เฝ้าระวังต้อกระจก (Cataract) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้มองเห็นชัดเจนอีกครั้ง

 เฝ้าระวังต้อกระจก (Cataract) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้มองเห็นชัดเจนอีกครั้ง

เฝ้าระวังภาวะต้อกระจกพร้อมแนะนำรู้ถึงสาเหตุและแนวทางรักษาสลายต้อกระจกให้กลับมามองเห็นชัดอีกครั้งด้วยวิธีล้ำสมัย แผลผ่าตัดเล็ก คืนความชัดเจนให้การมองเห็นอีกครั้ง

สายตาขุ่นมัว มองเห็นไม่ชัด หลายคนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้คืออาการสายตาสั้นจึงทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม แต่ทราบหรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะต้อกระจก (Cataract) โดยเฉพาะผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไปที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นต้อกระจกมากกว่าคนอายุน้อย อีกทั้งยังมีโอกาสพบมากในกลุ่มผู้สูงวัย โดยต้อกระจกเกิดจากสาเหตุใดการรักษาต้อกระจกมีกี่วิธี และต้องดูแลอย่างไรบ้างนั้น มีคำตอบมาฝากกัน

ทำความรู้จักต้อกระจกคืออะไร

ทำความรู้จักกันสักนิดว่าภาวะต้อกระจกคืออะไร โดยภาวะต้อกระจกคือภาวะเลนส์ตาขุ่นมัว ซึ่งปกติเลนส์สายตาจะใส ทำให้การรวมแสงบนจอประสาทตาได้ผลดี ส่งผลให้การมองเห็นชัดเจน แต่เมื่อเกิดภาวะเลนส์ตาขุ่น ทำให้แสงไม่สามารถส่งผ่านได้ตามปกติ การมองเห็นจึงไม่ชัดเหมือนเดิม มีอาการตาฟาง สายตาขุ่นมัว ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เวลาอ่านหนังสือต้องการแสงไฟมากกว่าปกติ หากปล่อยไว้การมองเห็นจะลดน้อยลงเรื่อยๆจึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจนจำเป็นต้องพึ่งวิธีการผ่าตัด ต้อกระจก เพื่อคืนการมองเห็นอีกครั้ง

สำหรับภาวะต้อกระจก ส่วนใหญ่มักพบในผู้มีอายุ 55-60 ปีขึ้นไป เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นจะพบการเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา การมองเห็นจากที่เคยสดใสจึงขุ่นมัว แต่ถึงอย่างนั้นภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 55 ปี เพราะนอกจากภาวะความเสื่อมของเลนส์ตาแล้ว ต้อกระจกยังมีสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ปัญหาต้อกระจกเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

ภาวะต้อกระจกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้ไม่ใช่กลุ่มผู้มีอายุน้อยกว่า 55 ปีก็ตาม โดยมีสาเหตุจากปัจจัยดังนี้

- การทำกิจกรรมท่ามกลางแดดจัด ส่งผลให้ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ 

- อายุที่มากขึ้น เพราะสาเหตุใหญ่ของภาวะต้อกระจกเกิดจากเลนส์ตาเสื่อมสภาพตามช่วงวัย

- เด็กอายุน้อยมีโอกาสเกิดต้อกระจกได้เช่นกัน กรณีมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์

- โรคประจำตัว ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคเบาหวาน เป็นต้น

- โรคทางตา เช่น ตาติดเชื้อ ม่านตาอักเสบ ผลจากการผ่าตัดจอตา เป็นต้น

- การได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อเป็นเวลานาน

- ผลข้างเคียงจากการฉายแสงบริเวณศีรษะหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

- ผลจากการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อดวงตา

สัญญาณเตือนและอาการต้อกระจก

ภาวะต้อกระจกในช่วงแรกจะไม่มีอาการใดให้สังเกตเห็นชัด มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อมีปัญหาด้านสายตาเข้าแล้ว โดยอาการของภาวะต้อกระจกมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

- การค่อย ๆ มองเห็นภาพไม่ชัด คล้ายมีฝ้าหรือหมอกบัง โดยไม่มีอาการอักเสบหรือเจ็บปวด จึงทำให้หลายคนอาจคิดว่าเป็นภาวะสายตาสั้นธรรมดา

- ความขุ่นมัวของเลนส์ตาส่งผลให้สายตาพร่ามัว เกิดภาวะตาพร่า มองเห็นเป็นภาพซ้อน 

- สายตาสั้นเร็วกว่าปกติ จึงทำให้ต้องตัดแว่นสายตาใหม่บ่อย ๆ 

- สายตาไม่สามารถสู้แสงสว่างได้ มองเห็นแสงไฟกระจายจนทำให้รู้สึกแสบตา อาการนี้จะสังเกตได้ชัดเวลาขับรถตอนกลางคืน 

- เมื่ออ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมจำเป็นต้องพึ่งแสงสว่างมากกว่าปกติ บางรายมองเห็นสีเพี้ยนไปจากเดิม

- ภาวะต้อกระจกเมื่อเป็นนาน ๆ จนต้อกระจกสุก จากเดิมที่รูม่านตาเป็นสีดำจะมองเห็นเป็นสีขาว จำเป็นต้องพึ่ง วิธีการผ่าตัดต้อกระจกเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการอักเสบ โรคต้อหิน เป็นต้น 

การ รักษา ต้อกระจก มี กี่ วิธี รักษาอย่างไรให้กลับมามองเห็นชัด

การจัดการปัญหาต้อกระจก ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาด้วยการหยอดตา แต่จะใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างและการผ่าตัดด้วยเครื่องสลายต้อ

1. การผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้าง (Extercapinlar Cataract Extraction : ECCE)

เป็นวิธีการรักษาต้อกระจกที่ต้องเปิดแผลใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิม เหมาะกับการรักษาต้อกระจกที่สุกและแข็งมากจนไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดแผลขนาดประมาณ 8-10 มิลลิเมตร และนำเลนส์ที่เสื่อมสภาพออกมาทั้งก้อน เหลือไว้แต่ถุงหุ้มเลนส์ จากนั้นใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปทดแทนอันเดิม ตามด้วยการเย็บแผลให้กลับไปเป็นปกติ

2. การผ่าตัดด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification)

อีกหนึ่งวิธีจัดการปัญหาต้อกระจกที่น่าสนใจ เนื่องจากหลังผ่าตัดแล้วสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ วิธีนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะเปิดแผลเพียง 2.2-3.0 มิลลิเมตร ซึ่งแพทย์จะใส่เครื่องมือที่ช่วยสลายต้อกระจก จากนั้นปล่อยพลังงานเพื่อสลายต้อให้หมดไป ตามด้วยการใส่เลนส์แก้วตาเทียมทดแทนเลนส์เดิม จุดเด่นคือแผลมีขนาดเล็กมาก ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล ระยะพักฟื้นสั้น ดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เหมาะกับคนที่ต้อกระจกยังไม่แข็งมาก

3.การผ่าตัดแบบเล็ก (Manual Small Incision Cataract Surgery : MSICS)

เป็นเทคนิคการผ่าตัดเอาเลนส์ต้อกระจกที่สุกและแข็งมาก ผ่านทางเทคนิคแผลเปิดที่มีขนาดเล็กกว่า ECCE ด้วยการเย็บแผลเพียงไม่กี่เข็ม ใช้เวลาในการผ่าตัดสั้นกว่าวิธีแผลกว้าง การเย็บแผลเพียงเล็กน้อยจะช่วยลดภาวะตาเอียงที่เกิดจากการผ่าตัด และฟื้นตัวเร็วกว่า

วิธีดูแลหลังผ่าตาต้อกระจก

การผ่าต้อกระจกด้วยการเปิดแผล แม้แผลจะไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก อีกทั้งแพทย์ยังเย็บปิดแผลเรียบร้อย แต่ถึงอย่างนั้นจำเป็นต้องดูแลตัวเองหลังผ่าตัดต้อกระจก เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงและทำให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติอย่างรวดเร็วที่สุด 

- สวมใส่ฝาครอบตาข้างที่ผ่าตัด เพื่อลดการกระแทก ป้องกันฝุ่นละออง ลดภาวะตาอักเสบและได้รับการกระทบกระเทือน

- ช่วง 3 - 4 สัปดาห์แรก ควรถนอมดวงตาเป็นพิเศษ ป้องกันไม่ให้สายตาถูกแสงแดดรวมถึงฝุ่นมลภาวะด้วยการสวมใส่แว่นตากันแดด งดไปในที่ที่อากาศเป็นพิษหรือฝุ่นควันเยอะ

- ไม่ควรนอนคว่ำหน้าหรือนอนทับดวงตาข้างที่ผ่าตัด เน้นการนอนหงายโดยเฉพาะช่วง 1-2 วันแรกหลังการผ่าตัด

- ไม่ควรไอหรือจามแรง ๆ เพราะอาจส่งผลให้เลนส์กระจกตาเคลื่อนที่

- ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการทานยาและการหยอดตา เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียง

- หากพบความผิดปกติ เช่น ตามัว ปวดตา แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

แนะนำวิธีรักษาต้อกระจกด้วยการสลายต้อกระจก (Phacoemulsification) 

การรักษาต้อกระจก นอกจากช่วยให้ดวงตากลับมามองเห็นชัดเจนและลดความรุนแรงในการเกิดโรคเกี่ยวกับสายตาในอนาคตได้แล้วนั้น หากเลือกการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ยังช่วยลดผลข้างเคียง ลดอาการบาดเจ็บ แถมยังฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง ซึ่งเทคโนโลยีที่แนะนำคือ การสลายต้อกระจก(Phacoemulsification) ที่โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ 

การสลายต้อกระจกด้วยวิธี Phacoemulsification เป็นการผ่าตัดโดยใช้คลื่นความถี่สูงในการเข้าไปทำลายต้อกระจกบนเลนส์ที่เสื่อมสภาพ จากนั้นแพทย์จะใส่แก้วตาเทียมขนาดเล็กไปแทนที่เลนส์แก้วตาเดิม วิธีนี้จะไม่ต้องเย็บแผล เพราะแผลมีขนาดเล็กมาก ๆ เพียง 2.2-3.0 มิลลิเมตร แผลสามารถสมานกันเองได้อย่างรวดเร็ว 

สำหรับจุดเด่นของการรักษาต้อกระจกด้วยวิธี Phacoemulsification นั่นคือ ไม่ต้องพักฟื้นนาน หลังจากทำแล้วเพียงรอสังเกตอาการก็สามารถกลับบ้านได้ โดยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เช่น การเดิน การเดินทาง หรือแม้แต่การออกกำลังกาย นอกจากนี้สายตายังมองเห็นชัดเจนได้อย่างรวดเร็ว เห็นผลลัพธ์ทันที นี่จึงทำให้คนเป็นต้อกระจกสนใจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว เพราะทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แถมได้ผลลัพธ์คือการมองเห็นชัดเจนอีกครั้ง

นอกจากการรักษาด้วยเทคโนโลยีทันสมัยทำให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ ฟื้นตัวเร็ว และผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจแล้ว ที่โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพยังเพียบพร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาโดยเฉพาะ จึงมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มากด้วยประสบการณ์ และทำการผ่าตัดด้วยวิธีต่างๆที่กล่าวตามข้างต้น มั่นใจได้ทั้งในด้านผลลัพธ์และการบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการรักษาที่ช่วยมอบผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

จะเห็นว่าการผ่าต้อกระจก มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่ละวิธีมีจุดเด่นแตกต่างกันแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือช่วยให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หากอาการต้อกระจกไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยไว้นานเกินไป จะทำให้สายตาขุ่นมัวลงเรื่อย ๆ และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากต้อกระจกได้ เช่น การอักเสบและต้อหิน ดังนั้น หากรู้สึกว่าสายตาขุ่นมัว มองเห็นไม่ปกติ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

 กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) กี่วันหาย ใช้ยาอะไร
 เบาหวานขึ้นตา รีบรักษาก่อนตาบอด
 กินหวานบ่อยๆ เสี่ยงเป็นภาวะเบาหวานขึ้นตาไหม
 วุ้นตาเสื่อมมีโอกาสตาบอดไหม
 สายตาสั้นแต่อยากทำ LASIK ใบมีด อันตรายไหม?
 ทำไมใส่คอนแทคเลนส์แล้วตามัว ทำอย่างไรดี
 ไขข้อข้องใจ สายตาเอียง (Astigmatism) หายเองได้หรือไม่
 รักษาสายตาสั้นยาวเอียงด้วย PRK คืออะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
 อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต้อกระจก
 การรักษา ต้อกระจก ผ่าตัดเป็นเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่?

Copyright © 2024 All Rights Reserved.