ICL หรือ Implantable Collamer Lens ทางเลือกใหม่การรักษาสายตาผิดปกติ
ICL การผ่าตัดรักษาสายตาด้วยวิธีการใส่เลนส์ชนิดพิเศษ ให้ผลข้างเคียงน้อยที่สุด เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการเลสิก (Lasik) ช่วยรักษาสายตาให้กลับมามองเห็นได้ชัด
Collamer Lens แบบใส่เลนส์ (ICL) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในโลกของการผ่าตัดรักษาสายตาที่ผิดปกติ เช่นเดียวกับเลนส์แก้วตาเทียม (IOL หรือ Intra-Ocular Lens) ที่ใช้ในการผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งการรักษาแบบ ICL เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแทนการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Laser In Situ Keratomileusis หรือ LASIK ที่ใช้วิธีการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาให้สามารถรับแสงและการมองเห็น
โดยในวันนี้จะพาไปรู้จักกับเลนส์ Collamer ว่าคืออะไรและมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างในการรักษาสายตาให้กลับมามองเห็นได้ชัด
รู้จักการทำ ICL
ICL (Implantable Collamer Lens) คือการผ่าตัดและใส่เลนส์พิเศษเข้าไปในตาเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาที่ผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียง การทำ ICL เป็นการแก้ไขปัญหาสายตาโดยไม่ต้องลอกหรือปรับแต่งกระจกตาเหมือนการทำเลสิก (Lasik) เพียงแต่เลนส์ ICL จะถูกฝังอยู่ภายในกระจกตาด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จากนั้นจะใส่เลนส์ชนิดพิเศษนี้ลงไปให้ทำงานร่วมกับเลนส์ธรรมชาติของตาเพื่อให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น โดยไม่ต้องเย็บแผลผ่าตัด เพราะแผลดังกล่าวจะหายได้เอง การทำ ICL เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิก (Lasik) แบบต่างๆ ได้
ลักษณะพิเศษของการทำ ICL
การทำ Implantable Collamer Lens หรือ ICL เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่เลนส์ตาเทียมลงไป โดยไม่ต้องผ่าตัดเพื่อลอกเอาเลนส์ตาธรรมชาติออก และสามารถที่จะนำเลนส์ ICL ดังกล่าวออกได้เมื่อต้องการ ซึ่งเลนส์ ICL ทำจากวัสดุ Collamer ซึ่งเป็นวัสดุที่มีผสมผสานระหว่างคอลลาเจนบริสุทธิ์และโคโพลีเมอร์ (Copolymer) ที่มีความยืดหยุ่นสูงและเป็นมิตรกับร่างกายมนุษย์ ทำให้ลดโอกาสการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย ตัวเลนส์เป็นเลนส์เฉพาะบุคคลจึงสามารถใช้แก้ไขปัญหาสายตาถาวรได้ โดยเลนส์ที่จะนำมาใช้ในการรักษาจะต้องผ่านการตรวจวิเคราะห์ค่าทางสายตาจากจักษุแพทย์และเครื่องมือสำหรับการตรวจวัดที่ให้ผลวิเคราะห์ที่แน่ชัด ก่อนที่จะสั่งตัดเลนส์ ICL จากต่างประเทศ
การผ่าตัด ICL เป็นเพียงการเปิดแผลขนาดเล็กที่กระจกตา โดยไม่ต้องลอกกระจกตาหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตาเหมือน ไมโครเครราโตม เลสิก (Microkeratome Lasik) ขั้นตอนการฝังเลนส์เข้าไปใต้กระจกตาด้วยการมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ซึ่งไม่จำเป็นต้องเย็บแผล เพราะมีขนาดเล็กมาก ทำให้การฟื้นตัวรวดเร็วและมีความเสี่ยงต่ำ ในอนาคตหากสายตามีการเปลี่ยนแปลงหลังการทำ ICL ตัวเลนส์ก็สามารถถอดออกหรือปรับเปลี่ยนได้ หลังการผ่าตัดเพื่อฝังเลนส์ ICL เข้าไปในดวงตา จะช่วยให้การมองเห็นที่คมชัดและมีคุณภาพสูง เนื่องจากเลนส์จะทำงานร่วมกับเลนส์ธรรมชาติของตา
ใครที่สามารถทำ ICL ได้บ้าง
การทำ ICL (Implantable Collamer Lens) อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาดังนี้
-เป็นผู้มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง-ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องมีอายุระหว่าง 21 – 45 ปีและมีสภาพสายตาและการมองเห็นคงที่-เป็นผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของกระจกตาบาง หรือปัญหากระจกตาไม่สม่ำเสมอ-ผู้ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยเลสิก (Lasik)ได้ทุกกรณี-ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาตาแห้ง-ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติโรคตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือเบาหวานขึ้นจอประสาทตา-ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดแก้ไขสายตามาก่อน
ข้อดีของการทำ ICL
ข้อดีของการทำ ICL (Implantable Collamer Lens) มีหลายประการ ซึ่งผู้เข้ารับการรักษาอาจใช้เป็นทางเลือกในการพิจารณาเพื่อการรักษาสายตาดังนี้
-ให้การมองเห็นที่คมชัดและมีคุณภาพสูงเนื่องจากเลนส์ทำงานร่วมกับเลนส์ธรรมชาติของตา-การทำ ICL เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กและไม่ต้องลอกหรือปรับแต่งกระจกตา ทำให้การฟื้นตัวรวดเร็วและมีความเสี่ยงต่ำ-เลนส์ ICL ทำจากวัสดุ Collamer ซึ่งเป็นมิตรกับร่างกายมนุษย์และลดโอกาสการเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน จึงมีความปลอดภัย ไม่พบอาการแพ้ ส่วนการเลเซอร์ตา ผลข้างเคียงอาจทำให้พบอาการแพ้ในรายบุคคล-เลนส์ ICL จะไม่เสื่อมคุณภาพและไม่ขุ่นมัวลงตลอดอายุการใช้งาน-หากสายตามีการเปลี่ยนแปลงหลังการทำ ICL เลนส์ก็สามารถถอดออกหรือปรับเปลี่ยนได้-เลนส์ ICL มีความสามารถในการปกป้องดวงตาจากแสง UV ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาที่เกี่ยวข้องกับแสงUV เช่น ต้อกระจก-ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยมาก เพราะแผลผ่าตัดค่อนข้างเล็กและไม่ทำให้กระจกตาได้รับความเสียหาย-โอกาสเกิดแสงแตกกระจายน้อยกว่าการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์มาก
ขั้นตอนการเตรียมตัวและการผ่าตัดด้วยวิธี ICL
การผ่าตัดตาด้วยวิธีการ ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นการผ่าตัดที่ต้องการความแม่นยำและความเชี่ยวชาญจากจักษุแพทย์และเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีขั้นตอนการรักษาดังนี้
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
-แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียดเพื่อประเมินความเหมาะสมในการทำ ICL โดยการวัดค่าความโค้งของกระจกตา ขนาดของรูม่านตาและสภาพทั่วไปของตา-แพทย์อาจแนะนำให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ (Contact Lens)ล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้กระจกตากลับสู่สภาพปกติ-แพทย์จะอธิบายรายละเอียดของการผ่าตัด ประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงตอบคำถามและข้อสงสัยของผู้ป่วย
ขั้นตอนการผ่าตัด
-แพทย์จะให้ยาชาหยอดตาเพื่อให้ตาชาและไม่รู้สึกเจ็บปวดในระหว่างการผ่าตัด-แพทย์จะใช้เครื่องมือเล็กๆ ในการถ่างตา เพื่อป้องกันการกระพริบตาและผ่ากระจกตาให้เป็นรอยเล็กๆ เพื่อใช้ในการสอดใส่เลนส์ ICL-แพทย์จะพับเลนส์ ICL ในหัวเครื่องมือที่จะสอดเข้าไปในตาผ่านแผลขนาดเล็ก เลนส์จะคลี่ตัวกางออก จากนั้นจะปรับแต่งเลนส์ให้เข้าที่ระหว่างกระจกตาและเลนส์ธรรมชาติของตา-แพทย์จะตรวจสอบตำแหน่งของเลนส์ ICL และปรับแต่งให้เข้าที่อย่างเหมาะสม-แผลขนาดเล็กที่กระจกตาจะปิดเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องเย็บ
การดูแลตนเองหลังการรักษา
การดูแลตนเองหลังการทำ ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน มีคำแนะนำดังนี้
-หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามาก เช่น การอ่านหนังสือ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด พักผ่อนให้เพียงพอ-หลีกเลี่ยงการขยี้ตา หรือสัมผัสตาด้วยมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการกระทบกระเทือน-ห้ามให้ตาโดนน้ำประมาณ 2 สัปดาห์-ใช้ยาหยอดตาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อลดการอักเสบและป้องกันการติดเชื้อ-หลังการผ่าตัดควรใส่แว่นกรองแสงในช่วงเวลากลางวัน และใส่ที่ครอบตาในช่วงเวลากลางคืน อย่างน้อย 1 สัปดาห์-ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงการไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัด-หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากหรือเสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนต่อดวงตา เช่น การยกของหนัก หรือการออกกำลังกายหนัก
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษา
แม้ว่าการทำ ICL จะมีความปลอดภัยสูงและผลลัพธ์ที่ดี แต่ยังมีผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะหลังการผ่าตัดที่ต้องเฝ้าระวังในส่วนของความดันลูกตา เพราะการใส่เลนส์แทรกเข้าไประหว่างกระจกตาอาจทำให้มีแรงดันตาเพิ่มสูงขึ้น ในบางรายอาจต้องใช้ยาลดความดันลูกตาช่วยหากพบว่ามีความดันลูกตาเพิ่มสูงขึ้น แต่ในภาพรวมถือว่ามีโอกาสเกิดน้อยมาก นอกจากนี้ควรระมัดระวังอาการแทรกซ้อนเหมือนการผ่าตัดตาทั่วไป อาทิ
-การติดเชื้อ แม้ว่าจะพบได้น้อย แต่การติดเชื้อยังคงเป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง-การอักเสบ อาจเกิดการอักเสบภายในตาหลังการผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาหยอดตา-ในช่วงการฟื้นตัว ผู้ป่วยอาจมองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรือมีภาพซ้อน-โดยรวมให้ระมัดระวังในเรื่องของความสะอาด ส่วนใหญ่อาจละเลยหรือพลาดที่จะทำความสะอาดตามที่แพทย์สั่ง โดยเฉพาะคนที่อยู่คนเดียวไม่มีผู้อื่นคอยช่วยเหลือระหว่างพักฟื้นอยู่ที่บ้าน
การทำ ICL เป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาและไม่สามารถทำเลสิก (Lasik) ได้ เนื่องจากกระจกตาไม่หนาพอที่จะรักษาได้อย่างปลอดภัยด้วยการผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์
การดูแลตนเองหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญเพื่อความปลอดภัย ควรดำเนินการโดยจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี พร้อมเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้มาตรฐานระดับสากล
บริษัท โรงพยาบาลตากรุงเทพ จำกัด
อาคารเดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม 540 ชั้น7 ห้อง703
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1033002-869-8899
Copyright © 2024 All Rights Reserved.