สาเหตุการเกิดต้อเนื้อ พร้อมวิธีรักษาและการดูแลหลังผ่าตัดต้อเนื้อ

 สาเหตุการเกิดต้อเนื้อ พร้อมวิธีรักษาและการดูแลหลังผ่าตัดต้อเนื้อ

ต้อเนื้อ เป็นโรคของความผิดปกติในตา มีลักษณะเป็นพังผืดเกิดขึ้นบนเยื่อบุตา แม้ต้อเนื้อจะไม่ใช่โรคที่อันตราย หลายคนจึงปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา แต่ในระยะยาวอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต เพราะต้อเนื้อสามารถลุกลามและทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ทำให้ตาพร่ามัว มีสายตาเอียง ในดวงตาเหมือนมีทรายเกาะอยู่ทำให้มีอาการเคือง สร้างความรำคาญได้ การผ่าตัดต้อเนื้อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา เพื่อลดอาการและช่วยให้กลับมามองเห็นภาพชัดเจนอีกครั้ง

ทำความรู้จักโรคต้อเนื้อ ภัยเงียบใกล้ตัว

ต้อเนื้อ เป็นโรคต้อชนิดหนึ่งที่เกิดจากความเสื่อมบริเวณเยื่อบุตา ซึ่งพบได้บ่อยในคนไทย สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องทำงานท่ามกลางแดดจัด เพราะต้องเผชิญรังสียูวีปริมาณมาก โดยต้อเนื้พัฒนาจากการเป็นต้อลม เมื่อต้อลมมีขนาดใหญ่ขึ้นและลุกลามไปยังบริเวณตาดำจนปิดรูม่านตาเกิดเป็นต้อเนื้อ ทำให้เกิดการระคายเคืองตา การมองเห็นไม่ชัดเจน หากขยี้ตาแรงอาจทำให้ตาแดง นำไปสู่การอักเสบและติดเชื้อ ต้อเนื้อสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นลักษณะเป็นพังผืดกินพื้บริเวณเยื่อบุตาขาวและลามเข้ามาเกาะที่กระจกตา(ตาดำ)

ต้อเนื้อแม้จะไม่ใช่โรคอันตรายแต่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นสาเหตุสำคัญในการลุกลามไปสู่ปัญหาสายตาเอียงและตาพร่ามัว หากตรวจพบแล้ว แนะนำให้รีบรักษา เพื่อลดอาการและคืนการมองเห็นให้กลับมาชัดเจนอีกครั้ง

สาเหตุและอาการของโรคต้อเนื้อ

เพราะต้อเนื้อเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตา ซึ่งทางการแพทย์นั้นยังไม่มีการระบุสาเหตุแน่ชัดว่าอะไรคือตัวการในการทำให้เยื่อบุตาเสื่อมสภาพ แต่มีการสันนิษฐานว่าปัจจัยสำคัญทำให้เกิดต้อเนื้อคือรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีที่มีมากในแสงแดดเป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดต้อเนื้อ รวมถึงฝุ่น ควัน มลภาวะ นอกจากนี้ยังเกิดจากการจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่มีการพักสายตา ตาแห้งบ่อยๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากโรคเบาหวานและการที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อเนื้อ

อาการของโรคต้อเนื้อสามารถสังเกตได้จากการมองเห็น โดยจะมีก้อนต้อเกิดขึ้นลักษณะคล้ายพังผืดบริเวณหัวตาหรือหางตา ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองตา แสบ หรือคัน หากขยี้ตาบ่อยๆ จะทำให้มีอาการตาแดง นำไปสู่การอักเสบหรือเกิดแผลที่กระจกตาได้ นอกจากนี้บางรายยังมีอาการตาพร่ามัว เกิดปัญหาสายตาเอียงร่วมด้วยได้ ทำให้สูญเสียการมองเห็นในระยะเริ่มต้น แนะนำว่าหากเกิดปัญหาเหล่านี้ให้ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจและพิจารณาการผ่าตัดต้อเนื้อเพื่อคืนความชัดเจนในการมองเห็นอีกครั้ง

ต้อเนื้อรักษาด้วยวิธีใดบ้าง

การรักษาต้อเนื้อแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการวินิจฉัยจากการตรวจตาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการมองด้วยตาเปล่าหรือการตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือแพทย์ โดยการรักษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้

1.การใช้ยาหยอดตา

ปัจจุบันยังไม่มียาหยอดที่ช่วยให้ต้อเนื้อจางหายไปก็ตาม แต่ทางการแพทย์ยังแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองในบางรายอาจควบคุมการอักเสบของดวงตาด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์เพิ่มในช่วงแรก ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับคนที่อาการยังไม่มากและต้อเนื้อยังไม่ส่งผลต่อการมองเห็น ทั้งนี้มีข้อควรระวังคือการใช้ยาสเตียรอยด์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณและระยะเวลาในการใช้งาน เนื่องจากหากสะสมเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหินในอนาคตได้

2.การผ่าตัด

อีกหนึ่งวิธีการรักษาต้อเนื้อคือการผ่าตัดต้อเนื้อ ซึ่งสามารถจัดการโรคต้อได้อย่างดีเยี่ยมและลดโอกาสการเป็นซ้ำ ซึ่งการผ่าตัดสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่

2.1 การผ่าตัดต้อเนื้อ

วิธีนี้เป็นการผ่าตัดเพื่อลอกต้อเนื้อบริเวณเยื่อบุตาขาวออก โดยไม่มีการเย็บปลูกถ่ายเยื่อบุตาขาวหรือเยื่อหุ้มรกปิดทดแทน ข้อดีคือเป็นการผ่าตัดที่ทำง่ายและรวดเร็ว ส่วนข้อเสียของวิธีนี้คือในอนาคตสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้มากถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบันจึงถือว่าเป็นการผ่าตัดที่ไม่มาตรฐานและไม่เป็นที่นิยมนัก

2.2 การผ่าตัดต้อเนื้อพร้อมปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ

คือการผ่าตัดเอาต้อเนื้อบริเวณเยื่อบุตาขาวออก จากนั้นแพทย์จะปลูกเนื้อเยื่อด้วยการนำเยื่อบุตาขาวบริเวณด้านบนหรือใช้เยื่อหุ้มรกมาคลุมบริเวณที่ลอกต้อเนื้อออก โดยอาจใช้วิธีเย็บปิด หรือใช้กาวติดเนื้อเยื่อ ปัจจุบันวิธีนี้ถือเป็นการผ่าตัดมาตรฐาน การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อนอกจากช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นแล้วยังมีจุดเด่นคือช่วยลดโอกาสการเป็นต้อเนื้อซ้ำได้ มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้เพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สำหข้อเสีย คือ ผู่ป่วยจะมีอาการระคายเคืองตาหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีไหมที่เย็บเยื่อบุตาขาวที่นำมาปลูกเนื้อเยื่อไว้ ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการใช้กาวติดเนื้อเยื่อ ทำให้สามารถลดการใช้ไหมเย็บ ทำให้อาการเคืองหลังผ่าตัดลดลงมาก

หลังผ่าตัดต้อเนื้อต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

การผ่าตัดต้อเนื้อควรปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งและระมัดระวังดวงตาอย่างน้อย 1 - 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ โดยมีวิธีการดูแลตัวเองดังนี้

-หลังการผ่าตัดควรสวมใส่ที่ครอบตาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง-หยอดตาหรือทำความสะอาดดวงตาตามวิธีที่แพทย์แนะนำ-ก่อนสัมผัสดวงตาต้องล้างมือให้สะอาดเพื่อลดการติดเชื้อ-ไม่ควรขยี้ตาอย่างน้อย 2 สัปดาห์-หยอดตาหรือรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด-หากพบว่ามีอาการตาแดงมีขี้ตาสีดหลือง ตาพร่ามัว หรือเกิดภาพซ้อน ควรรีบกลับมาพบแพทย์ทันที

ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัดต้อเนื้อ

-หากอาการยังไม่มาก การรักษาด้วยยาหยอดตาจะช่วยลดการระคายเคืองทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น-เมื่อไม่มีอาการระคายเคืองตาแน่การขยี้ตาจะลดลง ทำให้โอกาสเกิดโรคตาอักเสบหรือติดเชื้อจะลดลงตามไปด้วย-การมองเห็นดีขึ้น มองภาพชัดเจน ไม่มีอาการพร่ามัว เนื่องจากต้อเนื้อไม่สามารถลุกลามไปยังรูม่านตาได้-การผ่าตัดต้อเนื้อช่วยลดการเกิดแผลบริเวณกระจกตาตรงบริเวณที่ต้อเนื้อเดิมเกาะอยู่ เพราะหากทิ้งไว้ให้ต้อเนื้อใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ บริเวณแผลเป็นจะใหญ่ขึ้นตาม-เพิ่มความมั่นใจเพราะดวงตาจะกลับมาดูสวยงามหลังผ่าตัด ไม่มีพังผืดบริเวณเยื่อบุตาอีกต่อไป

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อเนื้อ

แม้ต้อเนื้อจะไม่ใช่โรคร้ายแรงอีกทั้งยังเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่หากไม่ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้แม้จะผ่าตัดไปแล้ว การป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดต้อเนื้อจึงสามารถทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

-หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแดดจัด สถานที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่น ควัน มลภาวะ รวมถึงการจ้องมองคอมพิวเตอร์นาน ๆ-หากจำเป็นต้องเผชิญแสงแดดหรืออยู่กลางแจ้ง แนะนำให้สวมใส่แว่นตาเพื่อป้องกันรังสียูวีและไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตา รวมถึงการสวมใส่หมวกปีกกว้างเพื่อไม่ให้รังสียูวีกระทบดวงตาโดยตรง-เมื่อต้องจ้องคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จนรู้สึกว่าตาล้า แนะนำให้พักสายตาหรือเปลี่ยนระยะการมองเห็นเสมอ-เมื่อรู้สึกตาแห้งควรหยอดน้ำตาเทียมใช้ยาหยอดตาลดอาการระคายเคืองได้แต่ควรระมัดระวังยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ เพราะหากใช้ต่อเนื่องนานๆ จะเป็นสาเหตุการเกิดโรคต้อหิน-สังเกตดวงตาตนเองเสมอหากพบว่ามีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ หรือเกิดพังผืด ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที-ควรพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจตาประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือคนที่ต้องทำงานท่ามกลางแดดจัด เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคต้อเนื้อ

แม้ต้อเนื้อจะไม่ใช่โรคอันตรายแต่กลับสร้างความรำคาญและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ระคายเคืองตา และส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจเพราะมองเห็นเป็นพังผืดบริเวณเยื่อบุตาดำและตาขาว การ ผ่าตัดต้อเนื้อร่วมกับการปลูกเนื้อเยื่อ คือการรักษามาตรฐานที่ได้ผลดีที่สุด ในปัจจุบัน สามารถคืนความชัดเจนในการมองเห็น ลดระยะลุกลาม ลดโอกาสการอักเสบและติดเชื้อ เพื่อสุขภาพตาที่ดีห่างไกลจากโรค แนะนำให้พบจักษุแพทย์ตรวจสุขภาพสายตาเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป คนทำงานท่ามกลางแดดจัด หรือมีพันธุกรรมโรคเกี่ยวกับดวงตา เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามและมีโอกาสรักษาหายได้เร็วยิ่งขึ้น

 นักทัศนมาตร (Optometrist) คือใคร ทำไมต้องตัดแว่นกับนักทัศนมาตร
 ชวนสังเกตอาการเริ่มต้นต้อกระจก เมื่อไหร่ที่ควรรักษา
 สาเหตุการเกิดต้อเนื้อ พร้อมวิธีรักษาและการดูแลหลังผ่าตัดต้อเนื้อ
 วิธีทดสอบสายตาอย่างไร ให้รู้ว่าเป็นภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
 วุ้นตาเสื่อมมีโอกาสตาบอดไหม
 ถามตอบเรื่องที่คุณสงสัย กับการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL)
 ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เจ็บไหม? อยู่ได้กี่ปี
 เฝ้าระวังต้อกระจก (Cataract) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้มองเห็นชัดเจนอีกครั้ง
 การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิก Femto Lasik
 คนสายตาเอียง (Astigmatism) มองเห็นภาพแบบไหน รักษาได้อย่างไรบ้าง

Copyright © 2024 All Rights Reserved.