ความแตกต่างของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและหนังตาตก

 ความแตกต่างของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและหนังตาตก

ดวงตาถือเป็นอวัยวะสำคัญในร่างกาย นอกจากจะช่วยในการมองเห็นแล้ว ยังช่วยเสริมความงดงามให้กับใบหน้าของเราด้วย อย่างไรก็ตาม ดวงตาก็เป็นอวัยวะที่บอบบางและเสียหายได้ง่าย หากพบปัญหาของดวงตามีความผิดปกติ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือหนังตาตก ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเหล่านี้และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร

ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อขอบล่างของเปลือกตาบนคลุมตาดำมากกว่าปกติ ทำให้เห็นตาดำน้อยลง พบได้ในทุกเพศและทุกวัย บางรายเป็นมาตั้งแต่กำเนิดจากการมีไขมันแทรกแทนมัดกล้ามเนื้อที่เปลือกตา อาจก่อให้เกิดภาวะตาขี้เกียจได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

วิธีสังเกตอาการ

1. สังเกตว่าขอบเปลือกตาลงมาบังตาดำเกิน 2 มิลลิเมตร หรือตาดูง่วงตลอดเวลา

2. สังเกตชั้นตาว่าตกหรือหนาขึ้นกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งมักเป็นผลจากการที่ไขมันหนาขึ้นในบริเวณดังกล่าว มักจะมีชั้นตาที่หนากว่าปกติ

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะแบ่งเป็นสามวิธีหลัก ได้แก่:

1. การผ่าตัดแบบดึงกล้ามเนื้อเปิดตาแบบแผลด้านใน เหมาะสำหรับผู้ที่ยังสามารถเปิดตาได้เอง ซึ่งจะไม่ทิ้งแผลเป็นภายนอกอีกทั้งยังมีอาการบวมช้ำและผลข้างเคียงน้อย ชั้นตาที่ได้มีความเป็นธรรมชาติ

2. การผ่าตัดแบบมีแผลด้านนอก เหมาะสำหรับผู้ที่มีหนังตาตกและกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนล้า ขั้นตอนการผ่าตัดจะทำที่ชั้นกล้ามเนื้อลึกด้านใน เพื่อเป็นการดึงให้กล้ามเนื้อเปิดตาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม อาการบวมช้ำจะอยู่ประมาณ 3-7 วัน

3. การผ่าตัดดึงจากกล้ามเนื้อหน้าผาก เหมาะสำหรับผู้ที่แรงเปิดตาจากเปลือกตาหมดไปแล้วไม่สามารถความคุมการเปิดของเปลือกตาได้ตามปกติ การผ่าตัดประเภทนี้ต้องใช้ความชำนาญของจักษุแพทย์เฉพาะทาง

ภาวะหนังตาตก

คือการที่หนังตาบนหย่อนจนตกลงมาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ มักเกิดขึ้นตามอายุหรือจากพันธุกรรม หากปล่อยไว้จะผลกระทบกับการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวัน

วิธีสังเกตภาวะหนังตาตก

1. ตรวจสอบว่าหนังตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติหรือไม่

2. มีอาการแสบตาหรือรู้สึกหนักที่เปลือกตา

3. ตาดำมองเห็นได้น้อยลงเพราะเปลือกตาตกลงมาบังวิสัยทัศในการมองเห็น

4. ต้องเงยหน้าเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

วิธีรักษาภาวะหนังตาตก

1. การรักษาด้วยยาในกรณีที่มีการแสดงอาการไม่มากและไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

2. การผ่าตัดเพื่อปรับกล้ามเนื้อเปลือกตาให้กระชับขึ้น โดยหลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล

การเลือกสถานพยาบาลในการรักษา

1. ควรมีใบอนุญาตประกอบการจากกระทรวงสาธารณสุข

2. มีความชำนาญในด้านศัลยกรรมดวงตา หรือจักษุแพทย์เฉพาะทาง

3. ควรพิจารณาราคาที่เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป เพราะหากราคาถูกเกินไปอาจเสี่ยงว่าจะได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีคุณภาพ เนื่องจากว่าเครื่องมือทางการแพทย์มีต้นทุนสูง และบุคลากรทางการแพทย์ต้องมีความชำนาญ

คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสังเกตได้จากการที่ไม่สามารถลืมตาได้เต็มที่ ขณะที่หนังตาตกจะมีหนังส่วนเกินมาบดบังตา ควรถ่ายรูปหน้าตรงเพื่อตรวจสอบอาการเหล่านี้ หากพบความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม เพราะการดูแลรักษาดวงตาคือการปกป้องอวัยวะสำคัญที่สุดในชีวิตเรา.

 โรคกระจกตาโก่ง (Keratoconus)
 ใครบ้างเสี่ยงเป็นต้อลม เป็นแล้วหายได้หรือไม่
 Lasik ใบมีด และ FemtoLASIK ต่างกันอย่างไร
 รู้ทันสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงการเกิดต้อเนื้อ (Pterygium) ที่อาจทำให้ตาบอดได้
 ไขข้อข้องใจ สายตาเอียง (Astigmatism) หายเองได้หรือไม่
 กินหวานบ่อยๆ เสี่ยงเป็นภาวะเบาหวานขึ้นตาไหม
 เฝ้าระวังต้อกระจก (Cataract) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้มองเห็นชัดเจนอีกครั้ง
 สังเกตอาการวุ้นในตาเสื่อม ทำไมมองเห็นจุดดำและหยากไย่ลอยไปมา
 ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK
 ความแตกต่างของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและหนังตาตก