ทำความรู้จักกับภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ พร้อมวิธีการรักษา

 ทำความรู้จักกับภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ พร้อมวิธีการรักษา

กระจกตาอักเสบติดเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต มีอาการ ตาแดง เจ็บตา และพบจุดขาวขุ่นที่ดวงตาหากมีการติดเชื้อ รักษาด้วยการกินยาและผ่าตัดกระจกตา

​ดวงตานั้นถือเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต แต่ดวงตาก็เป็นอวัยวะที่บอบบาง โรคที่เกี่ยวกับดวงตาจึงมีหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ ซึ่งกระจกตานับว่ามีความสำคัญต่อระบบการมองเห็นเป็นอย่างมาก เพราะกระจกตาทำหน้าที่ปกป้องดวงตาและทำหน้าที่หักเหแสงเพื่อให้เกิดภาพในการมองเห็น หากเกิดอาการผิดปกติจะส่งผลต่อความเจ็บปวด ทำให้ปวดตา ตาบวมและมีผลต่อการมองเห็นได้

รู้จักกับอาการกระจกตาอักเสบติดเชื้อ

​กระจกตานั้นคืออวัยวะที่อยู่ด้านหน้าสุดของดวงตา โดยกระจกตาจะทำหน้าที่หักเหแสงที่เข้าสู่ดวงตา ทำให้เกิดภาพ โดยกระจกตานั้นแบ่งออกได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้

​- ชั้นที่ 1 กระจกตาชั้นนอก จะอยู่ด้านนอกสุดของชั้นกระจกตา เป็นเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้ เมื่อเกิดแผลที่กระจกตาส่วนนี้ เซลล์จะสามารถสมานแผลได้ด้วยตัวเอง

​- ชั้นที่ 2 กระจกตาชั้นเยื่อรับรองผิว จะเป็นชั้นเยื่อที่มีความบาง ประกอบไปด้วยคอลลาเจน

​- ชั้นที่ 3 กระจกตาชั้นกลาง เป็นส่วนที่มีความหนามากที่สุด

​- ชั้นที่ 4 กระจกตาชั้นเยื่อรองรับเซลล์ด้านใน เป็นเนื้อเยื่อบางๆ มีความยืดหยุ่นสูง

​- ชั้นที่ 5 ชั้นเซลล์ผิวด้านใน ทำหน้าที่ดูดน้ำออกจากกระจกตา ทำให้ตาใส ไม่บวม

โดยภาวะกระจกตาอักเสบ (Keratitis) คืออาการของการอักเสบที่กระจกตา โดยอาจมีสาเหตุได้ทั้งการได้รับอาการบาดเจ็บโดยตรง เช่น ถูกสิ่งแปลกปลอมเข้าตา และการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อปรสิต ซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาชั้นต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรคสามารถเข้าไปได้ถึงกระจกตาชั้นใด

สาเหตุของการเกิดอาการกระจกตาอักเสบติดเชื้อ

​โดยการติดเชื้อที่จะกระจกตา โดยส่วนมากจะเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากยังมีมีการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส เช่น โรคงูสวัด โรคเริม ติดเชื้อจากเชื้อรา รวมไปถึงเชื้อปรสิตบางชนิด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบติดเชื้อ​

โดยปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแบบต่างๆ อาจมีปัจจัยดังนี้

​1. ติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย จากการใช้คอนแทคเลนส์ ซึ่งเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ในระยะเวลาที่นานเกินไป ลืมถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอน การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ที่ดีพอ ทำให้อาจมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่ที่ตัวคอนแทคเลนส์ จนกลายเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อที่กระจกตา และส่งผลทำให้ เยื่อบุตาอักเสบ ได้ 

​2. การติดเชื้อจากสารเคมีที่เข้าตา จนทำให้เกิดอาการระคายเคืองจนติดเชื้อที่กระจกตาได้

​3. การอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสที่มีผลมาจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเริม โรคอีสุกอีใส ไข้หวัด เป็นต้น

​4. การอักเสบจากการติดเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ส่งผลต่อการมองเห็นที่ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้กระจกตาทะลุได้ 

​5. การอักเสบจากการติดเชื้อปรสิต ที่สามารถพบได้ในอากาศ น้ำ และดิน ทำให้เชื้อปรสิตเข้าสู่ดวงตาได้

ลักษณะอาการของกระจกตาอักเสบติดเชื้อ

สำหรับผู้ที่มีอาการกระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อนั้น จะรู้สึกเคืองตาเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา มีอาการปวดตา ตาบวมตาแดงหรือ เยื่อบุตาอักเสบ ลืมตาไม่ค่อยได้จากอาการเจ็บตาและแพ้แสง มีขี้ตามาก สายตามองเห็นได้ไม่ค่อยชัดหรือมีระยะการมองเห็นที่ลดลง นอกจากนี้ยังสังเกตพบจุดสีขาวที่กระจกตาจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ดวงตา หากไม่ได้รับการรักษาอาการอาจลุกลามเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น กระจกตาทะลุ กลายเป็นต้อหินหรือต้อกระจก ร้ายแรงถึงขนาดทำให้ตาบอดถาวรได้ 

ดังนี้แล้ว หากมีอาการเจ็บตาอย่าได้นิ่งนอนใจ ควรไปพบจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทำการวินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจความคมชัดในการมอง ตรวจการตอบสนองของดวงตาในการมองเห็นด้วยแสงไฟ เพื่อหาข้อบกพร่องของประสาทการรับรู้ที่ม่านตา โดยหากแพทย์พบว่ามีอาการมากจะทำการทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อขยายให้เห็นถึงจุดผิดปกติที่ดวงตาให้วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนมากขึ้น และจะเก็บตัวอย่างจากน้ำตาหรือเซลล์กระจกตาไปตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาเชื้อที่ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบติดเชื้อ

วิธีการรักษาอาการกระจกตาอักเสบติดเชื้อ

​ในการรักษาอาการกระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อนั้น ต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะวิเคราะห์อาการของการติดเชื้อนั้นได้อย่างถูกต้องตรงกับวิธีการรักษาว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อชนิดใด 

​โดยถ้าหากมีอาการอักเสบเพียงเล็กน้อยที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยสามารถกลับไปรักษาที่บ้านเองได้ด้วยการดูแลความสะอาดดวงตาและระวังการกระทบกระเทือน แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อ แพทย์จะมีวิธีการรักษาตามขั้นตอน ดังนี้

​1. ใช้ยาต้านเชื้อรา โดยแพทย์จะใช้การหยอดตา ในการรักษา รวมถึงใช้ยาต้านเชื้อราแบบรับประทานควบคู่กันไป โดยต้องหยอดตาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง

​2. ใช้ยาต้านไวรัส ในกรณีที่เชื้อที่ตรวจพบเป็นเชื้อไวรัส แพทย์จะรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีทั้งแบบรับประทานและยาหยอดตา

​3. รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ โดยหากตรวจพบว่าเชื้อโรคนั้นเป็นเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งนอกจากการให้ยาปฏิชีวนะแล้ว ยังต้องมีการให้ยาอื่นๆ ควบคู่ด้วย เช่น ยาขยายม่านตาเพื่อลดอาการกดเกร็งของกล้ามเนื้อ รวมถึงให้รับประทานยาแก้ปวด จะช่วยลดอาการ ปวดตา ตาบวมและหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา

​4. การผ่าตัด หากอาการของผู้ป่วยมีความร้ายแรงไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

​โดยจักษุแพทย์จะคอยประเมินอาการเป็นระยะอย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการรักษา โดยจะประเมินหลังจากที่ได้รับยาไปแล้วประมาณ 1-2 วัน หากอาการตอบสนองต่อยาเป็นไปในทิศทางที่ดี แพทย์อาจทำการปรับลดความถี่ในการใช้ยาลง แต่หากการรักษาตอบสนองไปในทิศทางที่ไม่ได้ผล การหยอดตา ไม่ได้ผล ยาไม่ตรงกับเชื้อ จะต้องทำการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา

​โดยอาการแทรกซ้อนที่มักพบได้บ่อยคือการติดเชื้อลุกลามทั้งดวงตา กระจกตาทะลุ หรือต้อหินได้

การป้องกันการเกิดอาการกระจกตาอักเสบติดเชื้อ

​อาการกระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อนั้น มีสาเหตุมาจากการได้รับเชื้อจากภายนอกร่างกาย สามารถป้องกันได้ ดังนี้

​1. ใช้คอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐาน ไม่สวมใส่คอนแทนเลนส์เป็นระยะเวลานานจนเกินไป รวมไปถึงต้องทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้

​2. เปลี่ยนตลับใส่เลนส์ทุกๆ 3 เดือน หรือบ่อยกว่านั้น รวมทั้งทำความสะอาดอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสะสม

​3. ใช้น้ำยาล้างเลนส์ที่ยังไม่หมดอายุ เพื่อประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ห้ามใช้น้ำประปา น้ำเปล่า ในการทำความสะอาดโดยเด็ดขาด

​4. ไม่ใส่คอนแทคเลนส์นอน เพราะจะทำให้ดวงตาขาดออกซิเจนเป็นเวลานานขณะนอน

​5. ไม่ใช้มือขยี้ตา เพราะอาจทำให้เชื้อโรคที่ติดอยู่ที่มือเข้าสู่ดวงตาได้ และหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

​6. หากมีอาการตาแดง อย่าใช้มือสัมผัส ให้ใช้การหยอดตา เพื่อรักษา

​7. รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น ที่นอน ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ความสะอาดภายในบ้าน โดยอาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เป็นต้น

หากพบว่าตนเองมีอาการ เจ็บตา ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล หรือพบว่ามีจุดขาวขุ่นที่ดวงตา แล้วมีอาการมองไม่ชัด ให้รีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอาการ อย่ารอให้อาการรุนแรงจนยากต่อการรักษา เพราะอาจส่งผลร้ายแรงกว่าที่คิด โดยควรมีโปรแกรมตรวจสุขภาพตาประจำปีด้วย เพื่อตรวจเช็กสุขภาพตาเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพทางกาย จะได้ห่างไกลจากอาการกระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อ

 วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
 ก่อนทำเลสิกต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง? เตรียมตัวอย่างไร?
 วุ้นตาเสื่อมมีโอกาสตาบอดไหม
 Femto Lasik เลสิกไร้ใบมีด นวัตกรรมแก้ไขปัญหาสายตา
 เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene) ดียังไง ช่วยแก้สายตาพร่ามัว บำรุงสายตาจริงไหม
 วิธีทดสอบสายตาอย่างไร ให้รู้ว่าเป็นภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
 ข้อควรรู้ก่อนทำเลสิก (Lasik) เลสิกมีกี่แบบ
 คนสายตาเอียง (Astigmatism) มองเห็นภาพแบบไหน รักษาได้อย่างไรบ้าง
 ตาไม่สู้แสง แสบตาตลอดเวลาโดนลม อาการเริ่มต้นต้อลม
 ในบางวันตื่นนอนแล้วตามี 3 ชั้น และบางวันมีแค่ 2 ชั้น

Copyright © 2024 All Rights Reserved.