ต้อหินมุมปิดรักษาอย่างไรให้หายขาด ใช้เวลานานไหม

 ต้อหินมุมปิดรักษาอย่างไรให้หายขาด ใช้เวลานานไหม

ต้อหินมุมปิดมี 2 ลักษณะ หากเกิดแบบเฉียบพลันต้องรีบรักษาทันทีที่มีอาการ ส่วนแบบเรื้อรังสามารถยับยั้งความรุนแรงได้ถ้าตรวจพบในระยะเริ่มต้น 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราต้องสูญเสียการมองเห็นก็คือต้อหิน โดยต้อหินมุมปิด เป็นต้อหินประเภทหนึ่งที่มีอันตรายในกรณีที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน แต่ก็มีโอกาสรักษาให้หายได้ ใช้เวลานานขนาดไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

ต้อหินมุมปิดคืออะไร

ต้อหินมีหลายประเภท ประเภทที่มักจะเกิดขึ้นกับคนไทยแบบกะทันหันบ่อย ๆ คือต้อหินแบบมุมปิด เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างภายในลูกตาในส่วนของมุมระบายน้ำซึ่งถูกปิดทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นแล้วไปกดทับเส้นประสาทตา

ต้อหินมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ต้อหิน 4 ประเภท

1.ต้อหินมุมเปิดชนิดนี้พบบ่อยเช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแสดงอาการ ช่วงเริ่มต้นของโรคมีอาการน้อยมาก เป็นแค่เพียงการมองเห็นที่แคบลงทีละนิด การมองเห็นภาพด้านข้างทั้งสองข้างจะค่อย ๆ ถูกบีบเข้ามา แต่ยังมองเห็นได้อยู่ จนกว่าภาพจะแคบลงมากขึ้นผู้ป่วยจึงเริ่มรู้ตัว ต้อชนิดนี้ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาในระยะสุดท้ายการมองภาพจะแคบลงจนปิดสนิทมองไม่เห็นอะไรเลย2.ต้อหินชนิดแทรกซ้อนมาจากโรคตาอื่น ๆเช่น โรคต้อกระจกในระยะต้อสุกและกลายมาเป็นต้อหิน หรือเกิดจากตาบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุ ผ่าตัดตา หรือตาอักเสบเนื่องจากตัวโรคเองหรือจากการใช้ยาสเตียรอยด์ที่มีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้ต้อชนิดเดิมกลับรุนแรงขึ้นจนเกิดต้อหิน3.ต้อหินโดยกำเนิดพบมากในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 1 ขวบ หรือเป็นโรคตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาที่มีอายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน ต้อชนิดนี้มาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เด็กจะมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่ปกติ เช่น ลูกตาใหญ่ ตามองแสงไม่ได้ กระจกตาขุ่น มีน้ำตาไหลมาก4.ต้อหินมุมปิดเป็นชนิดที่กำลังกล่าวถึงในบทความนี้ นอกจากจะเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างตาแล้ว ยังเกิดได้ถ้ามีปัจจัยกระตุ้น เช่น การได้รับยาที่ทำให้รูม่านตาขยายมากจะส่งผลให้ม่านตาเคลื่อนเข้ามาปิดเนื้อเยื่อกรองน้ำลูกตา ทำให้ระบายไม่ได้และความดันในตาสูงขึ้น

อันตรายของต้อหินมุมปิด

ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วและตั้งตัวไม่ทัน เป็นการเสี่ยงอันตรายมาก ถ้ารักษาไม่ทันจะส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทตาจนเกิดภาวะสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร สาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วเป็นเพราะช่องระบายน้ำในตาถูกปิดและความดันสูงขึ้นอย่างกะทันหัน  อาการมักจะเกิดขึ้นกับดวงตาทั้งสองข้างได้ โดยหลังจากที่เกิดขึ้นกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งไปแล้ว มีโอกาสสูงที่จะเกิดกับดวงตาอีกข้างหนึ่งภายใน 5 - 10 ปี

ต้อหินมุมปิดมีกี่ลักษณะ

โรคที่เกิดขึ้นมีสองลักษณะคือ 

1.แบบที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเกิดขึ้นได้จากการที่ความดันตาสูงกะทันหัน ตามัวลงในระยะเวลาสั้น ๆ อาการที่จะเกิดขึ้นมีหลายอาการคือ ตาแดง กระจกตาขุ่น ปวดตาและปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ มองเห็นรัศมีรอบ ๆ ดวงไฟ เห็นภาพซ้อน

2.แบบที่มีอาการเรื้อรังต่อเนื่องเกิดจากความดันลูกตาค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นต้อหินประเภทนี้จะใช้เวลานานเป็นปี บางคนเริ่มจากอาการปวดตาเล็กน้อย แต่บางคนไม่มีอาการปวดเลย การมองเห็นภาพต่าง ๆ ถ้าไม่ได้สังเกตจะไม่รู้สึกว่าผิดปกติ แบบแรกมีโอกาสหายถ้ารักษาได้เร็ว แบบที่สองสามารถชะลออาการได้

เป็นต้อหินมุมปิดรักษาหายได้หรือไม่

สำหรับต้อหินแบบเฉียบพลันโอกาสในการที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาดจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยการลดความดันตาลงให้เร็วที่สุด โอกาสที่จะหายจากโรคนี้ควรได้รับการรักษาภายใน 24 - 72 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะกลับมาเป็นต้อหินอีกหรือไม่ บางคนเป็นขณะที่บางคนไม่เป็นอีกเลย ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและปัจจัยกระตุ้น เช่น การใช้สายตา กรรมพันธุ์ โรคทางตาหรือโรคประจำตัวต่าง ๆ 

ส่วนต้อหินเรื้อรังหากใครตรวจพบได้เร็วนับว่าเป็นโชคดี แม้ว่าจะรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่ชะลอความรุนแรงได้ ด้วยการใช้ยาลดความดันตา และใช้แว่นตาป้องกันสายตาจากแสงแดด ลม และสิ่งสกปรก จะช่วยป้องกันการลุกลามของต้ออื่นๆได้

วิธีการและระยะเวลาในการรักษาต้อหินมุมปิด

การรักษาต้อหินสามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

-รักษาโดยการใช้ยาประเภทของยาต้อหินมีหลายชนิด ต่างกันที่กลไกการทำงานของยา ประสิทธิภาพ การออกฤทธิ์ และผลข้างเคียง หากเป็นการรักษาต่อเนื่องในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยาประเภทยาหยอด แต่ถ้าเป็นยากินหรือยาฉีดจะใช้สำหรับกรณีที่คนไข้ต้องเข้าผ่าตัดหรือความดันลูกตาสูงมากซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆเพราะยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงมาก การใช้ยาหยอดตาจึงมีความสำคัญ แพทย์จะต้องควบคุมการใช้ยาของคนไข้อย่างเคร่งครัด สำหรับกรณีของโรคเรื้อรังจะต้องมีวินัยในการใช้ยาอย่างต่อเนื่องและคนไข้จะต้องได้รับการดูแลติดตามอาการเป็นระยะ เพื่อระมัดระวังการเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการปัสสาวะบ่อย อาการชานิ้วมือและนิ้วเท้า นิ่วในไต เป็นต้น-รักษาโดยการทำเลเซอร์เพื่อลดความดันลูกตาและช่วยให้ดวงตาระบายน้ำได้ดีขึ้น เป็นวิธีที่แพทย์จะพิจารณาให้ทำหากว่าการใช้ยาตามวิธีแรกไม่ได้ผล การทำเลเซอร์เพื่อรักษาโรคนี้หลังจากทำแล้วจะมีอาการเคืองตาบ้าง บางคนมีอาการตาแห้ง แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง ส่วนใหญ่แล้วการเลเซอร์จะได้ผลดีแต่ไม่ใช่การรักษาให้หายขาดถาวร โรคนี้สามารถกลับมาเป็นอีกได้ในเวลา 1 - 5 ปี หรืออาจจะไม่เป็นอีกก็ได้แล้วแต่บุคคล แต่ถ้าหากกลับมาเป็นอีกก็สามารถทำเลเซอร์ซ้ำได้-รักษาโดยการผ่าตัดในลักษณะของการผ่าเปิดทางให้น้ำในตาระบายออกไปได้ดีขึ้นโดยวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธีด้วยกัน เช่นสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปเพื่อระบายน้ำหรือ เปิดแผลที่ช่องระบายน้ำเพื่อให้ความดันในลูกตาลดลง

วิธีต่าง ๆ ในการรักษาโรคที่กล่าวมาควรทำโดยเร็วจึงจะช่วยจัดการกับโรคนี้ได้ และข้อสำคัญก็คือต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลที่พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อการรักษาโรคอย่างได้ผล และมี โปรแกรมตรวจสุขภาพตา สำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อเป็นการเช็กความผิดปกติของดวงตา การตรวจพบได้เร็วจะช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที

ข้อแนะนำการดูแลสายตาเพื่อลดความเสี่ยงต้อหิน

ทุกคนมีโอกาสเป็นโรคต้อหินเมื่ออายุมากขึ้น คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศหญิงควรหมั่นสังเกตการมองเห็นของตนเอง ดูแลสุขภาพดวงตา ให้ความสำคัญกับโภชนาการ เลือกรับประทาน เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ไม่ต้องปรุงรสจัด และงดน้ำตาล

และควรสังเกตความผิดปกติของดวงตาบ่อย ๆ วิธีสังเกตอาการในเบื้องต้นคือใช้มือปิดตาไว้หนึ่งข้างใช้ตาอีกข้างมองเพียงข้างเดียว แล้วกลอกตามองไปรอบ ๆ ทั้งด้านซ้าย ด้านขวา เหลือกตาขึ้นบนและมองลงล่าง จากนั้นสลับข้างทำเหมือนกัน การมองด้วยตาข้างเดียวจะช่วยเช็กความผิดปกติของลานสายตาได้ว่าสามารถมองเห็นภาพได้โดยรอบหรือไม่ หากมองเห็นภาพไม่ได้ทั้งหมด มีบางจุดมืดไป เช่น ที่ด้านข้าง อาจเป็นสัญญาณของต้อหิน ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

การดูแลดวงตาและตรวจเช็กอาการอยู่เสมอช่วยลดโอกาสที่จะเป็นโรคนี้อย่างรุนแรง  และผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับ โปรแกรมตรวจสุขภาพตา ปีละ 1 ครั้ง เป็นโปรแกรมสำหรับการตรวจสุขภาพดวงตาโดยมีการตรวจเช็กอย่างละเอียด ทั้งจอประสาทตาและตรวจภาวะต้อต่าง ๆ ภาวะสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาวของอายุ สายตาเอียง หรือถ้าหากว่าท่านใดมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน ควรจะพบแพทย์ก่อนอายุ40เพราะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น เพื่อดวงตาที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะได้อยู่กับเราไปตลอดชีวิต

 ใครเสี่ยงเป็นวุ้นในตาเสื่อมบ้าง พร้อมแนะนำแนวทางการป้องกันและรักษาให้ถูกวิธี
 ทำไมใส่คอนแทคเลนส์แล้วตามัว ทำอย่างไรดี
 ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK
 วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
 เบาหวานขึ้นตา รีบรักษาก่อนตาบอด
 นักทัศนมาตร (Optometrist) คือใคร ทำไมต้องตัดแว่นกับนักทัศนมาตร
 หลังผ่าตัดต้อเนื้อจะเจ็บมากมั้ย พักฟื้นกี่วัน
 ทำความรู้จักกับภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ พร้อมวิธีการรักษา
 Lasik ใบมีด และ FemtoLASIK ต่างกันอย่างไร
 คัดมาแล้ว! 5 อาหารเสริมบำรุงสายตา ลดเสี่ยงตาเสื่อมในวัยทำงาน

Copyright © 2024 All Rights Reserved.