ต้อหินเฉียบพลันและต้อหินเรื้อรังต่างกันอย่างไร

 ต้อหินเฉียบพลันและต้อหินเรื้อรังต่างกันอย่างไร

ต้อหินนานเป็นปีจึงออกอาการเหมือนภัยเงียบที่ค่อย ๆ ทำลายดวงตา ถ้ารู้เร็วคุมได้ ต้อหินสามารถเกิดแบบเฉียบพลันได้ด้วย รู้ทันทีที่เป็น ต้องรักษาด่วนก่อนตาบอด 

ต้อมีหลายชนิด ชนิดที่น่ากลัวคือต้อหินมีอันตรายถึงขั้นทำให้ตาบอด โรคนี้สามารถเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน สาเหตุจากความดันในลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดอาการปวดตา ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน และปวดหัวมากผิดปกติ การมองเห็นจะมัวลง ตรงกันข้ามกับอาการต้อหินเรื้อรังที่ความดันลูกตาไม่เพิ่มสูงมาก การมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ ไม่มีอาการที่เด่นชัด ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ได้ว่าตนเองเป็นอะไร จนกระทั่งรักษาไม่ทัน และสูญเสียการมองเห็นในที่สุด

ต้อหินเป็นหรือไม่เป็น รู้ได้อย่างไร

ผู้ที่เป็นต้อหินหลายคนไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เมื่อไร เพราะอาการของโรคในระยะเริ่มต้นจะสังเกตได้ยาก เมื่อใช้สายตามองตรงไปข้างหน้าภาพที่ตาของเราสามารถเห็นได้ทั้งหมดโดยรอบทั้งด้านหน้าและด้านข้างสองข้างเรียกว่าลานสายตา สำหรับคนที่มี ต้อหินลานสายตาจะแคบลง สามารถมองเห็นภาพชัดแค่ด้านหน้าแต่จะเริ่มไม่เห็นด้านข้าง และเมื่อเวลาผ่านไปภาพที่เห็นจะแคบขึ้นทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว เพราะโดยปกติคนเราใช้สายตาทั้งสองข้างพร้อมกันจึงมักจะเห็นว่าภาพปกติดี แต่ถ้าได้มีการทดสอบลานสายตาจึงจะรู้พื้นที่ในการมองเห็นแคบลงหรือไม่

การทดสอบลานสายตา จะทดสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พิเศษ โดยให้คนไข้ปิดตาทีละข้าง แล้วมองไปที่ภาพข้างหน้าซึ่งมีจุดไฟอยู่ตรงกลาง ขณะที่จ้องมือของคนไข้จะต้องคอยกดปุ่ม ตามองตรงตลอดเวลาห้ามกลอกตาไปทางซ้ายหรือขวา เมื่อไรที่เห็นแสงไฟวาบขึ้นจากด้านข้างหรือไฟจากมุมอื่นที่ไม่ใช่ดวงไฟตรงหน้าให้กดปุ่ม นอกจากการตรวจลานสายตาแล้วยังต้องมีการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย คือ

-วัดค่าสายตาว่าปกติหรือไม่ ถ้าสายตาสั้นมากมีโอกาสที่ความดันตาจะสูงและไปกดทับขั้วประสาทตาให้เสื่อมลง ขั้วประสาทตาจะเสื่อมเร็วกว่าคนสายตาปกติ หรือสายตายาวมากผิดปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของลูกตาส่วนหน้า ส่งผลให้การระบายของเหลวในลูกตาผิดปกติได้-วัดความดันลูกตา เป็นวิธีที่จำเป็นสำหรับการตรวจต้อหิน เพราะความดันลูกตาเป็นสาเหตุหลักของโรคและเป็นตัวแปรที่จะใช้ควบคุมอาการได้-ตรวจการทำงานและลักษณะของขั้วประสาทตารวมถึงจอตาว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะสองส่วนนี้เป็นจุดที่ได้รับผลกระทบจากโรคโดยตรงและส่งผลต่อการมองเห็น-ตรวจมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงตาว่ามีลักษณะกว้างหรือแคบ ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยแยกประเภทของต้อหินว่าเป็นต้อหินชนิดมุมเปิดหรือต้อหินมุมปิด ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษาต้อหิน

ต้อหิน สาเหตุเกิดจากอะไร

ความดันตาหรือระบบการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงในตาเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ต้อหิน สาเหตุ มาจากความดันตาสูงเกินปกติ หรือในบางราย แม้จะวัดความดันลูกตาได้ปกติ แต่ความดันลูกตาที่ระดับดังกล่าวอาจสูงมากกว่าที่ประสาทตาของคนนั้นๆ จะทนได้ ค่าความดันตาสูงเพราะปริมาณน้ำมีมากเกินไปและไม่สามารถระบายออกได้ตามปกติ ความดันตาสูงยังอาจเกิดได้จากภาวะอื่น ๆ ทางตาด้วย เช่น กระจกตาบางกว่าปกติ การเป็นโรคตาบางอย่าง ประวัติของบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นโรคความดันลูกตามาก่อน การทำกิจกรรมบางประเภท เช่น ยกน้ำหนัก ดำน้ำ ก็มีส่วนทำให้ความดันตาสูงได้ เมื่อความดันตาสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินเพราะขั้วประสาทตาและจอตาจะถูกทำลาย 

ต้อหินสาเหตุอื่นมีหรือไม่ ถ้าเป็นต้อหินชนิดแทรกซ้อนอาจเกิดจากความผิดปกติอย่างอื่นได้ เช่น เป็นต้อกระจกและปล่อยจนต้อสุก หรือการที่ดวงตาอักเสบ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การใช้ยาหยอดตาบางชนิดที่เป็นยาสเตียรอยด์และซื้อมาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น 

เป็นต้อหินเฉียบพลันหรือต้อหินเรื้อรัง

อาการของโรคเกิดขึ้นได้ทั้งในลักษณะเรื้อรังและเฉียบพลัน ถ้าเรื้อรังอาการจะเพิ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่เริ่มมีความดันตาสูง จากนั้นการมองเห็นภาพจะแคบลงอย่างช้า ๆ ใช้เวลานานเป็นปี 

อาการที่เกิดแบบเรื้อรัง คือ  

-ความดันลูกตาเพิ่มทีละน้อย-มีปัญหาการมองเห็นในที่มืด-มองวัตถุเคลื่อนที่เร็ว ๆ ไม่ทัน เช่น รถวิ่ง-ตาสู้แสงไม่ได้  -ค่อย ๆ เห็นภาพน้อยลงและมืดลงไปเรื่อย ๆ-มองดวงไฟจะเห็นวงกลมมีแสงสีรุ้งล้อมรอบดวงไฟ ตาพร่ามัว

อีกลักษณะหนึ่งคืออาการที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน มีอาการอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่อาการเฉียบพลันมักจะเกิดกับต้อหินมุมปิด เพราะน้ำในตาระบายออกไม่ได้ เกิดภาวะน้ำขังและความดันตาสูงขึ้นเฉียบพลัน

อาการที่เกิดแบบฉับพลัน คือ

-ปวดตาขึ้นมาอย่างรุนแรงเฉียบพลัน-ตาแดงกะทันหัน-ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน-ความดันตาเพิ่มอย่างรวดเร็ว-กระจกตาขุ่น และมีอาการบวมน้ำ-ตาพร่ามัว มองเห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ

ต้อหินแบบไหนอันตรายมากกว่ากัน

ไม่ว่าจะเป็นต้อ แบบเรื้อรังหรือเฉียบพลันก็นำไปสู่ภาวะตาบอดได้ทั้งสองแบบ เพียงแค่ช้าหรือเร็วต่างกัน โรคแบบเฉียบพลันจะมีอาการที่ชัดเจนมากกว่า เช่น ปวดหัวรุนแรงจนคลื่นไส้อาเจียนออกมา แต่มีโอกาสรักษาได้หากไปพบแพทย์ทันเวลา ขณะที่โรคต้อหินเรื้อรังจะไม่มีอาการมากในช่วงแรก แต่จะแผลงฤทธิ์เมื่อถึงระยะท้ายของโรค เป็นอันตรายที่แฝงอยู่แบบเงียบ ๆ ผลคือรักษาไม่ทันเพราะผู้เป็นไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว 

ระยะเวลาของต้อหินและการลุกลาม

ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงระยะสุดท้ายที่สูญเสียการมองเห็นถาวรอาจใช้เวลาหลายปีนับจากที่เริ่มเป็น ผู้เป็นโรคนี้บางคนใช้ชีวิตอยู่กับต้อหินมานานปี โดยมีอาการเพียงเล็กน้อยที่ไม่สามารถสังเกตตัวเองได้ และไม่ได้มีการตรวจตาเป็นประจำ การพัฒนาของต้อหินจึงดำเนินไปเรื่อย ๆ ความดันตาที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ขั้วประสาทตาถูกกดและเซลล์ประสาทตาจะเริ่มถูกทำลายทีละน้อยจากบริเวณรอบนอกเข้าไปด้านใน การมองเห็นจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามสภาพของขั้วประสาทตาที่ถูกทำลาย บางคนได้มีโอกาสพบแพทย์และตรวจดูความผิดปกติในตาอย่างทันการ หากพบว่าเป็นต้อหินเร็วและยังอยู่ในระยะเริ่มต้นก็จะสามารถสกัดการลุกลามได้ โดยการใช้ยาต้อหิน หยอดตาเพื่อลดความดันและรักษาระดับความดันตาไว้ จะช่วยชะลอไม่ให้ลานสายตาแคบลงไปมากกว่าเดิม 

วิธีรักษาต้อหินแต่ละประเภท

ต้อหินสามารถควบคุมระดับของอาการได้แต่อาจจะไม่ทำให้ภาวะสูญเสียการมองเห็นหรือลานสายตาส่วนที่ถูกบดบังกลับคืนมาเป็นปกติ ลานสายตาแคบลงไปแค่ไหนก็จะควบคุมให้คงไว้ในระดับนั้น แต่จะไม่กลับมากว้างขึ้น การรักษา ต้อ ทั้งสองประเภท ทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน ทำได้โดยการลดความดันตาด้วยวิธี

-การใช้ยาลดความดันตา ซึ่งมีทั้งประเภทยาหยอดและยาสำหรับรับประทาน-การทำเลเซอร์ เพื่อเพิ่มช่องระบายน้ำในลูกตาออกให้ความดันลดลง-การผ่าตัดลดความดันตา

การตรวจตาอย่างสม่ำเสมอทุกปีเป็นหนทางที่จะช่วยให้รักษา ต้อหิน ได้ดีที่สุด เพราะโดยหลักคือการควบคุมความดันตาเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่ตรวจตาก็จะไม่รู้ว่าความดันสูงหรือไม่ โรคต้อหินมีโอกาสเกิดกับใครก็ได้ที่มีความดันตาสูง แต่โอกาสที่จะเกิดกับผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย อายุ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น การตรวจตาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะถ้าหากตรวจพบว่าเป็นโรคเร็วก็จะควบคุมอาการได้เร็ว ไม่ต้องสูญเสียการมองเห็นทั้งหมดไปตลอดชีวิต

 สาเหตุ อาการ และการรักษา กระจกตาเป็นแผลมองไม่ชัด
 ประโยชน์ของน้ำตาเทียม ทำไมผู้สูงอายุควรใช้
 ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเป็นต้อหินจริงไหม ต้อหินมุมปิดอันตรายอย่างไร
 อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต้อกระจก
 การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิก Femto Lasik
 ICL หรือ Implantable Collamer Lens ทางเลือกใหม่การรักษาสายตาผิดปกติ
 ทำความรู้จัก “ต้อลมในผู้สูงวัย” เป็นแล้วรักษาให้หายได้หรือไม่
 วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
 ภาวะถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (Posterior capsule opacity/After cataract)
 วิธีทดสอบสายตาอย่างไร ให้รู้ว่าเป็นภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)

Copyright © 2024 All Rights Reserved.