สายตาสั้นแต่อยากทำ LASIK ใบมีด อันตรายไหม?
LASIK ใบมีด ได้รับการประยุกต์และพัฒนาให้สามารถผ่าตัดได้เทียบเท่ากับการรักษาด้วยเลเซอร์ แต่อาจต้องใช้เวลาในการพักฟื้นที่นานกว่า แต่มีค่ารักษาถูกกว่า
ปัญหาสายตาเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป แต่บางครั้งแว่นตาและคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อาจไม่เพียงพอต่อการรักษา เช่น คนที่มีสายตาที่สั้นมากๆ เกินกว่าจะใส่แว่นสายตาปกติได้ จนทำให้เสียบุคลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางอาชีพ เช่น นักบิน ที่ต้องการการมองเห็นที่คมชัดและความแม่นยำเป็นพิเศษ ดังนั้นการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่น การทำ Lasik ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
การทำ Lasik คืออะไร? มีกี่ประเภท?
●การทำLasikคืออะไร?
LASIK ย่อมาจาก Laser In Situ Keratomileusis เป็นการรักษาสายตาทางการแพทย์ด้วยวิธีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียง โดยการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาเพื่อให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น การทำเลสิก(Lasik)เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีความแม่นยำสูง ปลอดภัยและให้ผลลัพธ์ที่ดีเป็นที่น่าพอใจของผู้เข้ารับการรักษา
●ประเภทของLasik
การทำเลสิก (Lasik) เป็นการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ในการผ่าตัด จึงทำให้มีเทคนิคและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันตามความทันสมัยของเครื่อง เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการรักษาได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและสามารถกลับมามองเห็นได้ชัดเจนเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งการทำเลสิก(Lasik) มีหลายประเภท แต่ที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
1. Bladeless Lasik(FemtoLASIK)
การรักษาสายตาด้วย Bladeless Femto Lasik เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์แบบไม่ใช้ใบมีด โดยใช้เครื่อง เฟมโตเซเคินเลเซอร์(Femtosecond Laser) ในการแยกชั้นกระจกตาแทนการใช้ใบมีดแบบดั้งเดิม ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าโดยเฉพาะรอยแผลและการฟื้นฟู
จุดเด่นของการทำ Bladeless Femto Lasik
-ให้ความแม่นยำสูงเพราะสามารถกำหนดความหนาของชั้นกระจกตาได้ในระดับไมครอนทำให้การแยกชั้นกระจกตาได้เรียบสม่ำเสมอและแม่นยำกว่าการใช้ใบมีด-FemtoLasikมีความปลอดภัยด้วยพลังงานของเลเซอร์ที่ใช้นั้นมีระดับต่ำมากทำให้มีความปลอดภัยและเกิดผลข้างเคียงต่อกระจกตาน้อยมาก-ฟื้นตัวได้เร็วผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้สายตาได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากการแยกชั้นกระจกตาได้เร็วและแผลหายเร็ว-รองรับการรักษาได้ทั้งสายตาสั้นยาวและเอียง
ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษา
-ผู้ที่มีอายุ18ปีขึ้นไปและมีสายตาคงที่อย่างน้อย1ปี-ขณะเข้ารับการรักษาจะต้องไม่เป็นโรคตาชนิดอื่นเช่นโรคกระจกตาย้วย,ตาแห้งอย่างรุนแรง,ต้อหิน,จอประสาทตาเสื่อมรวมถึงไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผลเช่นโรคเบาหวานเป็นต้น
2. Microkeratome Lasik
ไมโครเครราโตม เลสิก (Microkeratome Lasik) เป็นวิธีการรักษาเลสิกด้วยใบมีด โดยใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่าMicrokeratome ซึ่งเป็นวิธีการทำเลสิกในยุคแรกๆ ที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือให้ทันสมัย โดยมีดที่ใช้ผ่าก็จะเป็นระบบอัตโนมัติ ในการสร้างฝาปิดกระจกตาและใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ในการปรับแต่งความโค้งของกระจกตา
จุดเด่นของการทำ Microkeratome Lasik
-ไมโครเครราโตมเลสิก(Microkeratome Lasik)สามารถรักษาค่าสายตาสั้นไม่เกิน-1000,สายตายาวไม่เกิน-500และสายตาเอียงไม่เกิน-600.-ใช้เวลาพักฟื้นน้อย-สามารถกลับมามองเห็นได้เต็มประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว-อ่อนโยนและก่อความระคายเคืองน้อยทั้งในช่วงระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด-ราคาค่อนข้างสูง
ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษา
-ผู้ที่มีสายตาสั้นและเอียงไม่มาก-แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะกระจกตาบางหรือไม่สม่ำเสมอ
3. ReLExSMILE
รีเล็กซ์ สไมล์ (ReLEx SMILE) เป็นเทคนิคการผ่าตัดเลสิคแบบทันสมัยที่ใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์(Femtosecond Laser) ในการผ่าตัด โดยแผลที่เกิดขึ้นน้อยมาก เหมือนไม่มีร่องรอยการผ่าตัดเลย
จุดเด่นของการทำ ReLEx SMILE
-แผลผ่าตัดเล็กเพียง2-3มม.ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและทำให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น-ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น-เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบางหรือมีภาวะตาแห้งที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษา
-ผู้ที่มีสายตาสั้นไม่เกิน1,000-ผู้ที่มีสายตาเอียงไม่เกิน500-ผู้ที่มีกระจกตาบาง
4. PRK (Photorefractive Keratectomy)
prk เป็นวิธีการรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ที่ใช้แสงเลเซอร์กำจัดเนื้อเยื่อบุกระจกตาออก โดยไม่มีการแยกชั้นกระจกตา จากนั้นใช้ เอ็กไซเมอร์เลเซอร์(Excimer Laser) ในการปรับรูปร่างของกระจกตา
จุดเด่นของการทำ PRK
-สามารถแก้ไขค่าสายตาผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ-มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยใช้เวลาพักฟื้นน้อยสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังทำ-หมดกังวลเรื่องกระจกตาเคลื่อนเนื่องจากไม่มีการแยกชั้นกระจกตา
ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษา
-ผู้ที่มีอายุ18ปีขึ้นไปควรมีค่าสายตาคงที่1ปีขึ้นไป-ผู้ที่มีค่าสายตาสั้น500สายตาเอียง200-ผู้ที่มีกระจกตาบางมีปัญหาตาแห้ง
สายตาสั้นแค่ไหนควรทำ Lasik
การทำเลสิก (Lasik) เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยควรมีสภาพสายตาคงที่อย่างน้อยหนึ่งปีและมีคุณสมบัติดังนี้
-เป็นผู้ที่มีค่าสายตาคงที่หรือค่าสายตาไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา-เป็นผู้ที่มีสายตาสั้นสายตายาวและสายตาเอียงตั้งแต่กำเนิด-เป็นผู้ที่มีสายตาสั้นตั้งแต่75 – 1,200หรือไม่สามารถที่จะใช้แว่นตาคอนแทคเลนส์(Contact Lens)ในการแก้ไขปัญหาได้
ใครบ้างที่ควรทำ และไม่ควรทำ Lasik
●ผู้ที่ควรทำเลสิก(Lasik)-ผู้ที่มีอายุมากกว่า18ปีและมีสภาพสายตาคงที่-ผู้ที่มีสุขภาพตาดีไม่มีโรคตาเรื้อรังเช่นต้อหินหรือต้อกระจก-ผู้ที่ไม่มีโรคที่อาจมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวเช่นเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้-เป็นคนที่มีปัญหาสายตาสั้นสายตายาวและสายตาเอียง-เป็นผู้ที่ไม่สะดวกในการสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์เช่นทหารตำรวจนักบินหรือนักกีฬาบางชนิดกีฬา●ผู้ที่ไม่ควรทำเลสิก(Lasik)-เป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า18ปีหรือมีสภาพสายตายังไม่คงที่-เป็นผู้ที่มีโรคตาเรื้อรังเช่นต้อหินหรือต้อกระจก-ผู้ที่มีโรคที่อาจมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวเช่นเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
จะรู้ได้อย่างไรว่า Lasik ประเภทใดเหมาะกับเรา
การเลือกประเภทของเลสิก (Lasik) ที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด และประเมินความเหมาะสม ดังนี้
-Bladeless Lasikเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความแม่นยำและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับฝาปิดกระจกตา-MicrokeratomeLasikเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการผ่าตัดที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง-prk(Photorefractive Keratectomy)เหมาะกับผู้มีค่าสายตาที่ไม่มาก-ReLExSMILEเหมาะสำหรับคนที่ต้องการการฟื้นฟูหลังการผ่าตัดที่รวดเร็วเป็นคนที่มีกระจกตาบางหรือมีความหนาไม่เท่ากัน
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทำ Lasik ด้วยใบมีด
การทำเลสิก (Lasik) ด้วยใบมีด หรือไมโครเครราโตม เลสิก (Microkeratome Lasik) แม้จะมีความปลอดภัยสูงและได้รับการพัฒนาเครื่องที่ดีขึ้นแต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น
-อาจเกิดความผิดพลาดในการสร้างฝาปิดกระจกตาทำให้ฝาปิดกระจกตาไม่สมบูรณ์หรือหลุด-การติดเชื้อแม้จะพบได้น้อยแต่การติดเชื้อยังคงเป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง-การเกิดแผลเป็นบนกระจกตาซึ่งอาจเกิดแผลเป็นที่กระจกตาหลังผ่าตัด-ในช่วงการฟื้นตัวผู้ป่วยอาจมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีภาพซ้อน-อาจเกิดแสงสะท้อนหรือแสงฟุ้งในที่มืด
การดูแลตนเองหลังการรักษา
การดูแลตนเองหลังการผ่าตัด LASIK เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนที่เข้ารับการรักษาจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์
-หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามากเช่นการอ่านหนังสือหรือการใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงแรกและควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ-หลีกเลี่ยงแสงจ้าและใช้แว่นกันแดดเมื่อออกไปข้างนอกเพื่อป้องกันแสงUV-หลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือสัมผัสตาด้วยมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อหากมีความจำเป็นควรล้างมือก่อนเสมอ-ใช้ยาหยอดตาที่แพทย์สั่งตามคำแนะนำเพื่อช่วยในการฟื้นตัว-ใช้น้ำตาเทียมได้บ่อยครั้ง-ควรไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดและประเมินการฟื้นตัว
การทำเลสิก (Lasik) ด้วยใบมีดแม้อาจจะดูไม่ทันสมัย แต่มีความปลอดภัยและให้ผลลัพธ์ที่ดีหากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และดูแลตนเองหลังการผ่าตัดอย่างเหมาะสม
บริษัท โรงพยาบาลตากรุงเทพ จำกัด
อาคารเดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม 540 ชั้น7 ห้อง703
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1033002-869-8899
Copyright © 2024 All Rights Reserved.