ศูนย์เลสิก

PRK (Photorefractive Keratectomy) ผ่าตัดแก้ไขสายตาเทคนิคปรับแต่งความโค้งที่กระจกตาโดยตรง

ศูนย์เลสิก PRK (Photorefractive Keratectomy) ผ่าตัดแก้ไขสายตาเทคนิคปรับแต่งความโค้งที่กระจกตาโดยตรง

PRK คือ การผ่าตัดรักษาตาด้วยเลเซอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาสามารถกลับมามองเห็นได้ชัดโดยไม่ต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อีกต่อไป

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์เพราะช่วยในการมองเห็น เมื่อดวงตาเริ่มมีปัญหาแว่นสายตาและคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อาจไม่เพียงพอ ในกรณีนี้จะต้องพึ่งวิธีการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมนั่นก็คือ PRK (Photorefractive Keratectomy) 

PRK คืออะไร

PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ วิธีการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือแม้แต่สายตาเอียง โดยเทคนิค PRK นี้เป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ วิธีการรักษาจะใช้การปรับแต่งความโค้งของกระจกตาโดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหน้าสุดของดวงตา การผ่าตัดนี้จะช่วยให้แสงตกกระทบที่จอประสาทตาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น โดยจะมีข้อจำกัดในการทำน้อยกว่าการทำเลสิก (Lasik)  วิธีการรักษาสายตาด้วยวิธี PRK ส่วนใหญ่นิยมทำในอาชีพนักบิน ตำรวจ และทหาร เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจนโดยไม่ต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์

ควรเข้ารับการรักษา PRK เมื่อใด

สำหรับผู้มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) รวมถึงผู้ที่ต้องการความคล่องตัวสูง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพทหาร ตำรวจ นักบิน หรือนักกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็ว เช่น นักฟุตบอล นักกรีฑา ควรพิจารณาเข้ารับการผ่าตัด PRK นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากระจกตาบางเกินไปสำหรับการทำเลสิก (Lasik) ก็สามารถเลือกใช้วิธี PRK ได้

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้ารับการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (PRK)

●   การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

จักษุแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด อาทิ วัดสายตา วัดการมองเห็น วัดความดันลูกตา วัดค่าความโค้งของกระจกตา รวมถึงการวัดความหนาของกระจกตาและการประเมินสภาพของสายตา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องการเข้ารับการรักษามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดด้วยวิธี PRK โดยก่อนเข้ารับการผ่าตัดควรงดใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens)อย่างน้อย 7 วัน เพื่อเป็นการคืนสภาพให้กับกระจกตาและไม่ให้คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) กดทับกระจกตา สำหรับใครที่สวมแว่นสายตาสามารถใช้งานได้ปกติ และควรเตรียมตัวลางานอย่างน้อย 5 – 7 วัน นับตั้งแต่หลังการผ่าตัดด้วยวิธี PRK

ในวันผ่าตัดควรมีญาติหรือเพื่อนมาด้วย เพราะหลังการผ่าตัดจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดประมาณ 4 -  6 ชั่วโมง จึงไม่ควรมาผ่าตัดด้วยตัวคนเดียว งดแต่งหน้า ทำผม ทาเจล ใส่น้ำหอม เพราะจะต้องระวังไม่ให้น้ำหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตาหลังการผ่าตัด เลเซอร์ตา ผลข้างเคียง หลังการรักษาและควรเตรียมแว่นกันแดดมาด้วย

●   กระบวนการผ่าตัด

จักษุแพทย์จะทำการหยอดยาชาให้กับผู้เข้ารับการผ่าตัด เมื่อยาชาออกฤทธิ์จักษุแพทย์จะทำความสะอาดเยื่อบุตา โดยใช้แอลกอฮอล์หยอดลงบนกระจกตาเพื่อลอกผิวชั้นบนสุดของกระจกตา หรือใช้เครื่องเลเซอร์ในการลบชั้นผิวบางๆ ของกระจกตาออกเพื่อให้สามารถเข้าถึงชั้นลึกของกระจกตาได้ จากนั้นจะทำการปรับแต่งความโค้งของกระจกตาด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ โดยจะใส่ไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์จากนั้นค่อยนำออก ไม่ต้องทำการเย็บแผลผ่าตัดเนื่องจากปล่อยให้เกิดการสร้างเยื่อหุ้มกระจกตาใหม่ กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาทีต่อตา 1 ข้าง 

●   การดูแลหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัดแพทย์จะทำการปิดตาด้วยที่ครอบตา ไม่ควรถอดแม้จะมีน้ำตาไหลหรือเกิดการระคายเคืองตา โดยจะถอดได้ในวันถัดไปเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน และควรสวมแว่นกันแดดไว้เสมอ สำหรับช่วงเวลากลางคืนยังคงต้องใส่ที่ครอบตาไว้เช่นเดิม 

ข้อควรระวัง 

●   อย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ห้ามขยี้ตา หรือหากต้องการสัมผัสดวงตาให้สัมผัสน้อยที่สุด และที่สำคัญควรล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสตา ในกรณีที่ผู้ป่วยคันตาแนะนำให้ใช้ปลายนิ้วแตะที่หัวตาหรือหางตาเบา ๆ เท่านั้น 

●   ควรทำความสะอาดตาในทุกๆ เช้าด้วยน้ำเกลือ โดยการเช็ดบริเวณหัวตาไปยังหางตา

●   งดสระผม ล้างหน้า 7 วันหลังผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าตา

●   พักผ่อนให้เพียงพอ

●   ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดควรงดใช้สายตาในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ 

●   ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ หรืออย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง แต่ควรทิ้งระยะเวลาห่างจากการหยอดยาที่แพทย์จ่ายให้ 5 นาที 

●   ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด PRK จะใช้เวลาประมาณ 1 - 3 สัปดาห์ การผ่าตัดด้วย เลเซอร์ตา ผลข้างเคียง อาจจะรู้สึกระคายเคืองหรือมีน้ำตาไหล เนื่องจากกระจกตาต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู อย่างไรก็ตามการมองเห็นจะเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงนี้ แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดและแนะนำวิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการหยอดตาด้วยยาที่แพทย์แนะนำควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด PRK อาจใช้เวลานานกว่าการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์แบบอื่น เช่น ทำเลสิก (Lasik)  

รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการฟื้นตัวและสิ่งที่ผู้รับการผ่าตัดควรทราบมีดังนี้

1. ช่วงเวลาหลังการผ่าตัดระยะแรก

- วันแรกหลังผ่าตัดผู้รับการผ่าตัดจะรู้สึกปวดแสบ ระคายเคืองในตา มีน้ำตาไหล หรือตาสู้แสงไม่ได้ แพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงแนะนำให้สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสง UV

-  แพทย์จะให้ใส่ฝาครอบปิดตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนในช่วงเวลาฟื้นตัวแรกๆ

2. สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด

-  ผู้รับการผ่าตัดจะยังคงรู้สึกระคายเคืองหรือมีน้ำตาไหลเป็นระยะๆ

-   การมองเห็นจะยังไม่ชัดเจนเต็มที่ มองเห็นภาพเบลอหรือซ้อน การมองเห็นจะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้

3.        สองถึงสามสัปดาห์หลังผ่าตัด

-  การมองเห็นจะเริ่มคงที่และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

-  การหยอดตาด้วยยาหยอดตาที่แพทย์สั่งยังคงต้องใช้อย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำ

4.  หนึ่งถึงสามเดือนหลังผ่าตัด

-   แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่ากระจกตาฟื้นตัวได้ดีและการมองเห็นดีขึ้นตามที่คาดหวัง

-  กระจกตาจะฟื้นตัวเต็มที่ในช่วงเวลานี้และการมองเห็นจะคงที่

อะไรคือความเสี่ยงในการผ่าตัด PRK

แม้ว่าการผ่าตัด PRK จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ควรทราบ เช่น

●   การติดเชื้อ แม้จะพบได้น้อยแต่การติดเชื้อยังคงเป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง เพราะหากติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจทำให้ถึงขั้นปลูกถ่ายกระจกตาใหม่ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

●   การเกิดฝ้าบนกระจกตา บางกรณีจะเกิดฝ้าที่กระจกตาหลังผ่าตัด โดยเฉพาะในกรณีที่มีการแก้ไขค่าสายตามาก หรือถูกแสงแดดจัดหลังการผ่าตัด

●   การมองเห็นไม่ชัดเจนชั่วคราว เป็นที่แน่นอนว่าในช่วงของการฟื้นตัวผู้รับการรักษาด้วยวิธี PRK จะมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีภาพซ้อน จำเป็นที่จะต้องให้ดวงตาได้ปรับสภาพกับกระจกตา

●   บางคนจะมีปัญหาการเห็นแสงสะท้อนหรือแสงฟุ้งในที่มืด เป็นอาการที่รบกวนการมองเห็นในที่มืด ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากที่ดวงตาปรับสภาพการมองเห็นจนกลับมาเป็นปกติหรือใช้วิธีการสวมแว่นตาและยาหยอดตา

●   ภาวะตาแห้ง สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการใช้น้ำตาเทียมหยอดตาได้ตามความเหมาะสม

●   ความดันภายในตาสูงขึ้น ความดันนี้เกิดจากยาที่ผู้ป่วยได้รับหลังการผ่าตัดแล้ว ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการปรับยา

การมองเห็นจะเป็นอย่างไรหลังการผ่าตัด

ผลลัพธ์ระยะยาวของการผ่าตัดรักษาสายตาด้วยวิธี PRK

●   ผู้รับการรักษาจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งในระยะใกล้และไกล โดยไม่ต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) อีกต่อไป

●   การมองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงสว่างน้อยจะดีขึ้นเมื่อกระจกตาฟื้นตัวเต็มที่

คำแนะนำในการดูแลการมองเห็นหลังการผ่าตัด

●   ควรไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการผ่าตัดและประเมินการฟื้นตัว

●   เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนและการติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือสัมผัสตา

●   ใช้ยาหยอดตาที่แพทย์สั่งตามคำแนะนำเพื่อช่วยในการฟื้นตัว

การมองเห็นของผู้รับการรักษาด้วยวิธี PRK จะดีขึ้นอย่างมากหลังจากการฟื้นตัวครบถ้วน อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาสายตาและการตอบสนองต่อการรักษา

การทำ PRK เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาดวงตาเพื่อให้ผู้มีปัญหาทางสายตากลับมามองเห็นโดยไม่จำเป็นต้องสวมแว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ ซึ่งมีข้อจำกัดในการรักษาน้อยกว่าการทำเลสิก (Lasik)

 รักษาสายตาสั้นยาวเอียงด้วย PRK คืออะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
 การรักษา ต้อกระจก ผ่าตัดเป็นเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่?
 รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วย PRK คืออะไร?
 PRK กับ LASIK ต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน
 กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) กี่วันหาย ใช้ยาอะไร
 ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK
 ต้อลม (pinguecula) รักษายังไงให้หายขาด
 ไขข้อข้องใจ สายตาเอียง (Astigmatism) หายเองได้หรือไม่

Copyright © 2024 All Rights Reserved.