PRK กับ LASIK ต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน

 PRK กับ LASIK ต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน

PRK กับ LASIK คือการรักษาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงที่ได้ผลดีเช่นกัน แต่ PRK เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบาง หรืออาชีพที่ไม่สามารถทำเลสิก (Lasik) แบบทั่วไปได้ เช่น นักบิน

ผู้ที่มีปัญหาทางสายตา ไม่ว่าจะเป็นอาการสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง มักประสบความยากลำบากในการใช้ชีวิต จนต้องสวมแว่นตาหรือสวมคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) เพื่อแก้ปัญหา แต่สำหรับบางคนการสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

​การแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตาที่ได้ผลดีกว่าการสวมแว่นนั่นคือการทำเลสิก แต่การทำเลสิก ข้อเสียคือการต้องผ่าตัดด้วยใบมีด ทำให้เกิดความกังวล แต่ก็มีเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ใบมีด นั่นคือ PRK (Photorefractive Keratectomy) ซึ่งจะใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาแทนการผ่าตัดด้วยใบมีดมาเป็นทางเลือก ในบทความนี้จะมาให้ข้อมูลว่า PRK กับ LASIK ต่างกันอย่างไร แบบไหนที่ปลอดภัยมากกว่ากัน

ทำความรู้จักกับ PRK และ LASIK

- PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีการรักษาความผิดปกติทางสายตาด้วยเลเซอร์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะใช้วิธีลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออก จากนั้นจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับแต่งความโค้งของผิวกระจกตา ตามค่าสายตาที่จักษุแพทย์ได้ตรวจประเมินเอาไว้แล้ว เมื่อใช้เลเซอร์ปรับค่าความโค้งของกระจกตาเรียบร้อยแล้ว แพทย์ก็จะนำคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษมาสวมปิดแผลเอาไว้ประมาน 3-5 วัน เมื่อแผลหายดีแล้วก็จะนำคอนแทนเลนส์ออก ในช่วงแรกๆ อาจมีอาการมองไม่ชัด แต่หลังจากนั้นสายตาจะค่อยๆ มองชัดขึ้นตามลำดับ

- เลสิก LASIK (Laser-Assisted In Situ Keratomileusis: LASIK) การทำเลสิก (Lasik) เป็นการรักษาอาการ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะใช้ใบมีดจากเครื่องmicrokeratome แยกชั้นกระจกตาก่อนในขั้นตอนแรก จากนั้นจะใช้เครื่อง เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) เพื่อปรับค่าความโค้งของกระจกตา เมื่อปรับค่าความโค้งได้ตามการคำนวณแล้ว จะนำกระจกตาใส่กลับไปแล้วปิดแผล ผู้เข้ารับการรักษาจะมองเห็นได้ชัดหลังจากรักษาได้เร็วกว่าแบบการทำ  PRK

ความแตกต่างระหว่าง PRK กับ LASIK​

​- LASIK นั้นจะใช้ใบมีดขนาดเล็กจากเครื่องมือที่เรียกว่า ไมโครเคราโทม (Microkeratome)  เพื่อแยกชั้นกระจกตาออกเป็นแผ่นบาง ๆ แต่ไม่ได้แยกออกมาแบบสิ้นเชิง แต่ทำเพียงแต่ลอกและเปิดออก จากนั้นจะนำกระจกตามาปรับค่าความโค้งด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser)

ซึ่งเป็นเลเซอร์พลังงานต่ำ ปรับค่าความโค้งของกระจกตาตามที่แพทย์กำหนด จากนั้นจะนำกระจกตามาใส่กลับคืนและทำการปิดแผลและรอให้กระจกตาสมานแผลด้วยตัวเอง

​ส่วนPRK  (Photorefractive Keratectomy) นั้น จะไม่มีการใช้ใบมีดแยกชั้นกระจกตา แต่จะใช้เลเซอร์ลอกเนื้อเยื่อบุผิวตาที่อยู่ชั้นนอกสุด และจากนั้นจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับความโค้งของกระจกตาด้านในเพื่อให้ค่ากลับมาเป็นปกติ และจะใช้คอนแทคเลนส์แบบพิเศษมาปิดดวงตา 5-7 วัน เพื่อรอให้เนื้อเยื่อดวงตาสมานกัน 

PRK กับ LASIK ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาแบบใด

​โดย PRK กับ LASIK เป็นการรักษาอาการผิดปกติทางสายตาได้ผลถาวรทั้งสองแบบ โดยสายตาที่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธี PRK กับเลสิก (Lasik) มีดังนี้

​- อาการสายตาสั้น (Myopia) โดยผู้ที่มีสายตาสั้น จะมีอาการมองวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน มีความเบลอ เนื่องมาจากการที่กระจกตามีความโค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป ทำให้จุดโฟกัสของดวงตาตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา

​- อาการสายตายาว (Hyperopia) ผู้ที่มีอาการสายตายาวนั้น จะมองภาพที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจน เกิดจากความโค้งของกระจกตาที่ไม่พอดี ทำให้จุดโฟกัสของดวงตาตกกระทบที่ด้านหลังของจอประสาทตา

​- อาการสายตาเอียง (Astigmatism) ผู้ที่มีอาการสายตาเอียง จะมองภาพต่างๆ เป็นภาพซ้อน มีเงาดำ และมองสิ่งที่อยู่ไกลไม่ชัด เนื่องจากรูปร่างของกระจกตาที่มีความโค้งผิดปกติ ทำให้จุดโฟกัสของดวงตาเมื่อตกกระทบจอประสาทตาจะมี 2 จุด

​โดยหลังจากการรักษาความผิดปกติทางสายตาด้วยวิธีทั้งสองแบบแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาจะกลับมามองเห็นได้ชัดทันที และมองเห็นได้ชัดแบบถาวรเช่นเดียวกัน

การทำ LASIK และ PRK เหมาะกับใคร

​คนที่เหมาะกับการทำ LASIK และ PRK 

- ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องมีค่าสายตาที่คงที่อย่างน้อย 1 ปี

​- ผู้ที่ไม่มีโรคทางตาอื่น เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ความดันลูกตาสูง เป็นต้น

​- ผู้ที่ไม่เป็นโรค SLE โรคสะเก็ดเงิน โรคภูมิคุ้มกันอื่นๆ 

- ผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี

คนที่เหมาะกับการทำ PRK

- ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ไม่สามารถทำเลสิก (Lasik) ได้ เช่น นักบิน ตำรวจ ทหาร ที่มีข้อจำกัดในการห้ามทำเลสิกแบบปกติ 

- ผู้ที่เคยรักษาอาการทางตาด้วยเลสิก (Lasik) มาแล้ว และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเดิมได้เนื่องจากอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของกระจกตา

เปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของการทำ PRK กับ LASIK แบบไหนปลอดภัยกว่า

●การทำLasikนั้นมีข้อดีคือ สามารถรักษาอาการสายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียงที่ได้ผลดี โดยมีผลข้างเคียงน้อย ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน ใช้เวลาในการพักฟื้นไม่นาน ในกระบวนการผ่าตัดนั้น ใช้เพียงแค่การหยอดยาชา ไม่มีการเย็บแผล ทำให้เกิดการอักเสบน้อย เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เลย โดยจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทันทีหลังผ่าตัด

แต่การ ทำเลสิก ข้อเสีย หรือข้อจำกัดคือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และอาจทำให้กระจกตาบางลงได้ ดังนั้นผู้ที่มีกระจกตาบางจะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้ และอาจมีอาการตาแห้งเป็นเวลาหลายเดือนหลังเข้ารับการรักษา 

●การทำPRK  (Photorefractive Keratectomy)นั้นมีข้อดีคือ มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเลสิก โดยผู้ที่มีกระจกตาบาง ตาแห้ง ดวงตาเล็ก ก็สามารถเข้ารับการรักษาอาการสายตาผิดปกติได้ เนื่องจากการทำ PRK นั้นจะรบกวนกระจกตาน้อยกว่าการทำเลสิกมาก มีผลข้างเคียงจากอาการตาแห้งหลังการรักษาน้อยกว่าแบบการทำเลสิก และการทำ PRK นั้นเหมาะสำหรับอาชีพบางประเภทที่มีข้อจำกัดในการทำเลสิก เช่น นักบิน ทหาร ตำรวจ ที่ไม่สามารถรักษาความผิดปกติทางสายตาด้วยวิธีเลสิคได้

แต่การทำ prk ก็มีข้อจำกัด คือต้องใช้การพักฟื้นที่นานกว่าการทำเลสิก เนื่องจากต้องรอให้ดวงตามีการสร้างเยื่อบุผิวกระจกตาขึ้นมาใหม่ ผลข้างเคียงอาจมีอาการเจ็บตา แสบตามากกว่า และในขั้นตอนการทำจะใช้เวลานานกว่าการรักษาด้วยเลสิก (Lasik) และต้องไปพบแพทย์บ่อยครั้งเพื่อประเมินอาการ

ขั้นตอนการรักษาและดูแลตัวเองหลังรับการรักษาด้วย PRK

​ในการรับการรักษาด้วยวิธีPRK  (Photorefractive Keratectomy) นั้น แพทย์จะทำการตรวจสายตาอย่างละเอียด ด้วยการวัดค่าสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจวัดค่าการมองเห็นของสายตา ตรวจวัดความดันในลูกตา ตรวจค่าความโค้งและความหนากระจกตา ทั้งหมดนี้เพื่อประเมินว่าผู้เข้ารับการรักษาสามารถรักษาด้วยPRK  (Photorefractive Keratectomy) ได้หรือไม่

​เมื่อแพทย์ตรวจประเมินแล้ว จะมีขั้นตอนในการรักษา ดังนี้

​ขั้นที่ 1 ใช้แอลกอฮอล์เจือจางหยดลงบนกระจกตา เพื่อให้เซลล์ชั้นนอกของกระจกตาหลุดออกได้ง่าย

​ขั้นที่ 2 ใช้เครื่องมือลอกผิวกระจกตาด้านนอกสุดออกและปรับผิวกระจกตาให้เรียบ

​ขั้นที่ 3 ใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปรับค่ากระจกตาตามที่แพทย์คำนวณไว้

​ขั้นที่ 4 ปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์พิเศษ และควรสวมไว้ 5-7 วันเพื่อให้เยื่อหุ้มกระจกตาซ่อมแซมตัวเองขึ้นมาใหม่ เมื่อแผลหายดีแล้วสามารถถอดคอนแทคเลนส์ออกได้

ในส่วนของการดูแลตัวเองหลังการรักษา มีดังนี้

​- สวมคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษไว้ตามกำหนดที่แพทย์สั่ง ห้ามถอดเองโดยเด็ดขาด

​- ระวังอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด ห้ามไม่ให้น้ำเข้าตา

​- ทำความสะอาดดวงตาทุกวัน โดยใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดที่หัวตาไปหางตา

​- ใช้ยาหยอดตาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

​- หากมีอาการระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้

ในการรักษาสายตาผิดปกติทั้ง LASIK และ PRK เป็นทางเลือกที่ได้ผลทั้งสองแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดวงตาของแต่ละคนว่าเหมาะกับการรักษาแบบใด โดย prk อาจจะมีความปลอดภัยมากกว่าเพราะคนที่มีภาวะกระจกตาบาง ตาเล็ก ตาแห้ง ก็สามารถทำได้ เพราะการรักษาด้วยการ ผลข้างเคียง มีน้อย ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ

 ในบางวันตื่นนอนแล้วตามี 3 ชั้น และบางวันมีแค่ 2 ชั้น
 นักทัศนมาตร (Optometrist) คือใคร ทำไมต้องตัดแว่นกับนักทัศนมาตร
 อาการต้อหินมุมปิด แตกต่างจากต้อหินมุมเปิดอย่างไร
 กินหวานบ่อยๆ เสี่ยงเป็นภาวะเบาหวานขึ้นตาไหม
 ใส่คอนแทคเลนส์แล้วไม่สบายตาเลือกยังไง : มือใหม่หัดใส่คอนแทคเลนส์ไม่ต้องเสี่ยงตาอักเสบแค่รู้สิ่งนี้!
 ทำไมใส่คอนแทคเลนส์แล้วตามัว ทำอย่างไรดี
 ข้อควรรู้ก่อนทำเลสิก (Lasik) เลสิกมีกี่แบบ
 Lasik ใบมีด และ FemtoLASIK ต่างกันอย่างไร
 How To สวมคอนแทคเลนส์สายตาให้ปลอดภัย เคล็ดลับที่ต้องรู้ก่อนใส่คอนแทคเลนส์
 ตาไม่สู้แสง แสบตาตลอดเวลาโดนลม อาการเริ่มต้นต้อลม

Copyright © 2024 All Rights Reserved.