การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิก Femto Lasik

 การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิก Femto Lasik

Femto Lasik คือวิธีการรักษาดวงตาด้วยวิธีการผ่าตัดโดยไม่ใช้ใบมีด เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือผู้ที่มีข้อจำกัดในการสวมใส่แว่นตาและคอนแทคเลนส์ (Contact Lens)

ดวงตา เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่ช่วยให้รับรู้และตีความจากสิ่งที่มองเห็นได้อย่างแม่นยำ ซึ่งดวงตาอาจพบปัญหาได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การบาดเจ็บหรือภาวะทางการแพทย์ ปัญหาสายตาที่พบได้บ่อยได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) แต่ในบางกรณีอาจไม่สามารถใช้วิธีดังกล่าวในการแก้ไขปัญหาได้ จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการรักษาด้วยวิธีการเลสิก (Lasik)

Femto LASIK คืออะไร

เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) หรือ Femtosecond Laser-Assisted In Situ Keratomileusis เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดตาที่ไร้ใบมีด โดยใช้เลเซอร์ในการผ่าตัด ทำให้มีความแม่นยำสูง ปลอดภัยและเจ็บปวดน้อยที่สุด ในการแก้ไขปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยการผ่าตัด ทำเฟมโตเลสิค (Femto Lasik) ใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในการสร้างฝาปิดกระจกตาและเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาเพื่อให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น ก่อนที่จะปิดฝากระจกตาให้กลับสู่สภาพเดิม

ประเภทของการผ่าตัดด้วยเลเซอร์

การผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีเทคโนโลยีและวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ReLEx SMILE

วิธีการผ่าตัด ReLEx SMILE (Small Incision Lenticule Extraction) เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับเทคนิคการ ทำ Lasik แบบดั้งเดิม ด้วยการใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) เข้ามาใช้ในการผ่าตัด ด้วยคุณสมบัติและความสามารถของเลเซอร์จึงทำให้ไม่ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบ แผลที่ได้มีขนาดเล็กและไม่รู้สึกเจ็บปวดมาก จึงทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธี ReLEx SMILE

-แผลมีขนาดเล็ก ทำให้การฟื้นตัวเร็วขึ้นและลดความเสี่ยงของแผลเป็น-ลดปัญหาตาแห้งหลังผ่าตัด

เหมาะสำหรับ

-ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น ไม่เกิน 1,000 หรือสายตาเอียง ไม่เกิน 500 หรือเป็นทั้งสั้นและเอียง-ผู้ที่ต้องการการฟื้นตัวเร็วและลดปัญหาตาแห้ง

2. Bladeless Femto Lasik

วิธีการผ่าตัด Bladeless Femto Lasik เป็นวิธีการผ่าตัดแบบไร้ใบมีด หรือที่เรียกกันว่าเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) ซึ่งการผ่าตัดจะใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในการสร้างฝาปิดกระจกตา จากนั้นใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตา

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธี Bladeless Femto Lasik

-มีความแม่นยำสูงและลดความเสี่ยงของฝาปิดกระจกตาหลุดหรือไม่แนบสนิท-การฟื้นตัวรวดเร็ว-ภาวะแทรกซ้อนน้อย

เหมาะสำหรับ

-ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น 100-1,000 หรือสายตาเอียง ได้ถึง 600-ผู้ที่ต้องการการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยและความแม่นยำสูง-ผู้ที่มีตาค่อนข้างเล็ก

3. Microkeratome Lasik

วิธีการผ่าตัด ไมโครเครราโตม เลสิก (Microkeratome Lasik) เป็นวิธีการผ่าตัดแบบใช้ใบมีดอัตโนมัติ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Microkeratome ในการสร้างฝาปิดกระจกตา จากนั้นใช้เลเซอร์ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตา

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธี ไมโครเครราโตม เลสิก (Microkeratome Lasik)

-มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า Bladeless Femto Lasik-มีระยะเวลาที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่า ReLEx SMILE-มีอาการระคายเคืองน้อยกว่า PRK

เหมาะสำหรับ

-ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นค่าสายตา 0-10D, สายตายาว 0-5 D และสายตาเอียง 0-5 D

4. PRK (Photorefractive Keratectomy)

วิธีการผ่าตัด PRK เป็นวิธีการที่ใช้เลเซอร์ ในการลอกชั้นผิวบาง ๆ ของกระจกตาออกและปรับแต่งความโค้งของกระจกตาโดยตรง ไม่มีการผ่าตัด 

ข้อดีของวิธี PRK

-PRKไม่มีการสร้างฝาปิดกระจกตา ทำให้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับฝาปิดกระจกตา

เหมาะสำหรับ

-เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบาง-ผู้ที่มีปัญหาฝาปิดกระจกตาจากการผ่าตัดเลสิค-นักบิน ทหารหรือตำรวจ

ใครสามารถเข้ารับการรักษาแบบ Femto Lasik ได้บ้าง

การผ่าตัด เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยที่แว่นสายตา คอนแทคเลนส์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หรือเพื่อการรักษาสำหรับบางอาชีพที่ไม่สามารถใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ได้ เช่น นักบิน ตำรวจ ทหาร หรือนักกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและไม่สามารถใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในการแก้ไขปัญหาได้ เช่น นักกีฬาฟุตบอล ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษาแบบเฟมโตเลสิก (Femto Lasik)  ควรมีคุณสมบัติดังนี้

-ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรมีอายุมากกว่า 18 ปี และมีสายตาคงที่อย่างน้อยหนึ่งปี-คนที่มีปัญหาสายตาสั้นประมาณ 1,000-1,200สายตายาวและสายตาเอียง-คนที่ไม่มีโรคตาที่ทำให้การผ่าตัดมีความเสี่ยง เช่น การอักเสบของตา โรคต้อหินหรือโรคกระจกตาเสื่อม-ไม่เป็นโรคที่อาจมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง-มีสุขภาพที่แข็งแรง มีกระจกตาที่แข็งแรง-ผู้ที่ไม่สามารถสวมใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ (Contact Lens)เนื่องจากความจำเป็นในอาชีพ

Femto Lasik ทำงานอย่างไร

ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธี เฟมโตเลสิค (Femto Lasik) เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงความเป็นจริงในการรักษาและความคาดหวังหลังการรักษาที่จะได้รับอย่างเหมาะสม เมื่อตัดสินใจที่จะรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว ให้เข้ารับการปรึกษาจากจักษุแพทย์ที่มีความชำนาญ และมีสถานพยาบาลที่เพียบพร้อมไปด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย 

● การเตรียมตัว

ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด รวมถึงการวัดความหนาของกระจกตา และการประเมินสภาพสายตาโดยจักษุแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์
  • การประเมินระยะที่มองเห็น
  • การวัดและประเมินความดันลูกตา
  • การตรวจและประเมินสภาวะตาแห้ง-การตรวจสภาพจอประสาทตา-การหยอดยาขยายม่านตา

● การผ่าตัด

  • ขั้นตอนแรกแพทย์จะใช้ยาชา หยอดตาให้กับผู้เข้ารับการรักษา รอจนยาชาออกฤทธิ์จึงจะเริ่มรักษา
  • ขั้นตอนที่สอง แพทย์จะใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ (Femtosecond Laser)ในการผ่าเพื่อแยกชั้นสร้างฝาปิดกระจกตาบาง ๆ
  • ขั้นตอนที่สาม แพทย์จะยกฝาปิดกระจกตาขึ้นและใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser)ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตา
  • ขั้นตอนสุดท้าย แพทย์จะปิดกระจกตากลับที่เดิมและใส่ที่ครอบตา โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 15-30 นาทีต่อตาหนึ่งข้าง

ความเสี่ยงจากการทำ Femto Lasik

แม้ว่าการผ่าตัดเฟมโตเลสิก (Femto Lasik)  จะมีความปลอดภัยสูงและให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ แต่ยังมีความเสี่ยงที่ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องพิจารณาและระมัดระวังในการดูแลตนเองหลังการรักษา

  • การติดเชื้อ แม้จะพบได้น้อย แต่การติดเชื้อยังคงเป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง
  • การเกิดแผลเป็นบนกระจกตา ซึ่งอาจเกิดแผลเป็นที่กระจกตาหลังผ่าตัดได้
  • ภาวะการมองเห็นไม่ชัดเจนชั่วคราว โดยจะเกิดขึ้นในช่วงการฟื้นตัว ผู้ป่วยอาจมองเห็นไม่ชัดเจน หรือมีภาพซ้อน
  • อาจพบปัญหาการเห็นแสงสะท้อนหรือแสงฟุ้งในที่มืด
  • ในบางกรณีอาจมีปัญหาเกี่ยวกับฝาปิดกระจกตาหลุดหรือไม่แนบสนิท โดยเฉพาะหากได้รับแรงกระแทกที่รุนแรงบริเวณตาหรือใกล้ตา

กระบวนการฟื้นฟูและดูแลตนเองหลังการทำ Femto Lasik

  • ช่วงเวลาหลังการผ่าตัดทันที-วันแรกหลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดแสบหรือระคายเคืองในตา มีน้ำตาไหล แพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)-ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการใช้สายตามากในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด
  • สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด-หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ การใช้คอมพิวเตอร์ หรือดูโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ-หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่น สิ่งสกปรก และหลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือสัมผัสตาด้วยมือ ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าตา-ใช้ยาหยอดตาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยในการฟื้นฟู
  • 1-3 เดือนหลังการผ่าตัด-แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าการมองเห็นดีขึ้นและไม่มีปัญหาใด ๆ-การมองเห็นจะค่อยๆ คงที่และดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  • คำแนะนำในการดูแลตนเองหลังการผ่าตัด-ควรพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการใช้สายตามากเกินไป-ใช้แว่นกันแดดเมื่อออกไปข้างนอกเพื่อป้องกันแสงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)และแสงจ้า-ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ใช้ยาหยอดตาตามที่แพทย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง

การดูแลดวงตาหลังการผ่าตัดเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การฟื้นตัวและการมองเห็นเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

 ใครเสี่ยงเป็นวุ้นในตาเสื่อมบ้าง พร้อมแนะนำแนวทางการป้องกันและรักษาให้ถูกวิธี
 รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?
 ใครบ้างเสี่ยงเป็นต้อลม เป็นแล้วหายได้หรือไม่
 การรักษา ต้อกระจก ผ่าตัดเป็นเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่?
 ข้อควรรู้ก่อนทำเลสิก (Lasik) เลสิกมีกี่แบบ
 Lasik ใบมีด และ FemtoLASIK ต่างกันอย่างไร
 สายตาสั้นแต่อยากทำ LASIK ใบมีด อันตรายไหม?
 ICL หรือ Implantable Collamer Lens ทางเลือกใหม่การรักษาสายตาผิดปกติ
 ถุงเลนส์ตาขุ่นหลังผ่าตัดต้อกระจก รักษาอย่างไร
 อาการตาแห้งแก้ได้อย่างไร ต้องหยอดตาหรือไม่