ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK

 ใครที่เหมาะ? ควรแก้ปัญหา สายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยPRK

การทำ PRK คือตัวเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาค่าสายตาผิดปกติ แม้ผู้มีปัญหากระจกตาบางก็เลือกวิธีนี้ได้ ปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย สายตากลับคืนภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

การทำเลสิก (Lasik) ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง แม้จะมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าค่าตัดแว่นหรือค่าคอนแทคเลนส์ (Contact Lens) แต่ถึงอย่างนั้นผลลัพธ์คุ้มค่า เพราะเป็นการแก้ปัญหาสายตาผิดปกติอย่างถาวร เมื่อทำแล้วสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ การมองเห็นชัดเจนขึ้น อีกทั้งปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีทำให้การทำเลสิก (Lasik)ปลอดภัยและมีทางเลือกเพิ่มขึ้น โดยหนึ่งในทางเลือกการทำเลสิกคือการทำแบบ prk หรือชื่อเต็ม Photorefractive Keratectomy ที่มีข้อดีหลายอย่างและแก้ปัญหาสายตาได้อย่างดีเยี่ยม

ทำความรู้จักการเลสิกด้วยเทคนิค PRK

หากพูดถึงการทำเลสิก (Lasik) เชื่อว่าหลายคนต้องรู้สึกคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่หากพูดถึงการทำ PRK  (Photorefractive Keratectomy) เชื่อว่าบางคนอาจยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรกันแน่ สำหรับการทำ PRK คือการทำเลสิกประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากการทำเลสิกแบบทั่วไป โดย PRK คือการทำเลสิกแบบดั้งเดิม แม้จะเป็นวิธีที่มีมายาวนานแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังได้รับความนิยมในยุคนี้ เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่าง เป็นการทำเลสิกแบบไร้ใบมีดแต่จะใช้เลเซอร์เข้ามาเป็นตัวช่วยแทน อีกทั้งยังรักษาได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

เมื่อทราบแบบนี้แล้วหลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว PRK vs LASIK แตกต่างกันอย่างไร ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดคือการทำ PRK จะเป็นการผ่าตัดโดยไม่ใช้ใบมีดแต่ใช้เลเซอร์เป็นหลัก ในขณะที่การทำเลสิกทั่วไปจะมีการใช้ใบมีดร่วมกับการใช้เลเซอร์ prk vs lasik จึงใช้เทคนิคแตกต่างกัน อีกทั้งการทำเลสิกยังเก็บชั้นบนของกระจกตาเดิมไว้ ในขณะที่การทำ PRK จะนำเยื่อบุตานั้นออกไปเลย แต่ทั้งสองวิธีมีวัตถุประสงค์การรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาค่าสายตาเช่นเดียวกัน

การทำ PRK เหมาะกับใครบ้าง?

แม้เป็นตัวเลือกยอดนิยม แต่ถึงอย่างนั้นก็มีบางคนไม่สามารถทำ PRK ได้ โดยการทำ PRK เหมาะสำหรับ

-ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และไม่ควรเกิน 50 ปี หากอายุมากกว่านี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตาอาจผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้-ผู้ที่มีค่าสายตาคงที่ 1 - 2 ปีขึ้นไป เนื่องจากหลังเลเซอร์จะได้ไม่มีปัญหาค่าสายตาเพิ่มขึ้นหรือลดลง-การทำ PRK เหมาะสำหรับผู้ที่สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสั้นต้องไม่เกิน -10.00 diopters สายตายาวต้องไม่เกิน + 6.00 diopters และสายตาเอียงต้องไม่เกิน 6.00 diopters-เหมาะกับผู้ที่กระจกตาบางและแพทย์ไม่แนะนำให้ทำเลสิก (Lasik)-ผู้เป็นโรคเกี่ยวกับเยื่อบุผิวร่อนได้ง่ายหรือมีภาวะตาแห้งบ่อย ๆ-ผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และไม่อยู่ในช่วงให้นมบุตร-อาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการกระแทกบริเวณดวงตาแรงๆ จนฝากระจกตาเคลื่อนที่ เช่น นักมวย-บางอาชีพที่มีกฎห้ามแก้ไขปัญหาสายตาด้วยการทำเลสิก (Lasik)เช่น นักบิน ทหารบางเหล่าทัพ

วิธีการรักษาด้วยเทคนิค PRK

-แพทย์หยอดยาชาเพื่อระงับความรู้สึก-แพทย์หยอดแอลกอฮอล์ ขั้นตอนนี้ทำเพื่อนำเยื่อบุตาออก โดยแอลกอฮอล์จะทำหน้าที่ละลายเยื่อบุตา ทั้งนี้แอลกอฮอล์ที่แพทย์เลือกใช้จะมีความเข้มข้นเพียงร้อยละ 20 จึงไม่ต้องกังวลว่าจะแสบตาหรือได้รับอันตราย-แพทย์ใช้ใบมีดแบบไร้คมนำเยื่อบุตาออกหรือบางโรงพยาบาลจะใช้เลเซอร์เป็นตัวช่วยนำเยื่อบุตาออก โดยไม่เหลือส่วนที่ติดกับดวงตา-หลังจากนำเยื่อบุตาออกแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser)ช่วยปรับผิวกระจกตาให้เรียบ-เมื่อปรับผิวกระจกตาเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนำเจลเย็นหรือผ้าชุบน้ำเย็นมาวางบริเวณที่ผ่าตัด เพื่อป้องกันการอักเสบระหว่างผ่าตัดและป้องกันไม่ให้กระจกตาขุ่นมัวอาจใช้ยาต้านการเกิดฝ้าร่วมด้วยในกรณีที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดฝ้าที่กระจกตา-แพทย์จะใช้คอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสแบบอ่อนวางบริเวณที่นำเยื่อบุตาออกมา ขั้นตอนนี้ทำเพื่อให้เนื้อเยื่อตาด้านในสมานกันเร็วยิ่งขึ้น โดยจะไม่มีการเย็บปิดแผล-หลังจากผ่าตัดประมาณ 3 - 7 วัน แพทย์จะนัดตรวจอีกครั้ง เพื่อติดตามอาการและนำเลนส์สัมผัสแบบอ่อนออก ทั้งนี้การนัดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสภาพดวงตาของแต่ละบุคคล

รู้ไว้ไม่กังวล ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังทำ

แม้จะเป็นวิธีแก้ปัญหาค่าสายตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย แต่ถึงอย่างนั้นการ ก็อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงทั่วไป ได้แก่ 

1.การมองภาพไม่คมชัด

หลังจากผ่าตัดแล้วอย่าเพิ่งกังวลหากพบว่าลืมตาขึ้นมาแล้วการมองเห็นยังไม่ชัดหรือมองเห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เพราะนี่ถือเป็นอาการปกติในช่วงที่กำลังพักฟื้น การมองเห็นจะชัดเจนไม่คงที่ อาจเกิดอาการตาพร่ามัวได้ โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 7 วัน

2.ตาแห้ง

ภาวะตาแห้งเกิดขึ้นได้บ่อยหลังทำเลสิก (Lasik) ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่จะค่อยๆ ดีขึ้น แนะนำให้หยอดน้ำตาเทียมเพื่อลดอาการตาแห้ง ทั้งนี้ก่อนใช้น้ำตาเทียมควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

3.การมองเห็นแสงฟุ้งตอนกลางคืน

อีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยหลังทำPRK  (Photorefractive Keratectomy) นั่นคือการมองเห็นตอนกลางคืนจะเปลี่ยนไป สังเกตได้ชัดโดยเฉพาะเวลาขับรถ จะมองเห็นเป็นรัศมีรอบดวงไฟหรือเห็นเป็นแสงกระจาย ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นตามลำดับ

4.การติดเชื้อ

แม้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแต่ถึงอย่างนั้นก็เกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังพบเห็นได้บ่อย ๆ เนื่องจากการทำPRK  (Photorefractive Keratectomy) เป็นการผ่าตัดที่มีแผลเปิด แม้จะเป็นแผลขนาดเล็กแต่หากมีสิ่งสกปรกตกลงไปก็สามารถติดเชื้อได้ ซึ่งหากพบว่ามีอาการปวดตา ตาบวม หรือตาแดง แนะนำให้รีบพบแพทย์

รวมข้อดีและข้อเสียของการทำ PRK

ข้อดี

-แก้ปัญหาค่าสายตาได้อย่างถาวรและแม่นยำ-ไม่ต้องฉีดยาชา ผลข้างเคียงน้อย เมื่อทำแล้วเพียงแค่รอสังเกตอาการและกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้-ผู้ที่มีปัญหากระจกตาบางสามารถแก้ปัญหาค่าสายตาด้วยเทคนิคนี้ได้-หมดห่วงเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับฝากระจกตาเคลื่อน เพราะเป็นวิธีที่ไม่มีการแยกชั้นกระจกตา-ราคาจับต้องได้ ซึ่งถูกกว่าการเลสิก (Lasik)แบบอื่น ๆ

ข้อเสีย

-บางขั้นตอนของการทำ PRK จำเป็นต้องขัดเลนส์ตาโดยตรง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพักฟื้นนานกว่าการทำเลสิก (Lasik) แบบอื่นเนื่องจากมีโอกาสตาระคายเคืองง่ายกว่า-หลังจากทำ PRK แล้วจะมีแผลเปิดทำให้ต้องพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์ และต้องดูแลอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสติดเชื้อ-ไม่เหมาะกับผู้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการสมานแผลที่เยื่อบุผิวกระจกตาผิดปกติ เช่น ผู้เป็นโรคเกี่ยวกับผิวดวงตา  

ทำ PRK ที่โรงพยาบาล ทางเลือกของผู้มีปัญหาสายตา

การทำ PKR แม้จะปลอดภัยและผลข้างเคียงน้อย แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือการรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยิ่งหากเป็นโรงพยาบาลหรือศูนย์ lasik ที่ได้มาตรฐาน ยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี สำหรับโรงพยาบาลตากรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการทุกปัญหาเกี่ยวกับดวงตา มีทีมจักษุแพทย์เ อีกทั้งยังเลือกใช้เทคโนโลยีทันสมัย มาเพื่อให้การรักษาแม่นยำและตรงจุด

สำหรับการรักษาด้วยเทคนิค prk ที่โรงพยาบาลก็เช่นกัน นอกจากทีมแพทย์มีประสบการณ์การทำเลสิกมาอย่างยาวนานแล้ว ทีมแพทย์ยังพร้อมให้คำแนะนำ วางแผนการรักษาอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อการรักษาอย่างแม่นยำ ผลข้างเคียงน้อย ที่สำคัญมีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) เข้ามาช่วยให้การรักษาได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม โดยหลังการทำเลสิกแพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดอย่างละเอียด เพื่อให้ท่านไร้ความกังวล

เมื่อ PRK คือตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง แม้แต่ผู้มีภาวะกระจกตาบางก็สามารถรับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้ ท่านใดที่สนใจอยากรับบริการแนะนำให้ปรึกษา lasik หรือศูนย์เลสิกที่ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์ และมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับคำแนะนำอย่างครบถ้วน วางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุด ตอบโจทย์ความต้องการ และกลับมามองเห็นชัดได้อย่างปกติอีกครั้ง

 การดูแลดวงตาหลังผ่าตัดเลสิก Femto Lasik
 ทำความรู้จักกับภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ พร้อมวิธีการรักษา
 สายตาแบบไหน ควรทำ ICL ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม
 วิธีทดสอบสายตาอย่างไร ให้รู้ว่าเป็นภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
 ทำไมเด็กถึงตาเข หรือตาส่อนมากกว่าผู้ใหญ่
 ต้อหินเฉียบพลันและต้อหินเรื้อรังต่างกันอย่างไร
 จะรู้ได้อย่างไรว่าเบาหวานขึ้นตา
 ประโยชน์ของน้ำตาเทียม ทำไมผู้สูงอายุควรใช้
 อาการตาแห้งแก้ได้อย่างไร ต้องหยอดตาหรือไม่
 อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต้อกระจก

Copyright © 2024 All Rights Reserved.