รักษาสายตาสั้นยาวเอียงด้วย PRK คืออะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
เทคนิค PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นการรักษาค่าสายตาที่คล้ายกับการเลสิกแบบอื่น แต่จะไม่มีการแยกชั้นกระจกตา ข้อดีคือราคาถูก ผลข้างเคียงน้อย และลดโอกาสเกิดปัญหากระจกตาเปิดหรือเคลื่อนในอนาคต
หากพูดถึงการรักษาค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่นึกถึงการทำเลสิก (Lasik) เพราะนอกจากเป็นวิธีการแก้ปัญหาค่าสายตาแบบถาวรจึงไม่ต้องกลับไปสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) ให้ยุ่งยากแล้ว ยังมีหลากหลายวิธีให้เลือก ทั้งการทำเลสิกแบบใช้ใบมีดและการทำเลสิกแบบไร้ใบมีด อย่างเฟมโตเลสิก (Femto Lasik) และ รีเล็กซ์ สไมล์ (ReLEx SMILE) อย่างไรก็ตามนอกจากวิธีเหล่านี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้เช่นกัน นั่นคือ Photorefractive Keratectomy หรือ PRK แต่การรักษาค่าสายตาวิธีนี้คืออะไร prk ราคาเท่าไหร่ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ และ prk vs lasik ต่างกันอย่างไร เรามีคำตอบมาฝาก
PRK คืออะไร?
เทคนิคการรักษาค่าสายตาแบบ Photorefractive Keratectomy หรือเรียกสั้นๆ ว่า PRK เป็นเทคนิคการรักษาค่าสายตาด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับแต่งกระจกตาโดยไม่แยกชั้นกระจกตา ซึ่งเมื่อกระจกตามีความโค้งในระดับที่ต้องการแล้ว จักษุแพทย์จะปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ เมื่อเยื่อบุผิวตาเจริญปิดแผลสนิทจึงนำคอนแทคเลนส์ออก สำหรับการปรับค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK ถือเป็นวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมที่มีการใช้มาก่อนการทำเลสิกแบบใบมีด แต่ยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน
การรักษาค่าสายตาแบบ PRK มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
เช่นเดียวกับเทคนิคการรักษาค่าสายตาแบบอื่นๆ การเลือกใช้เทคนิค PRK ในการปรับค่าสายตามีทั้งข้อดีและข้อจำกัด โดยข้อดีและข้อเสียหลักๆ มีดังนี้
●ข้อดี
เป็นเทคนิคการรักษาค่าสายตาที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย เพราะในขั้นตอนการรักษาไม่มีการฉีดยาชา ซึ่งหลังทำสามารถกลับบ้านได้เลยไม่ต้องนอนพักฟื้นที่สถานพยาบาล นอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงเรื่องปัญหากระจกตาเปิดหรือฝากระจกตาเคลื่อนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ด้วยเป็นเทคนิคที่ไม่มีการแยกชั้นกระจกตา
●ข้อเสีย
หลังทำเมื่อยาชาหมดฤทธิ์จะมีอาการเจ็บระบม แสบตา ระคายเคืองตา ตาไม่สู้แสง คุณภาพการมองเห็นลดลง รวมทั้งแผลยังมีขนาดใหญ่ทำให้แผลหายช้า จึงต้องใส่คอนแทคแลนส์ไว้ประมาณ 5 – 7 วัน ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดฝ้าที่กระจกตา หากต้องการแก้ไขค่าสายตามากๆ
PRK VS LASIK ต่างกันอย่างไร
เทคนิค PRK เป็นการรักษาค่าสายตาโดยการใช้เลเซอร์ปรับแต่งความโค้งกระจกตา จึงทำให้มีการจัดให้เทคนิค PRK อยู่ในกลุ่มการรักษาแบบเลสิกเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว prk vs lasik มีความแตกต่างกันในหลายจุด ไม่ว่าจะเป็น
●ข้อจำกัด
การรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK มีข้อจำกัดน้อยกว่า เพราะคนที่มีปัญหาภาวะกระจกตาบาง ตาแห้ง เบ้าตาเล็ก เป็นโรคต้อหิน โรคเยื่อบุผิวกระจกตาถลอกง่าย โรคชั้นฐานของผิวกระจกตาเสื่อม สามารถรักษาด้วยเทคนิค PRK ได้ จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาค่าสายตาด้วยวิธีการเลสิก (Lasik) รวมถึงกลุ่มอาชีพที่มีระเบียบว่าห้ามทำเลสิก (Lasik) เพื่อรักษาค่าสายตา อย่างอาชีพนักบินหรือทหาร เนื่องด้วย ทำเลสิก ข้อเสียตรงที่หากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ฝากระจกตาเปิดหรือเคลื่อนได้
●ผลข้างเคียง
การรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเลสิก (Lasik) โดยเฉพาะภาวะตาแห้ง เพราะไม่มีการแยกชั้นกระจกตาและการกรีดรอบดวงตา แต่จะมีแผลขนาดใหญ่กว่าการทำเลสิก จึงทำให้แผลหายช้า มีความเสี่ยงติดเชื้อ และมีอาการเจ็บระบมมากกว่า
●ระยะเวลาในการพักฟื้น
แม้ว่าหลังทำการรักษาค่าสายตาทั้งแบบ PRK และเลสิกจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ เรียกว่าแทบไม่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้ แต่ถึงอย่างนั้นแผลจากเทคนิค PRK จะหายช้ากว่า เพราะต้องรอให้มีการฟื้นฟูเยื่อหุ้มกระจกตา จึงต้องใส่คอนแทคเลนส์ไว้อย่างน้อย 5 วัน ซึ่งในระหว่างนี้อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน
PRK เหมาะกับใครบ้าง
ถึงการรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK จะเหมาะกับกลุ่มที่ไม่สามารถทำเลสิก (Lasik) ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการรักษาด้วยเทคนิค PRK ควรมีคุณสมบัติดังนี้
●ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีค่าสายตาคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป●ผู้ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการเลสิก (Lasik)เช่น กระจกตาบาง ตาแห้ง ต้อหิน โรคเยื่อบุผิวกระจกตาถลอกง่าย กระจกตาโค้ง แต่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการก่อนเข้ารับการรักษา●ผู้ประกอบอาชีพที่มีข้อกำหนดว่าห้ามทำเลสิก (Lasik)เช่น นักบิน ทหาร หรือตำรวจ รวมทั้งกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุรุนแรงที่ดวงตา อย่างนักกีฬาหรือพนักงานขับรถ
ขั้นตอนการทำ PRK
การรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK เริ่มต้นด้วยการตรวจสายตาเพื่อประเมินความเสี่ยง ซึ่งนอกจากแพทย์ตรวจสอบดวงตาด้วยการวัดค่าต่างๆ ได้แก่ การวัดค่าสายตา ประเมินการมองเห็น วัดความดันลูกตา วัดความโค้งความหนาของกระจกตา ตรวจค่าความคลาดเคลื่อนการรวมแสง วัดการเปลี่ยนแปลงหลังขยายม่านตา และประเมินสุขภาพตาโดยรวมแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาเองต้องแจ้งประวัติสุขภาพ งดการใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) และลางานหรือลาเรียนอย่างน้อย 5–7 วัน เพราะต้องพักการใช้สายตาหนักหลังทำ PRK ส่วนในวันที่รักษา ควรใส่เสื้อกระดุมผ่าหน้า เตรียมแว่นตากันแดด และงดแต่งหน้า ทาครีม ใช้เจลแต่งผม หรือฉีดน้ำหอมตามร่างกาย
สำหรับการรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
●เมื่อผู้เข้ารับการรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK เตรียมตัวเรียบร้อยแล้ว จักษุแพทย์จะดำเนินการลอกเซลล์ผิวกระจกตา โดยการหยดแอลกอฮอล์ (เอทานอลความเข้มข้น 20% ในน้ำเกลือ) ประมาณ 30 – 40 วินาที และขูดผิวกระจกตาที่ลอกออกให้หมด●เมื่อลอกเซลล์ผิวกระจกตาออกหมดแล้ว จักษุแพทย์ใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับแต่งความโค้งกระจกตาเพื่อให้ได้ค่าสายตาที่คำนวณไว้●จากนั้นจักษุแพทย์ปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์พิเศษ เพื่อให้เกิดการสร้างเยื่อหุ้มตาใหม่ โดยต้องใส่ไว้ประมาณ 5 – 7 วัน ซึ่งผู้เข้ารับการรักษาต้องใส่ที่ครอบตาไว้ประมาณ 1 วันหลังการทำPRK และใส่ในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันสามารถใส่แว่นกันแดดแทนได้ สำหรับการดูแลในช่วงฟื้นฟูเยื่อหุ้มกระจกตาควรระมัดระวังไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าตา ห้ามขยี้ตา ห้ามล้างหน้าสระผม งดการใช้สายตาหนัก หยอดน้ำตาเทียมเพื่อป้องกันภาวะตาแห้ง และจะใส่คอนแทคเลนส์ได้ต่อเมื่อได้รับการประเมินจากจักษุแพทย์เท่านั้น
ภาวะแทรกซ้อนหลังทำ PRK
แม้ว่าการรักษาค่าสายตาด้วยเทคนิค PRK จะเป็นเทคนิคที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย แต่ก็เกิดได้เช่นเดียวกัน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังทำ PRK ได้แก่
●อาการระคายเคืองตา เช่น ตาบวม ปวดตา แสบตา ลืมตาไม่ขึ้น ตาสู้แสงไม่ได้ เป็นต้น โดยเกิดขึ้นในช่วงแรกหลังทำการรักษาและจะหายได้เองหากผู้เข้ารับการรักษาพักผ่อนให้เพียงพอ งดการใช้สายตาหนัก และรับประทานยาตามที่จักษุแพทย์สั่ง●คุณภาพการมองเห็นลดลง เช่น มองไม่ชัด ตามองเห็นไม่ชัดในที่มืด ภาวะแสงกระจายรอบแสงไฟ ซึ่งอาการเหล่านี้หายได้เองเช่นกันเมื่อดวงตาปรับตัวกับค่าสายตาใหม่ได้●ภาวะตาแห้ง เกิดจากเส้นประสาทตาได้รับการกระทบกระเทือน โดยทั้ง PRK และทำเลสิก ข้อเสียที่พบได้เช่นกัน แต่สามารถบรรเทาด้วยการหยอดน้ำตาเทียม●ระดับความดันตาสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่อผ่าตัดตาหรือผลข้างเคียงนี้สามารถหายได้เมื่อมีการปรับยา●การติดเชื้อ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่หากอาการมีความรุนแรงควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อรุนแรงเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น●ค่าสายตาขาดหรือเกิน โดยจะเกิดขึ้นหลังทำประมาณ 2–3 เดือน ต้องพบจักษุแพทย์เพื่อทำการแก้ไข
จะเห็นได้ว่าเทคนิค PRK เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ต้องการรักษาค่าสายตาแต่ไม่อยากทำเลสิก (Lasik) หรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการทำเลสิกได้ ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดของการทำเลสิกหรือการประกอบอาชีพ อีกทั้งเทคนิค prk ราคา อยู่ในเกณฑ์ที่หลายคนเอื้อมถึงได้ แต่ไม่ว่าจะเลือกเพราะเหตุผลอะไร แนะนำว่าให้ศึกษาหาข้อมูลและเลือกทำกับสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพียงเท่านี้จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์จากการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ได้อวดดวงตาสวย ไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป
บริษัท โรงพยาบาลตากรุงเทพ จำกัด
อาคารเดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม 540 ชั้น7 ห้อง703
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1033002-869-8899
Copyright © 2024 All Rights Reserved.