ภาวะสายตาเลือนราง VS ตาบอด ปล่อยไว้ไม่ได้

 ภาวะสายตาเลือนราง VS ตาบอด ปล่อยไว้ไม่ได้

ภาวะสายตาเลือนราง เป็นภาวะมองเห็นลดลง และเป็นสัญญาณเตือนให้ร่างกายได้รับรู้ ว่าหากมีอาการที่รุนแรงหรือแทรกซ้อน จะนำไปสู่การตาบอด สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ดังนั้นเราควรทราบสาเหตุ อาการ การตรวจและรักษาภาวะดังกล่าว

ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เรามองเห็นและรับรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างชัดเจน การดูแลสุขภาพตา ถนอมสายตา ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำจึงมีความสำคัญ เพราะหากละเลย อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ เช่น จอตาเสื่อม จอตาลอก ต้อหิน เส้นประสาทตาผิดปกติ แผลกระจกตา ซึ่งปัญหาดังกล่าวพบได้บ่อยของภาวะสายตาเลือนลาง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่าง สาเหตุ อาการ การรักษาและตรวจสุขภาพตาเป็นประจำจึงมีความสำคัญมาก

ความแตกต่างระหว่างภาวะสายตาเลือนรางและตาบอด

●ภาวะตาเลือนราง คืออะไร

ภาวะตาเลือนราง หรือ Low Vision คือ ภาวะบกพร่องการมองเห็น โดยที่ผู้ป่วยยังพอมองเห็นได้บ้างซึ่งอาจจะมองเห็นรางๆ ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยยา เลเซอร์ หรือการผ่าตัด สาเหตุ ตาพร่ามัว ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากโรคตา เช่น โรคต้อหิน โรคของจอตา  โรคของเส้นประสาทตา โรคของกระจกตา

●ตาบอด คืออะไร

ภาวะตาบอด เป็นภาวะที่สูญเสียการมองเห็นทั้งหมดอย่างถาวร โดยที่ผู้ป่วยอาจจะมองเห็นแค่แสงหรือมองไม่เห็นเลย ภาวะนี้ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยยา เลเซอร์ หรือการผ่าตัดได้เลย โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคตา โรคสมอง และอุบัติเหตุ 

ซึ่งคนที่ตาบอดก็จะดำเนินชีวิตที่ยากลำบากกว่าคนที่มีดวงตาปกติหลายเท่า จึงใช้วิธีการอื่นสัมผัสแทนการมองเห็น 

สาเหตุของอาการตาบอด

-โรคตา ประกอบไปด้วย ต้อหิน, ต้อกระจก, โรคจอประสาทตาเสื่อม, เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)-การบาดเจ็บที่ดวงตา เช่น การโดนวัตถุแหลมคมหรือสารเคมีเข้าตา-การติดเชื้อที่ดวงตา เช่น การติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา-โรคเส้นประสาทตาเช่น โรคเส้นประสาทตาเสื่อมที่มีสาเหตุจากพันธุกรรมหรือโรคที่มีผลต่อระบบประสาท

อาการของการตาบอด

-มองเห็นได้น้อยกว่า3/60 หรือ ตรวจลานสายตาได้น้อยกว่า 10 องศา กล่าวคือ อาจจะมองเห็นแค่แสงหรือรูปร่างได้หรือวัตถุในระยะที่ใกล้มากๆ หรือมองเห็นเหมือนอยู่ในอุโมงค์ที่แคบมากๆ

สาเหตุของภาวะสายตาเลือนราง

สาเหตุ ตาพร่ามัว เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยมีด้วยกันดังนี้ 

-ต้อหิน ถือเป็นโรคที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โดยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ กล่าวคือ ไม่มีอาการเจ็บ หรืออาการของต้อให้เห็น ผู้ป่วยจะมารู้อีกทีก็เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายที่ทำเอาจนมองไม่เห็นแล้ว เพราะโรคต้อหินจะไปทำลายระบบขั้วประสาทตา จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ไม่เหมือนต้อเนื้อ ต้อลมหรือต้อกระจก ที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตัวเอง-จอตาเสื่อม มักจะเป็นในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป เป็นโรคที่ทำให้จอประสาทตาไม่สามารถรับภาพได้ดีเหมือนกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมองเห็นรางๆหรือมองเห็นวัตถุบิดเบี้ยวภาพขาดความคมชัด หากมีอาการรุนแรงขึ้นอาจทำให้ตาบอด มองไม่เห็นถาวรได้-เส้นประสาทตาเสื่อม มีด้วยกัน 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่ สาเหตุที่มาจากโรคตาและไม่ใช่โรคตา เช่น การขาดสารอาหารบางอย่าง หรือการมีปัญหาเรื่องการดูดซึมวิตามินและเกลือแร่, พิษจากบุหรี่และสุรา, ยาบางชนิด-สายตาสั้นมากๆ เกิดจากความผิดปกติของสายตา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ หากไม่ใช้แว่นสายตา-กรรมพันธุ์ เด็กที่เกิดมาจากครอบครัวที่พ่อแม่มีค่าสายตาที่สั้นมากหรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นต้อหินหรือจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น

อาการของภาวะสายตาเลือนราง

มองเห็นได้มากกว่า 3//60 หรือ ตรวจลานสายตาได้มากกว่า 10 องศา ทั้งนี้อาการของภาวะสายตาเลือนรางอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับการมองเห็นและสาเหตุของโรค เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้นระดับ 600 ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมากที่จะมีภาวะโรคอื่นแทรก เช่น ต้อหิน, จอประสาทตาเสื่อม, จอประสาทตาหลุด เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีสายตาสั้นในระดับดังกล่าวควรได้รับการตรวจและรักษาด้วยจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนตามที่กล่าวมาเบื้องต้น อาการที่พบประกอบไปด้วย

-มองเห็นไม่ชัด-มองเห็นภาพซ้อน-ปวดตาในบางครั้ง-อาจมีอาการปวดหัวร่วมอยู่ด้วย-ตาพร่า-มองเห็นแสงวาบหรือจุดลอย-บางรายอาจมองเห็นภาพบิดเบี้ยว

การรักษาภาวะสายตาเลือนราง

การรักษาภาวะสายตาเลือนรางจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค โดยทั่วไปแล้วสามารถดูแลรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

-ใช้แว่นขยายในการอ่านหนังสือ หรือใช้ตัวหนังสือที่ใหญ่ในสมาร์ทโฟน-การเข้ารับการตรวจเช็กสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

โดยหากผู้ป่วยมีภาวะสายตาผิดปกติอยู่แล้ว ควรเข้ารับการตรวจเช็กสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็กค่าสายตาว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่ เป็นวิธีถนอมสายตาอีกวิธี โดยค่าสายตาที่ควรระวังคือตั้งแต่ 500-600 เพราะอาจทำให้เผชิญกับภาวะแทรกซ้อน จนนำไปสู่ภาวะตาบอดได้ โดยปัจจุบันการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาผิดปกติมีหลายวิธีเช่น การใส่แว่น การใช้คอนแทคเลนส์ การทำเลสิค ซึ่งการทำเลสิคเป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะปรับปรุงการมองเห็นโดยไม่ต้องพึ่งแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ใช้เวลาในการรักษาเพียงไม่กี่นาทีต่อข้าง ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวและกลับไปทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ

การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นวิธีการถนอมสายตา การรักษาสุขภาพตาและการมองเห็นที่ดี เพราะดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เรามองเห็นและรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน การตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคตาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เหตุผลที่การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำมีความสำคัญ

1.การตรวจพบโรคตาในระยะแรก เช่น ต้อหิน, ต้อกระจก, โรคจอประสาทตาเสื่อมและเบาหวานขึ้นตาสาเหตุ ตาพร่ามัวเพราะโรคเหล่านี้มักจะไม่ค่อยแสดงผลในช่วงระยะแรกและมักจะมาออกอาการในตอนช่วงสุดท้ายของโรคแล้วและมักจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็น การตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอช่วยให้สามารถตรวจพบและรักษาโรคเหล่านี้ได้ทันที ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นลงได้

2.การแก้ไขปัญหาสายตา  การตรวจสุขภาพตาช่วยให้ทราบถึงปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น, สายตายาว, สายตาเอียง และสายตายาวในผู้สูงอายุซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการทำเลสิก การผ่าตัดเสริมเลนส์ตา เปลี่ยนเลนส์ตา เป็นต้น

3.การประเมินสุขภาพทั่วไป การตรวจสุขภาพตาสามารถช่วยตรวจพบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาได้

4.ช่วยป้องกันและรักษาอาการตาล้าและตาแห้ง ซึ่งเป็นการถนอมสายตาแบบหนึ่งการใช้เวลามากกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือสามารถทำให้เกิดอาการตาล้าและตาแห้ง การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำช่วยให้แพทย์สามารถให้คำแนะนำในการป้องกันและรักษาอาการเหล่านี้ได้

ดังนั้นการตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นวิธีการถนอมสายตาและช่วยตรวจเจอโรคในระยะต้นได้ ทำให้ส่งผลดีในการรักษาและการพยากรณ์โรค 

สรุป ภาวะสายตาเลือนราง และตาบอด ไม่ใช่อาการเดียวกัน แต่ทั้งสองเป็นปัญหาสุขภาพตาที่แตกต่างกันและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยการที่จะทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้นั้น อาจมีกระบวนการภาวะเลือนรางเข้ามาเกี่ยวด้วยทุกครั้ง จากนั้นค่อยลามไปสู่ปัญหาตาบอด ซึ่งระดับความรุนแรงและระยะเวลาของภาวะตาเลือนรางที่จะนำไปสู่การตาบอดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นทุกคนควรเข้ารับการตรวจตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่จะได้ ตรวจตาและหากพบอาการผิดปกติโดยเร็วจะสามารถแก้ไขได้ทัน

 อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต้อกระจก
 อาการตาแห้งแก้ได้อย่างไร ต้องหยอดตาหรือไม่
 วุ้นตาเสื่อมมีโอกาสตาบอดไหม
 คนสายตาเอียง (Astigmatism) มองเห็นภาพแบบไหน รักษาได้อย่างไรบ้าง
 วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
 นักทัศนมาตร (Optometrist) คือใคร ทำไมต้องตัดแว่นกับนักทัศนมาตร
 ICL หรือ Implantable Collamer Lens ทางเลือกใหม่การรักษาสายตาผิดปกติ
 ไขข้อข้องใจ สายตาเอียง (Astigmatism) หายเองได้หรือไม่
 วิธีทดสอบสายตาอย่างไร ให้รู้ว่าเป็นภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
 มองเห็นหยากไย่ ลอยไปลอยมา รักษาอย่างไร อันตรายหรือไม่?