ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเป็นต้อหินจริงไหม ต้อหินมุมปิดอันตรายอย่างไร

 ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเป็นต้อหินจริงไหม ต้อหินมุมปิดอันตรายอย่างไร

ต้อหินเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ความดันในลูกตาสูงเสี่ยงเป็นต้อหินจริง หากผู้ป่วยมีอาการในระยะเริ่มต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้ตาบอดสนิท

ในบรรดาโรคตาเป็นต้อทั้งหมด ต้อหินเป็นภัยร้ายอันตรายที่สุด โดยมากจะเกิดขึ้นแบบเงียบ ๆ ไม่มีสาเหตุปัจจัยภายนอกและไม่สามารถรักษาให้หายขาด นับเป็นโรคร้ายที่ไม่เพียงทำให้สูญเสียการมองเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น อนาคตมีสิทธิ์ตาบอดสนิทได้เลย

รู้จักโรค ต้อหิน

โรคต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากการเสื่อมสภาพของเส้นประสาทตาที่มีลักษณะเฉพาะ ทำให้เกิดการสูญเสียเส้นประสาทตา ตรวจพบลักษณะขั้วประสาทตา (optic cup) มีขนาดใหญ่ขึ้น เหลือเส้นประสาทส่งภาพไปยังสมองน้อยลง ในช่วงแรก การมองเห็นทางตรงยังปกติดี แต่การมองเห็นด้านข้างจะค่อย ๆ แคบเข้ามา หากปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนักส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลายจนหมด การมองเห็นมัวลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นผู้ตาบอด สูญเสียการมองเห็นไปตลอดชีวิต 

การตรวจเช็กสุขภาพตาพื้นฐานอย่างน้อยปีละครั้ง เป็นการตรวจตัดกรองต้อหินเบื้องต้น ในรายที่มีความเสี่ยงต้อหิน เช่น ความดันตาสูงก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นโรคต้อหินทุกคน หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ต้องระมัดระวังและสังเกตตนเอง พร้อมกับเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินเพิ่มและแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป 

สาเหตุเกิดจากอะไร

ในปัจจุบันยังไม่แน่ชัดว่า ต้อหิน สาเหตุ เกิดจากอะไร ผู้ที่เป็นต้อหินมักมีความเสี่ยงดังนี้

-การถ่ายทอดทางพันธุกรรมผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นต้อหิน โดยเฉพาะพี่น้องสายตรงเมื่ออายุมากกว่า 40 ปีเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน และมีปัจจัยเสี่ยงเอื้อต่อการเกิดต้อหินได้มาก-สายตาสั้นมากหรือสายตายาวมากผิดปกติ-ความดันลูกตาสูง-ใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน-มีโรคประจำตัวที่ส่งผลกับระบบไหลเวียนของเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด-มีความผิดปกติทางตาอื่น ๆ เคยบาดเจ็บหรือผ่าตัดดวงตามาก่อน-อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนรุนแรงถึงดวงตาโดยตรง-การสูบบุหรี่

การเป็นต้อหินอันตรายกว่าโรคต้ออื่น ๆ มาก แม้อยู่ในวัยหนุ่มสาวก็มีความเสี่ยงเป็นโรคต้อหินได้เช่นกัน หากประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีปัญหาสายตาสั้นมากหรือยาวมาก ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แพทย์แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพตาคัดกรองต้อหินอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะถ้าพบเร็วจะรักษาและชะลอความเสียหายได้

อาการโรคต้อหินเป็นอย่างไร

ผู้ที่เป็น ต้อหินในช่วงระยะเริ่มต้นอาจวินิจฉัยได้ยาก ต้อหินแต่ละประเภทมีอาการแตกต่างกัน เช่น 

1. โรคต้อหินแบบมุมเปิด (Primary Open-Angle Glaucoma) เป็นต้อหินชนิดที่พบได้บ่อย ความดันในตาจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ไม่มีอาการเจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน จนกระทั่งสายตาพร่ามัวลงเรื่อย ๆ ซึ่งกินเวลานานหลายปีกว่าจะพบความผิดปกติว่าสายตาค่อย ๆ มัวลงและมุมมองแคบลง กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นต้อหินอาจแก้ไขไม่ทันเสียแล้ว หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะมีโอกาสรักษาการมองเห็นไว้ได้ 

2. โรค ต้อหิน มุม ปิด (Primary Angle-Closure Glaucoma) มีอาการแสดงคล้ายคลึงกับโรคต้อหินมุมเปิด ยกเว้นในบางรายอาจแสดงอาการปวดตาแบบฉับพลัน ตาพร่ามัวอย่างรวดเร็ว น้ำตาไหลมากกว่าปกติ เกิดอาการแพ้แสงจนเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ ปวดศีรษะมากและคลื่นไส้อาเจียน

ต้อหินเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แม้ได้รับการผ่าตัดต้อหินไปก็ไม่สามารถรักษาส่วนเส้นประสาทที่ถูกทำลายให้ฟื้นฟูกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม หากผู้ป่วยพบว่ามีอาการในระยะเริ่มต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็วที่สุด 

ลองเช็กกันไหมว่าคุณมีอาการของ “โรคต้อหิน” อยู่หรือไม่ 

  • มีปัญหาสายตา ประสิทธิภาพการกะระยะทางลดลง มักจะเดินชนสิ่งของด้านข้าง หรือด้านเหนือศีรษะบ่อย ๆ โดยไม่ตั้งใจ
  • ปวดตาหรือปวดศีรษะ และตาพร่า เมื่อใช้สายตานาน ๆ
  • คลื่นไส้อาเจียนปวดตาตาแดง เกิดจากความดันในตาเพิ่มสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน-เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ
  • ลองเอามือปิดตาข้างหนึ่ง แล้วสังเกตว่ามองเห็นภาพไม่ชัดเป็นปกติ

ต้อหินทำให้ตาบอดจริงไหม

ต้อหิน สาเหตุ อันดับต้น ๆ ที่ทำให้ตาบอดสนิท เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทตา มีผลให้ความดันภายในลูกตาค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น ถ้าไม่รีบรักษาหรือชะลอโรคต้อหินจนถึงระยะท้าย ๆ แล้ว โรคต้อหินอาจพัฒนากลายเป็นสาเหตุให้ตาบอดสนิทได้หากไม่ได้เข้ารับการรักษาหรือรักษาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะไม่มีโอกาสแก้ไขให้กลับมามองเห็นได้อีก

ต้อหินเกิดกับตาได้ทั้งสองข้าง กรณีที่เกิดโรคต้อหินกับดวงตาข้างหนึ่งแล้ว แพทย์แนะนำให้ดูแลถนอมดวงตาอีกข้างเอาไว้ให้ดี ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นต้อจากปัจจัยข้างต้นควรตรวจประเมินสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาโรคต้อหิน

​ปัจจุบันการรักษาโรคต้อหินอาจไม่มีวิธีทำให้หายขาดได้ แต่สามารถยับยั้งหรือประคับประคองไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น รวมถึงการลดความดันตาเพื่อควบคุมทำให้คงการมองเห็นไว้ได้นานที่สุด ในส่วนของการรักษาต้อหินทำได้หลายวิธี ทั้งยาหยอดตา เลเซอร์ และการผ่าตัด โดยใช้ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดความดันในตาเพื่อไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น 

การใช้แสงเลเซอร์และการผ่าตัดในกรณีที่ยาลดความดันตาไม่ได้ผล วิธีการใช้แสงเลเซอร์เป็นการตัดแต่งเนื้อเยื้อที่มุมตาเพื่อเปิดช่องทางระบายความดันของเหลวภายในดวงตาที่กดทับขั้วประสาทตาให้ไหลออกได้เร็วขึ้น ไม่ให้เส้นประสาทถูกทำลาย ช่วยให้ความดันลูกตาลดลงได้ กรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ แพทย์จะเลือกใช้เป็นวิธีการผ่าตัดต้อหินเพื่อทำทางระบายน้ำลูกตา หรือผ่าตัดใส่ท่อระบายเข้าไปเพื่อลดความดันตา และไม่ทำให้เส้นประสาทถูกทำลายเพิ่มเติม

​วิธีการรักษาในปัจจุบันช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ใช้ยาตามเวลาที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดและรับการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ ควรปรึกษาแพทย์หลังใช้ยาแล้วเกิดผลข้างเคียง ยาต้อหินอาจเป็นสิ่งกระตุ้นทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืดหรือโรคหัวใจกำเริบขึ้นได้ แพทย์จะปรับวิธีการรักษาให้เหมาะสมตามความรุนแรงและอาการของโรค

การป้องกันโรคต้อหิน

โรคนี้ไม่มีสัญญาณเตือนบ่งบอกว่าเริ่มเป็นโรคต้อหินแล้ว คนที่มีปัญหาเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคต้อหิน อย่าชะล่าใจเป็นอันขาด เพราะโรคต้อหินไม่แสดงอาการในระยะแรก หากรู้ตัวเร็วจะช่วยป้องกันโรคไม่ให้ลุกลามจนเส้นประสาทถูกทำลายไปมาก การเฝ้าระวังที่ดีคือเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี หากพบว่าเกิดปัญหา แพทย์จะรักษาแบบประคับประคองไม่ให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายมากขึ้นไปอีก ช่วยให้มองเห็นอยู่ได้นานที่สุด แม้จะรักษา ต้อหินให้หายขาดกลับมาเป็นปกติไม่ได้ แต่ถ้ารู้ทันโรคและป้องกันควบคุมความดันภายในลูกตาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้จะดีที่สุด

โรค ต้อหิน ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน หรือไม่มีอาการบอกล่วงหน้า อายุมากมีความเสี่ยงมากกว่าคนอายุน้อย ต้อหินมักเป็นกับตาทั้งสองข้าง หากเกิดต้อหินในตาข้างหนึ่งแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อช่วยป้องกันให้เกิดความเสียหายกับประสาทตาน้อยที่สุด ช่วยให้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 เฝ้าระวังต้อกระจก (Cataract) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้มองเห็นชัดเจนอีกครั้ง
 ทำความรู้จัก “ต้อลมในผู้สูงวัย” เป็นแล้วรักษาให้หายได้หรือไม่
 คนสายตาเอียง (Astigmatism) มองเห็นภาพแบบไหน รักษาได้อย่างไรบ้าง
 ในบางวันตื่นนอนแล้วตามี 3 ชั้น และบางวันมีแค่ 2 ชั้น
 ข้อควรรู้ก่อนทำเลสิก (Lasik) เลสิกมีกี่แบบ
 How To สวมคอนแทคเลนส์สายตาให้ปลอดภัย เคล็ดลับที่ต้องรู้ก่อนใส่คอนแทคเลนส์
 Lasik ใบมีด และ FemtoLASIK ต่างกันอย่างไร
 ต้อหิน (Glaucoma) เป็นแล้วรีบรักษา ก่อนสูญเสียการมองเห็น
 ทำไมเด็กถึงตาเข หรือตาส่อนมากกว่าผู้ใหญ่
 รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?

Copyright © 2024 All Rights Reserved.