เช็กให้ชัวร์อาการแบบนี้เป็นสัญญาณ “ต้อกระจก” หรือไม่

 เช็กให้ชัวร์อาการแบบนี้เป็นสัญญาณ “ต้อกระจก” หรือไม่

การมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพตรงหน้าพร่ามัว ตาไม่สู้แสง อย่าคิดว่าเป็นอาการทางสายตาทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของต้อกระจกก็เป็นได้ 

เมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพดวงตาและการมองเห็นมักมีปัญหา ทั้งสายตาพร่ามัว มองภาพตรงหน้าไม่ชัดเจน หรือมีลักษณะเป็นภาพซ้อน ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงสัญญาณความทรุดโทรมของร่างกายเท่านั้น จึงละเลยไม่เข้ารับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของต้อกระจกก็เป็นได้ แต่จะมีอาการแบบไหนบ่งบอกว่าเป็นต้อกระจก และ การรักษาต้อกระจกมีกี่วิธีนั้น ตามมาอ่านกันได้ในบทความนี้ 

ต้อกระจกเกิดขึ้นได้อย่างไร 

ต้อกระจก ปัญหาสุขภาพดวงตาและการมองเห็นที่สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเลนส์ตาเสื่อมโทรมหรือเกิดการสลายตัวลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การมองเห็นขุ่นมัวหรือตาพร่าได้ ขณะเดียวกันต้อกระจกก็สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น 

-การสัมผัสแสงยูวีมาเป็นระยะเวลานาน ไม่ได้รับการดูแลสุขภาพดวงตาอย่างถูกต้องเหมาะสม-โรคทางกายบางชนิด เช่นโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์-อุบัติเหตุที่รุนแรงกระทบกระเทือนกับเลนส์ตา เช่น โดนของมีคม สัมผัสสารเคมีหรือรังสี เป็นต้น-การใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาว-พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมเพิ่มโอกาสเสี่ยงทำให้เลนส์ตาเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก

อาการแบบไหนบ่งบอกว่าเป็นต้อกระจก 

จะเห็นได้ว่าต้อกระจกนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งปกติแล้วต้อกระจกจะเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง แต่ระดับความรุนแรงอาจไม่เท่ากัน โดยมีอาการหรือสัญญาณบ่งบอกว่าเรากำลังเผชิญกับอาการต้อกระจก ดังนี้

-สายตาพร่ามัว มองเห็นภาพตรงหน้าไม่ชัด มองเห็นภาพตรงหน้าคล้ายมองผ่านกระจกฝ้าหรือม่านหมอก-เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีแสงไฟจ้าหรือแสงแดดจัดมักมีอาการตาพร่ามัว มองภาพตรงหน้าได้ไม่ชัดเจน-ดวงตาไม่สามารถสู้แสงจ้าหรือแสงแดดจัดมาก ๆ ได้ รู้สึกว่าสายตาไวต่อแสงผิดปกติ-เมื่อมองแสงไฟจะรู้สึกว่าแสงไฟมีการกระจายตัวมากเกินไปหรือเห็นรัศมีแสงไฟมากกว่าปกติ-เมื่อลองหลับตาหนึ่งข้างแล้วมองภาพตรงหน้าจะเห็นลักษณะเป็นภาพซ้อนกัน-มีอาการสายตาสั้นมากกว่าปกติหรือต้องคอยเปลี่ยนแว่นสายตาอยู่บ่อยครั้ง-เมื่อขับรถจะมองเห็นแสงไฟของรถคันที่ขับสวนทางมากระจายตัวผิดปกติ-มองเห็นสีของวัตถุต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะวัตถุสีเหลือง  -เวลาอ่านหนังสือหรืออ่านตัวอักษรขนาดเล็กจะมองเห็นไม่ชัดเจนและจำเป็นต้องอาศัยแสงสว่างมากกว่าปกติ-เมื่อส่องกระจกเห็นลักษณะฝ้าขาวบริเวณตรงกลางดวงตาขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการต้อกระจก

ทั้งนี้เรายังสามารถแบ่งระยะอาการของต้อกระจกออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน ดังนี้

-ระยะเริ่มแรก (Early Cataract) ระยะที่เริ่มมองเห็นภาพตรงหน้าไม่ชัดเจน สายตาเริ่มขุ่นมัว แต่ดวงตายังคงมีลักษณะเป็นปกติอยู่-ระยะก่อนต้อสุก (Immature Cataract) ระยะเลนส์ตาเริ่มขุ่นมากขึ้น ช่วงตรงกลางเลนส์ตามีลักษณะขุ่นมัว ทำให้มองเห็นภาพตรงหน้าพร่ามัวหรือมีลักษณะเหมือนมีหมอกมีฝ้ามาบดบังมากขึ้น ขณะเดียวกันค่าสายตาก็จะสั้นขึ้นด้วย-ระยะต้อสุก (Mature Cataract) ระยะนี้จะปรากฏต้อกระจกที่ทำให้แก้วตากลายเป็นสีขาวทั้งหมดอย่างชัดเจน จากที่เคยมีลักษณะขุ่น ๆ ขาว ๆ แค่ตรงกลางเลนส์ตา แต่ในระยะนี้สีขาวขุ่นจะกระจายทั่วบริเวณเลนส์ตา เป็นระยะที่ควรเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย-ระยะต้อสุกงอม (Hypermature Cataract) ถือเป็นระยะต้อกระจกที่รุนแรงมากที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีปัญหากับการมองเห็นแล้ว อาจมีอาการปวด บวม แดง อักเสบ หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ต้อหิน และสูญเสียการมองเห็นได้ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจกโดยเร็วที่สุด

โรคต้อกระจกอันตรายหรือไม่ 

เพราะโรคต้อกระจกมีสาเหตุหลักมาจากการเสื่อมโทรมของสุขภาพดวงตาตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถดูแลและควบคุมอาการต้อกระจกให้ไม่รุนแรงได้ โดยเฉพาะถ้ารู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับโรคต้อกระจกอยู่ แนะนำให้ดูแลรักษาแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุด เว้นแต่ละเลยไม่ดูแลรักษาก็จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนบางประการได้ เช่น อาการดวงตาอักเสบ อาการปวดตา ตาแดง หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคต้อหิน ซึ่งจะส่งผลต่อการมองเห็นและไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ 

แนวทางการป้องกันการเกิดต้อกระจก

แม้ว่าโรคต้อกระจกจะเป็นโรคที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเร็วกว่ากำหนด หรือกระตุ้นให้เกิดอาการต้อกระจกที่รุนแรงในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น

-การหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกาย รวมถึงสุขภาพดวงตาและการมองเห็นเป็นประจำทุกปี หรือทุก ๆ 2 - 4 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดต้อกระจกได้อย่างถูกวิธี-หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และอยู่ในช่วงระหว่างการใช้ยาสเตียรอยด์ ควรวางแผนการใช้ยากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก-หากต้องอยู่ในสถานที่ที่มีแสงจ้าหรืออยู่กลางแดดจัด ควรสวมใส่แว่นตากันแดดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของเลนส์ตาและเสี่ยงเป็นต้อกระจกในอนาคต-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งควรรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ และควรเสริมให้ร่างกายได้รับวิตามินแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาและการมองเห็น-ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอในทุก ๆ วัน-หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงทำให้ร่างกายทรุดโทรมจนส่งผลทำให้เกิดต้อกระจกได้ง่าย เช่น งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

วิธีการรักษาต้อกระจก  

นอกเหนือไปจากการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคต้อกระจกตามที่เราแนะนำไปเบื้องต้นแล้ว หากเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็มักจะแนะนำวิธีการรักษาต้อกระจกให้เหมาะสมกับระยะอาการต้อกระจกของแต่ละบุคคล ซึ่ง การรักษาต้อกระจกมีกี่วิธีนั้น เราสามารถจำแนกได้ดังนี้

1.วิธีการรักษาต้อกระจกสำหรับผู้ป่วยต้อกระจกระยะแรก

หากได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่ามีอาการต้อกระจกที่ไม่รุนแรงหรืออยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น ซึ่งมีปัญหาสายตาพร่าเลือน มองเห็นภาพมัว แต่ไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แพทย์จะแนะนำให้ตัดแว่นเพื่อปรับค่าสายตาหรือใช้เลนส์ตัดแสง เพื่อรักษาตามอาการ รวมถึงผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์เพื่อติดตามอาการต้อกระจกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 

2.วิธีการรักษาต้อกระจกที่มีระดับอาการรุนแรง

แน่นอนว่าถ้าไม่สามารถใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการสายตาพร่ามัวหรือมีอาการต้อกระจกรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน วิธีการรักษาที่ตอบโจทย์มากที่สุดก็คือการ ผ่าตัดต้อกระจก หรือ การลอก ต้อกระจก ที่อาศัยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือพลังงานเลเซอร์ประเภท Femtosecond Laser ในการสลายต้อกระจก พร้อมใส่เลนส์แก้วตาเทียมลงไป ทำให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

และเพื่อให้ผลลัพธ์การดูแลรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพดวงตารวมถึงการมองเห็นมากที่สุด แนะนำให้ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงเลือกใช้ แว่นตาสำหรับคนผ่าต้อกระจก เพื่อถนอมดวงตาให้ได้มากที่สุด 

ต้อกระจก โรคทางสุขภาพดวงตาและการมองเห็นที่สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งถึงแม้ระยะแรกจะมีอาการที่ไม่รุนแรง มองเห็นภาพตรงหน้าพร่ามัวไม่ชัดเจน แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไม่เข้ารับการรักษาอาการต้อกระจกก็จะทวีความรุนแรงจนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อการมองเห็นในอนาคตได้ ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่สังเกตเห็นว่ามีสัญญาณเตือนของอาการต้อกระจกผิดปกติ แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การลอกต้อกระจกหรือการผ่าตัดต้อกระจก ตลอดจนการเลือกใช้ แว่นตาสำห รับคนผ่าต้อกระจกโดยเฉพาะ เท่านี้ก็จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคต้อกระจกและลดโอกาสเสี่ยงสูญเสียการมองเห็นในอนาคตได้แล้ว

 กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) กี่วันหาย ใช้ยาอะไร
 ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? อยู่ได้กี่ปี
 โรคกระจกตาโก่ง (Keratoconus)
 รอยแผลเป็นที่ เรียกว่าคีลอยด์
 สังเกตอาการวุ้นในตาเสื่อม ทำไมมองเห็นจุดดำและหยากไย่ลอยไปมา
 โรคต้อกระจกมีกี่ระยะ สังเกตจากอะไร
 เฝ้าระวังต้อกระจก (Cataract) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้มองเห็นชัดเจนอีกครั้ง
 อาการตาแห้งแก้ได้อย่างไร ต้องหยอดตาหรือไม่
 ไขข้อสงสัย อาการตาเข ตาเหล่ (Strabismus)ในเด็กเกิดจากพันธุกรรมจริงหรือ
 สาเหตุที่ทำตาสองชั้นแล้วชั้นตาก็ยังไม่เท่ากัน เกิดจากอะไร ?

Copyright © 2024 All Rights Reserved.