รอยแผลเป็นที่ เรียกว่าคีลอยด์

 รอยแผลเป็นที่ เรียกว่าคีลอยด์

รอยแผลเป็นประเภทที่มีลักษณะนูนแข็งและมีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลธรรมดาเรียกว่า "คีลอยด์" การป้องกันไม่ให้เกิดรอยคีลอยด์สามารถทำได้โดยการดูแลแผลอย่างเหมาะสมหลังการผ่าตัด สำหรับกรณีที่มีรอยนูนเกิดขึ้นแล้วนั้น สามารถใช้การทายาและการนวดรอยแผล แต่ถ้าหากรอยแผลยังไม่ดีขึ้นหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาเพิ่มเติม เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์หรือการผ่าตัด

แผลเป็นที่เรียกว่าคีลอยด์ คืออะไร

คีลอยด์เป็นรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด กระบวนการเยียวยาผิวหนังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 

1. ระยะที่แผลอักเสบ

2. ระยะซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

3. ระยะปรับสภาพ ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ หลังจากที่แผลได้ปิดสนิทแล้ว ในช่วงเวลานี้อาจพบว่ามีการเกิดแผลเป็นเกิดขึ้นจากกระบวนการปรับสภาพ

รอยแผลเป็นมีหลายประเภท เช่น แผลปกติซึ่งสีของเนื้อบริเวณแผลจะซีด แต่ผิวจะเรียบ หรือแค่มีรอยที่มีสีเข้มเล็กน้อย, แผลเป็นแบบหลุม และแผลเป็นนูนเกิน ซึ่งคีลอยด์เป็นแผลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากเนื้อบริเวณแผลจะนูนออกมาจนผิดปกติ ทำให้ดูไม่สวยงาม และมีแนวโน้มที่จะหายยากกว่าปกติ

แผลเป็นชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นกับผิวบริเวณไหนก็ได้ที่เกิดแผล โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่มีหนาแน่นของชั้นผิวเยอะกว่าปกติ จะมีโอกาสเกิดแผลรอยนูนได้มากขึ้น เช่น บริเวณหัวไหล่ หน้าอก ผิวบริเวณใบหน้ายิ่งเป็นแผลเป็นได้ง่าย แผลผ่าตัด ตา2ชั้น ก็เป็นรอยนูนได้ คนไข้ที่มีแผลคีลอยด์บริเวณชั้นตาเมื่อมีการเคลื่อนไหวของตาและเปลือกตาเช่น การกะพริบตา การขยี้ตา ก็จะเกิดอาการเจ็บขึ้นมา ซึ่งบ่งบอกว่ามีรอยแผลนูนเกิดขึ้นที่หัวตาจึงทำให้รู้สึกตึงมาก อาการนี้จะเกิดได้ในช่วงเดือนแรกหลังจากผ่าตัดทำตาเสร็จ บางคนมีอาการคันบ่อยๆจนต้องไปเกาในบริเวณที่แผลนูนออกมา แผลนี้ก็จะเป็นรอยแผลที่ส่งผลต่อความงามและความมั่นใจได้ และถึงแม้ว่าแผลคีรอยด์จะส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและความงาม แต่คีลอยด์ก็ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต

สาเหตุของการเกิดคีลอยด์

การเกิดคีลอยด์เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตคอลลาเจนที่ร่างกายสร้างขึ้นในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการนูนของรอยแผล ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม หรืออาจเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถส่งผลให้เกิดการผลิตคอลลาเจนในร่างกายปริมาณมาก นอกจากนี้ สภาพผิวหนังที่แตกต่างกัน เช่น คนผิวสีเข้ม มักมีการผลิตคอลลาเจนมากกว่าคนผิวขาว จึงมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นนูนได้มากกว่า

วิธีการป้องกันการเกิดคีลอยด์จากแผลผ่าตัด

การไม่สัมผัสแผลบ่อยครั้ง เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการเกาที่แผลอาจทำให้แผลมีโอกาสสูงในการเกิดคีลอยด์มากขึ้น นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและมีความชุ่มชื้น จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หลังการผ่าตัด และเริ่มใช้ยาทาลดรอยแผลเป็นเมื่อแผลแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ ฉะนั้น ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ควรเตรียมความพร้อม และ วิธีดูแลรักษาหลังทำตา 2 ชั้น เอาไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย

การนวดแผลเบา ๆ ก็เป็นวิธีการที่ช่วยป้องกันรอยนูนไม่ให้ขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหัวตา การนวดควรทำด้วยความระมัดระวัง และทำตามวิธีการดูแลที่ถูกต้อง

แนวทางการรักษาคีลอยด์

หากพบว่ามีรอยนูนที่ยังไม่ดีขึ้น แม้จะมีการทายาและนวด อาจควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมมากขึ้น ได้แก่:

1. การฉีดยาสเตียรอยด์ เช่น Triamcinolone acetonide ที่ช่วยลดอาการอักเสบและขนาดของรอยแผลเป็น แพทย์จะเลือกใช้แบบ 10 มก. หรือ 40 มก. แล้วแต่ความแข็งของรอยนูน และแพทย์จะดูการตอบสนองต่อยาด้วยว่าเป็นอย่างไร ช่วงเวลาที่เหมาะในการฉีดแผลไม่ควรเกิน 1 ปีแรกหลังจากที่ผ่าตัด

2. การเลเซอร์เพื่อปรับสภาพผิวให้เรียบขึ้น (ควรหลีกเลี่ยงบริเวณใกล้ตา) เพราะเป็นบริเวณที่ผิวมีความบอบบางความส่วนอื่นๆในร่างกาย

3. การผ่าตัดเพื่อนำเนื้อที่นูนออก ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำ ข้อเสียของวิธีนี้คือ เป็นการผ่าตัดซ้ำ สำหรับผู้ที่มี รอยแผลเป็น เพราะกรรมพันธุ์ย่อมมีโอกาสที่จะเป็นรอยนูนขึ้นมาได้อีก คนที่เป็นแผลนูนง่าย มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก

การดูแลแผลหลังการผ่าตัดอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรปฏิบัติตามวิธีการรักษาที่ถูกต้อง จนกว่าแผลจะหายดี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดคีลอยด์ในอนาคต

 สาเหตุ อาการ และการรักษา กระจกตาเป็นแผลมองไม่ชัด
 วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
 จะรู้ได้อย่างไรว่าเบาหวานขึ้นตา
 ใครบ้างเสี่ยงเป็นต้อลม เป็นแล้วหายได้หรือไม่
 วิธีทดสอบสายตาอย่างไร ให้รู้ว่าเป็นภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
 มองเห็นหยากไย่ ลอยไปลอยมา รักษาอย่างไร อันตรายหรือไม่?
 เช็กด่วน! อาการแบบไหนบ่งบอกว่าคุณได้เวลาตัดแว่น
 ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? อยู่ได้กี่ปี
 อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต้อกระจก
 ข้อควรรู้ก่อนทำเลสิก (Lasik) เลสิกมีกี่แบบ

Copyright © 2024 All Rights Reserved.