับการรักษาจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งในระยะใกล้และไกล โดยไม่ต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อีกต่อไป

●   การมองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงสว่างน้อยจะดีขึ้นเมื่อกระจกตาฟื้นตัวเต็มที่

คำแนะนำในการดูแลการมองเห็นหลังการผ่าตัด

●   ควรไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดและประเมินการฟื้นตัว

●   เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนและการติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือสัมผัสตา

●   ใช้ยาหยอดตาที่แพทย์สั่งตามคำแนะนำเพื่อช่วยในการฟื้นตัว

การมองเห็นของผู้รับการรักษาด้วยวิธี PRK จะดีขึ้นอย่างมากหลังจากการฟื้นตัวครบถ้วน อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาสายตาและการตอบสนองต่อการรักษา

การทำ PRK เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาดวงตาเพื่อให้ผู้มีปัญหาทางสายตากลับมามองเห็นโดยไม่จำเป็นต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ ซึ่งมีข้อจำกัดในการรักษาน้อยกว่าการทำเลสิก (Lasik)

 ต้อลม (pinguecula) รักษายังไงให้หายขาด
 รักษาสายตาสั้นยาวเอียงด้วย PRK คืออะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
 กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) กี่วันหาย ใช้ยาอะไร
 ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK
 รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?
 การรักษา ต้อกระจก ผ่าตัดเป็นเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่?
 ไขข้อข้องใจ สายตาเอียง (Astigmatism) หายเองได้หรือไม่
 PRK กับ LASIK ต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน

Copyright © 2024 All Rights Reserved.