การรักษา ต้อกระจก ผ่าตัดเป็นเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่?

 การรักษา ต้อกระจก ผ่าตัดเป็นเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่?

  ต้อกระจกส่วนใหญ่เกิดจากอายุมากขึ้น เลนส์ตาเสื่อมสภาพ มองภาพไม่ชัด แนะวิธีรักษา ต้อกระจก ผ่าตัด และสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียง ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

      ปัจจุบันอายุ แสงแดด หรือปัจจัยเสี่ยงต่าง เช่น ยาสเตียรอยด์ เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดต้อกระจกที่ดวงตา ไม่มีตัวยากินหรือยาหยอดตาที่สามารถรักษาให้หายขาด ทำให้หลายคนอยากทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เรามารู้จักวิธีการป้องกันและรักษา ผ่าตัดต้อกระจกให้ทันเวลาก่อนเลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพจนรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นในที่สุด

การรักษาต้อกระจกมีกี่วิธี

ต้อกระจกเป็นภัยเงียบที่มีผลกับการมองเห็น แค่อายุที่มากขึ้นก็เป็นปัจจัยเสี่ยงแล้ว รวมถึงปัจจัยเสี่ยงร่วมจากแสงแดดจ้า ประวัติโรคทางตาต่างๆ โรคเบาหวาน ทำให้มีต้อกระจกซึ่งทำให้การมองเห็นลดลง นอกจากต้อกระจกพบบ่อยในผู้สูงอายุ ในเด็กเล็กก็เป็นโรคนี้ได้ ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อพัฒนาการทั้งตาและสมองอย่างมาก การรักษาในระยะเริ่มแรกที่ยังมีอาการน้อย มีการใช้ยาหยอดตาทุกวันเพื่อบรรเทาอาการช่วยชะลอเวลาไม่ให้เลนส์ตาขุ่นเร็วได้ย้าง แต่หลังจากนั้น หากต้อกระจกเป็นมากขึ้นตามอายุ ต้องรักษาโดยการผ่าตัดนำต้อกระจกออกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม (Cataract Surgery and intraocular lens implantation) หลังจากรักษาแล้วโรคต้อกระจกจะไม่กลับมาเป็นอีก

ปกติโรคต้อกระจกแบ่งอาการออกเป็น 4 ระยะ เริ่มแรกเลนส์ตายังไม่ขุ่นมาก มองภาพไม่ชัดเหมือนมีหมอกหรือฝ้าบัง เป็นภัยเงียบที่มีผลกับการมองเห็นมากขึ้น ตามัวลงเรื่อย ๆ แต่ไม่เจ็บปวด อาการคล้ายสายตาสั้นในช่วงแรก ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยาก หากผู้ป่วยสังเกตและประเมินตัวเองเบื้องต้นแล้วสงสัยว่ามีอาการคล้ายกับโรคต้อกระจก ก็ควรเข้าพบให้จักษุแพทย์วินิจฉัยตั้งแต่ยังอยู่ในระยะที่ผ่าตัดได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนถึงระยะที่เลนส์ตาขุ่นและเกิดการอักเสบก็จะมีความเสี่ยงกลายเป็นต้อหิน ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้โดยไม่รู้ตัว

วิธีการผ่าตัดต้อกระจก

ปัจจุบันการผ่าตัดต้อกระจกมีหลายทางเลือกด้วยกัน เช่น

1.เทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (Femtosecond Laser)

ข้อดีคือมีความแม่นยำและปลอดภัย เปิดแผลเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัวออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปทดแทน ใช้เวลาเพียงแค่ 25-30 นาทีเท่านั้น มีแผลผ่าตัดเล็ก ผู้ป่วยมองเห็นและใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที สามารถแก้ไขภาวะสายตา สั้น ยาว เอียงได้ด้วย

ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายสูงตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทั้งยังมีข้อจำกัดต่อผู้ที่ไม่สามารถขยายม่านตาหรือกระจกตาดำขุ่นมัวจนกระทั่งแสงเลเซอร์ไม่ทะลุผ่าน ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผล และในปัจจุบันการผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยใบมีดและเครื่องสลายต้อกระจกสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าอีกด้วย

2. การผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction หรือ ECCE)

 เป็นการผ่าตัดที่นิยมในช่วงแรกๆ เป็นการผ่าตัดโดยการเปิดแผลที่กระจกตาด้านบนยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เปิดฝาถุงหุ้มเลนส์เพื่อเอาต้อกระจกออกทั้งก้อน แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมอันใหม่เข้าไปแทนที่

ข้อดีคือผู้ป่วยมองเห็นได้ชัดขึ้นหลังการผ่าตัด ไม่ต้องสวมแว่นตา นิยมใช้ในกรณีที่เป็นนานแล้ว ต้อกระจกขุ่นและเนื้อแข็งมาก แผลผ่าตัดจะกว้างประมาณ 8-10 มิลลิเมตร

ข้อเสียคือแผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ ต้องเย็บปิดแผล ใช้เวลาพักฟื้นนาน 6-8 สัปดาห์ อาจเกิดสายตาเอียงจากการเย็บแผลที่กระจกตา และมักต้องมีการตัดไหมหลังผ่าตัด

3.การผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กแบบไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก (Manual Small Incision Cataract Surgery หรือ MSICS) 

เป็นการผ่าตัดลอกต้อกระจกแผลเล็ก สามารถทำได้ในผู้ป่วยต้อกระจกเกือบทุกประเภท 

ข้อดีคือการผ่าตัดใช้เวลาสั้นกว่า การฟื้นตัวก็เร็ว ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นและใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที ช่วยลดปัญหาการเกิดภาวะสายตาเอียงที่เกิดหลังการผ่าตัด แผลผ่าตัดจะกว้างประมาณ ขนาด 3.0 - 7.0 มิลลิเมตร 

ข้อเสีย คือ อาจมีภาวะสายตาเอียงจากการเปิดกระจกตาที่กว้างหรือจากการเย็บแผลที่กระจกตา

4.การผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาออกทั้งก้อนรวมทั้งถุงหุ้มเลนส์ (Intracapsular Cataract Extraction, ICCE)

 เป็นการผ่าตัดเอาเลนส์ตาออกทั้งหมด โดยไม่มีถุงหุ้มเลนส์แก้วตาเหลืออยู่ วิธีนี้ใช้กันในสมัยก่อนที่ไม่มีการใส่เลนส์แก้วตาเทียม หลังการรักษาอาจต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์

ข้อดีคือเป็นวิธีมาตรฐานในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันมีวิธีอื่นเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ยกเว้นกรณีดวงตาได้รับอุบัติเหตอย่างรุนแรงซึ่งจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

 ข้อเสียคือผลของการผ่าตัดใช้เวลานาน หากไม่ได้ใส่เลนส์แก้วตาเทียมแบบแขวนพร้อมกัน ผู้ป่วยจะยังมีตามัวอยู่ ต้องใส่แว่นตา หรือผ่าตัดแขวนเลนส์ตาเทียมอีกครั้ง

5.การผ่าตัดต้อกระจกโดยวิธีการสลายต้อ (Phacoemulsification)

เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดคือการผ่าตัดเพื่อสอดเครื่องมือปล่อยคลื่นอัลตราซาวด์ความถี่สูงเข้าไปสลายเลนส์แก้วตาเก่าให้มีขนาดเล็ก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมใหม่เข้าไปแทนที่

 ข้อดีคือแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 2.2-3.0 มิลลิเมตรเท่านั้น บางรายไม่ต้องเย็บแผลเลย แผลจะสมานได้เอง กลับมาใช้สายตาหลังการผ่าตัดได้เร็ว และสายตาเอียงจากการผ่าตัดน้อยกว่าด้วย

ข้อเสียคือบางรายอาจมีอาการเคืองจากแผลบ้าง

การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัดต้อกระจก

ก่อนผ่าต้อกระจก

​รับประทานยาประจำตัวได้ตามปกติ ยกเว้นยาบางชนิดที่แพทย์ให้งดก่อนผ่าตัด เช่น ยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด และยาละลายลิ่มเลือด ที่อาจหยุดยา 5-7 วันก่อนผ่าตัดได้

​กรณีมีโรคประจำตัว และมีประวัติแพ้ยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน 

 -     ​หยอดยาป้องกันการติดเชื้อ 1-3 วันก่อนวันผ่าตัด

    -        ​ฝึกนอนราบและคลุมโปงประมาณ 30 นาทีตามลักษณะการผ่าตัด

   -        ​ก่อนวันผ่าตัดควรพักผ่อนให้เต็มที่

     -        ​ล้างหน้า สระผมให้สะอาด งดการแต่งหน้า มาถึงโรงพยาบาลประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อหยอดยาก่อนเวลาผ่าตัด

​แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ ก่อนเข้าห้องผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมง และเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องผ่าตัด ​นอนนิ่ง ๆ ระหว่างผ่าตัด ผู้ป่วยจะรู้ตัวขณะผ่าตัด รู้สึกโดนกดตา แต่ไม่เจ็บ หากจะไอจามหรือขยับศีรษะต้องแจ้งแพทย์ก่อน แต่ถ้ากลัวหรือกังวลสามารถดมยาสลบได้

หลังผ่าต้อกระจก

หลังผ่าตัดต้อกระจกเสร็จเรียบร้อย ผู้ป่วยจะพักในห้องพักฟื้นประมาณ 30 นาทีแล้วจึงกลับบ้านได้ ควรสวม แว่นตา สำ ห รับ คน ผ่า ต้อกระจก เพื่อปกป้องดวงตาของคุณจากแสงสว่างและแสงจ้าระหว่างเดินทางกลับบ้าน  หลังผ่าตัดวันแรกควรระวังการไอจามแรง ๆ หรือท้องผูกเบ่งถ่ายแรง ๆ รับประทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นอาหารรสจัด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 ​เช็ดทำความสะอาดดวงตาวันละ 2 ครั้ง และหยอดยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้

หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์แรก ระมัดระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าดวงตา ไม่ควรสระผมด้วยตนเอง ใช้น้ำสุกหรือน้ำเกลือเช็ดทำความสะอาดแทนการล้างหน้าตามปกติ และใช้ที่ครอบตาเวลานอนเพื่อป้องกันการขยี้ตา

หลังผ่าตัด 1 เดือนแรก ควรป้องกันใบหน้าด้วยการใส่แว่นป้องกันแสงแดด ฝุ่นละออง การขยี้ตา ตลอดการกระทบกระเทือนที่ดวงตา ไม่ควรยกของหนัก งดเว้นการทำครัว ทำสวน ออกกำลังกาย มาตรวจตามแพทย์นัดและตัดแว่นตาได้

 ​หลังผ่าตัดระยะแรกต้องระวังเรื่องแผลที่ตาเกิดการติดเชื้อ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดตา ตาแดง ให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัดได้

การผ่าตัดต้อกระจกใช้เวลาพักฟื้นกี่วัน

เมื่อทราบกันแล้วว่า การรักษา ต้อกระจกมีกี่วิธี บางกรณีใช้การหยอดยาชาหรือฉีดยาชาเฉพาะที่ ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แผลมีขนาดเล็กมากและสมานได้เองโดยไม่ต้องเย็บแผล โดยปกติจะหลังการผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หลังจากพักฟื้นหลังผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วก็เดินทางกลับบ้านได้ หากผ่าตัดโดยใช้ยาดมสลบ สามารถกลับบ้านได้เมื่ออาการคงที่หลังจากพักฟื้นประมาณ 4-6 ชั่วโมง หรืออาจนอนพักรักษาตัวที่ รพเมื่อเปิดตาในวันรุ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชัดเจนและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ขณะที่บางคนอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ หรือประมาณ 1-2 เดือนกว่าที่การมองเห็นจะกลับมาเป็นปกติ ระหว่างนี้แพทย์อาจแนะนำให้สวมแว่นสายตาร่วมด้วยเพื่อให้เห็นภาพคมชัดขึ้น

หลังผ่าตัดต้อกระจกควรใส่แว่นแบบไหน

หลายคนมีความสงสัยว่า หลังผ่าตัดต้อกระจกควรใส่แว่นสายตาแบบไหนดี หลังผ่าตัดในวันถัดไปถ้าไม่ต้องการใช้ที่ครอบตาพลาสติกปิดตา อาจเลือกสวมแว่นตากันแดดสีชาเพื่อป้องกันแสงแดด ฝุ่น และลม กรณีหลังผ่าตัดยังเห็นภาพไม่ชัด แพทย์อาจแนะนำให้ใส่ แว่นสายตาเพื่อให้ภาพคมชัดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการสายตาเอียงอันเป็นผลข้างเคียงจากการผ่าตัด หากการมองเห็นแย่ลงกว่าเดิมควรมาพบจักษุแพทย์ทันที 

แนะนำแพ็คเกจผ่าตัดต้อกระจก 

สำหรับคนที่เริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น แนะนำให้รับคำปรึกษาที่ศูนย์โรคต้อกระจก โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีจักษุแพทย์ตรวจประเมินสายตาเเละพิจารณาความเหมาะสมในการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงการผ่าตัด ต้อกระจกแบบไร้ใบมีด พร้อมเลนส์พรีเมียมที่แก้ปัญหาต้อกระจกให้การมองเห็นกลับมาปกติดังเดิม หากผู้ป่วยมีอาการสายตาสั้น ยาว หรือเอียงร่วมด้วยก็ไม่เป็นปัญหา โดยแพทย์จะใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่มีกำลังขยายพอดีเข้าไป ทำให้กลับมามองเห็นชัดเป็นปกติทันทีโดยใช้เวลาพักฟื้นระยะเวลาสั้น และไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด

 อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต้อกระจก
 ต้อลม (pinguecula) รักษายังไงให้หายขาด
 สาเหตุ อาการ และการรักษา กระจกตาเป็นแผลมองไม่ชัด
 ก่อนทำเลสิกต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง? เตรียมตัวอย่างไร?
 ต้อหินมุมปิดรักษาอย่างไรให้หายขาด ใช้เวลานานไหม
 สาเหตุการเกิดต้อเนื้อ พร้อมวิธีรักษาและการดูแลหลังผ่าตัดต้อเนื้อ
 ข้อควรรู้ก่อนทำเลสิก (Lasik) เลสิกมีกี่แบบ
 ถามตอบเรื่องที่คุณสงสัย กับการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL)
 ทำไมทำเลสิกแล้วตาแห้ง น้ำตาเทียมช่วยได้อย่างไร?
 ตรวจวัดสายตากับนักทัศนมาตรดีจริงไหม

Copyright © 2024 All Rights Reserved.