Femto Lasik เลสิกไร้ใบมีด นวัตกรรมแก้ไขปัญหาสายตา
เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) คือการทำเลสิคกนำเทคโนโลยีเฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser)ผ่าตัดแก้ไขสายตา ให้ผลการรักษาที่แม่นยำ ปลอดภัยกว่าการทำเลสิก (Lasik) แบบเดิม
สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา ทั้งอาการสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง คงจะต้องประสบปัญหาในการชีวิตประจำวันกันอยู่บ้างในวันที่ไม่ได้สวมแว่นสายตาหรือสวมคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) หากมีวิธีที่ทำให้สายตากลับมาเป็นปกติโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาการใส่แว่นตาก็คงจะดี
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการรักษาอาการผิดปกติทางสายตาที่ให้ผลดีเยี่ยม นั่นคือ เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) หรือการทำเลสิกแบบไร้ใบมีด ซึ่งสามารถแก้ปัญหาทางสายตาได้อย่างถาวร แต่การทำ Femto Lasikนั้นคืออะไร มีขั้นตอนในการทำอย่างไร แล้วมีความปลอดภัยมากแค่ไหน บทความนี้มีคำตอบ
รู้จักกับ Femto Lasik เลสิกไร้ใบมีด คืออะไร
“เฟมโตเลสิค” (Femto Lasik) เป็นรูปแบบของการ ทำเลสิก (Lasik) รูปแบบใหม่ ด้วยการผ่าตัดแบบไร้ใบมีด ด้วยการนำเทคโนโลยีเฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) มาใช้ในกระบวนการรักษาอาการผิดปกติทางสายตา โดยสามารถแยกชั้นกระจกตา กำหนดความลึกของชั้นกระจกตาได้อย่างแม่นยำ ไม่สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ ซึ่งจะทำให้แผลจากการผ่าตัดสมานตัวได้เร็วกว่าการทำเลสิก (Lasik) แบบดั้งเดิม
โดยเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) นั้นจะมีความแตกต่างจากการทำเลสิกแบบใช้ใบมีด คือ Femto Lasik จะใช้คลื่นความถี่จากเฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) นั้นมีความถี่สูง มีความแม่นยำมาใช้แยกชั้นกระจกตาแทนใบมีด โดยคลื่นนี้จะมีพลังงานต่ำลงไปที่เนื้อเยื่อเพื่อทำให้เกิดฟองอากาศ (Gas Bubble) ด้วยการสร้างคลื่นเล็กๆ ซึ่งสามารถแยกชั้นกระจกตาได้ ไม่เกิดความร้อนที่ดวงตา จึงใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย ทำให้มีความปลอดภัยสูงจนไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลข้างเคียง สามารถผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติได้หลายชนิด
ข้อดีและข้อจำกัดของการทำ Femto Lasik
●ข้อดีของการทำ Femto Lasik มีดังนี้
- สามารถแยกชั้นกระจกตาได้แม่นยำและมีความบางกว่าการใช้ใบมีดในการผ่าตัด ลดการสูญเสียเนื้อกระจกตาจากการรักษาได้มาก
- สามารถแก้ไขค่าความผิดปกติของสายตาได้ดีกว่า เพราะการแยกชั้นกระจกตาด้วยวิธีเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) จักษุแพทย์สามารถกำหนดความลึก ความหนา ของกระจกตาได้ละเอียดมากกว่าการทำเลสิกแบบเดิม โดยสามารถแยกชั้นกระจกตาได้บางถึง 90-120 ไมครอน ในขณะที่การเลสิกแบบเดิมทำได้เพียง 130-150 ไมครอน
- มีผลข้างเคียงต่อการรักษาที่น้อยกว่า เช่น อาการกระจกตาถลอกหลังการผ่าตัด อาการเคลื่อนของกระจกตาหลังการผ่าตัด ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษา
- วิธีการเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) ทำให้ขอบแผลเรียบ ส่งผลให้กระจกตาสามารถสมานกันได้เร็วกว่า
- มีโอกาสในการติดเชื้อน้อยกว่าการ ทำเลสิก (Lasik) แบบทั่วไป
- ความดันลูกตาขณะผ่าตัดน้อยกว่าการแยกชั้นกระจกตาด้วย ไมโครเครราโตม (Microkeratome) จึงปลอดภัยต่อขั้วประสาทตามากกว่า
●ข้อจำกัดของการทำ Femto Lasik
- Femto Lasik มีโอกาสในการเกิดภาวะแผลอักเสบในชั้นกระจกตา (diffusion lamellar keratitis) มากกว่าเลสิคทั่วไป
- อาจเกิดอาการแพ้แสงชั่วคราว (Transient light-sensitivity syndrome) ซึ่งมีผลมาจากการอักเสบของกระจกตา โดยสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
- อาจเกิดอาการที่เรียกว่า Opaque Bubble Layer คืออาการของการมีฟองอากาศเกิดขึ้นและแทรกเข้าไปในช่องหน้าม่านตา โดยเกิดจากการที่ เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) ดูดซับเนื้อเยื่อข้างเคียงไม่ทันจึงแทรกเข้าไปสะสมในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของกระจกตา แต่ทั้งนี้ไม่มีผลต่อการรักษาในระยะยาว
Femto Lasik มีขั้นตอนการทำอย่างไรและควรเตรียมตัวอย่างไร
●การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
- งดสวมคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) โดยหากเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ควรงดใส่เป็นเวลา 7 วันก่อนผ่าตัด หากเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งหรือกึ่งนิ่ม ให้งดสวมใส่เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- งดทานยาในกลุ่มยารักษาสิวกลุ่ม Isotretinoin เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
- เข้ารับการตรวจวัดค่าสายตากับจักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลชั้นนำ โดยแพทย์จะใช้การตรวจค่าสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ความแม่นยำ เพื่อคำนวณหาค่าสายตาที่เหมาะสมกับการรักษา
- วัดระยะสายตาในการมองเห็น ซึ่งจะเป็นการตรวจสายตาจากจักษุแพทย์เอง ว่าผู้เข้ารับการรักษามีระยะการมองเห็นอยู่ในระยะใกล้หรือไกลมากน้อยแค่ไหน โดยวัดจากการมองตัวอักษรที่มีขนาดต่างๆ
- วัดความดันลูกตา เนื่องจากค่าความดันภายในลูกตานั้นมีความสำคัญต่อการผ่าตัดด้วยวิธีการเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) จึงต้องมีการตรวจว่าค่าความดันลูกตาอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ โดยค่าความดันลูกตายังบ่งบอกความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับตาอย่างอื่นได้ด้วย
●ขั้นตอนการรักษาด้วย Femto Lasik
- ก่อนทำเลสิก (Lasik) แพทย์จะหยอดยาชา ยาปฏิชีวนะให้ผู้เข้ารับการรักษาก่อนการผ่าตัด เพื่อลดอาการเจ็บขณะรักษา
- แพทย์จะใส่เครื่องมือถ่างตาเพื่อป้องกันผู้เข้ารับการรักษากะพริบตา โดยจะให้มองไปยังดวงไฟสีเขียวในเครื่องมือตลอดเวลา โดยขั้นตอนนี้แพทย์จะใช้เลเซอร์แยกชั้นกระจกตา
- เมื่อชั้นกระจกตาถูกแยกแล้ว แพทย์จะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) เพื่อปรับแต่งค่าความโค้งของกระจกตาตามที่คำนวณไว้
- เมื่อปรับค่าความโค้งของกระจกตาแล้ว แพทย์จะนำกระจกตาไปปิดกลับคืน โดยไม่ต้องเย็บแผล เพราะกระจกตาจะสมานตัวเองได้เบื้องต้นภายในไม่กี่นาที
- เมื่อรักษาเสร็จแล้ว แพทย์จะนำที่ครอบตามาใส่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสดวงตา
- การรักษาใช้เวลาไม่นาน ผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านและใช้ชีวิตตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังดวงตา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
- หลังการรักษา แพทย์จะนัดมาดูอาการในวันถัดไป โดยจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
การดูแลตนเองหลังการทำ Femto Lasik
-ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ควรพักสายตาบ่อย ๆ ไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเพ่งสายตา เช่น ขับรถ อ่านหนังสือ-ในระยะ 1 สัปดาห์แรก ควรสวมที่ครอบตาทุกครั้งเวลานอน เพื่อป้องกับการกระทบกระเทือนจนส่งผลให้กระจกตาเคลื่อนได้ และยังช่วยป้องกันเชื้อโรคได้-หยอดยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด-หากมีอาการตาแห้งให้หยอดน้ำตาเทียม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา-ระวังอย่าให้น้ำเข้าตา โดยเฉพาะเวลาที่อาบน้ำหรือสระผม ควรทำด้วยความระมัดระวัง เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์-หากต้องออกไปบริเวณที่มีแสงมาก หรือกลางแจ้ง ควรสวมแว่นกันแดดปกป้องดวงตา-หลีกเลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืน เพราะอาจมีภาวะแพ้แสงชั่วคราวหลังการรักษา-หากพบอาการผิดปกติ เช่น มองไม่ชัด ตาแดง ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
Femto Lasik เหมาะกับใครบ้าง
-ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องมีค่าสายตาที่คงที่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี-ผู้ที่มีค่าสายตาสั้นไม่เกิน 1,200 และผู้ที่มีค่าสายตาเอียงและสายตายาวไม่เกิน 600 แต่หากมีค่าสายตาที่มากกว่านี้ก็ยังสามารถทำได้ แต่เบื้องต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์-ผู้ที่มีภาวะกระจกตาบางจนไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยเลสิกได้-ผู้ที่ไม่เป็นโรคเกี่ยวข้องกับกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ภาวะตาแห้งระดับรุนแรง โรคต้อกระจก โรคต้อหิน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้หลังการทำ Femto Lasik
-อาจเกิดการอักเสบหรือแผลที่กระจกตาจากการสะสมของฟองอากาศที่เกิดจากพลังงานของเฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser)-เกิดภาวะตาแห้ง โดยสามารถหายเองได้ภายใน 6-12 เดือน-มีโอกาสเกิดการเคลื่อนของกระจกตา-อาจมีอาการแพ้แสงชั่วคราว โดยอาการสามารถหายเองได้-มีอาการตาแดง ระคายเคืองตา ควรใช้ยาหยอดตาเพื่อลดการอักเสบ รวมถึงหยอดน้ำตาเทียมเมื่อมีภาวะตาแห้ง
การรักษาอาการผิดปกติทางสายตาด้วยวิธีเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) ที่ใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ Femtosecond Laser นั้นมีความแม่นยำสูง แผลที่เกิดจากการรักษามีความเรียบเนียน ส่งผลให้การสมานตัวของกระจกตาทำได้เร็วและแนบสนิท ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีน้อยกว่าเลสิก (Lasik) แบบเดิมมาก
ใครที่กำลังมีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แล้วต้องการรักษาอาการผิดปกติทางสายตาแบบถาวร สามารถเข้าไปปรึกษาจักษุแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลตากรุงเทพ (EYE BANGKOK HOSPITAL) ก่อนได้ เพื่อที่จะได้นำมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
บริษัท โรงพยาบาลตากรุงเทพ จำกัด
อาคารเดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม 540 ชั้น7 ห้อง703
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1033002-869-8899
Copyright © 2024 All Rights Reserved.